

ปุ๋ยจานด่วนบำรุงข้าวอินทรีย์ ผลผลิตดี น้ำหนักเต็ม
นางบุญมี มะลิสา เจ้าของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ บ้านป่าก่อ ต.ป่าก่อ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ให้ความรู้ในกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต โดยนางบุญมีทำการปลูกข้าวเหนียวพันธ์หอมอุบลฯในพื้นที่ 2 ไร่ จากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีได้ผลผลิตเฉลี่ย 700-800 ก.ก./ไร่ แล้วหันมาทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ จนปัจจุบันสามารถลด ละ เลิก การใช้สารเคมีเป็นการถาวร โดยทำการปลูกข้าวแบบต้นเดี่ยวที่ทำให้ข้าวแตกกอได้มากถึง 13-30 ต้น/กอ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 297 เมล็ด/รวง บำรุงข้าวด้วยอาหารจานด่วนสูตรพิเศษแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งประกอบไปด้วยฮอร์โมนไข่ จุลินทรีย์หน่อกล้วย กากน้ำตาล และนมสด นำไปบำรุงข้าวตั้งแต่เริ่มปักดำโดยสาดลงไปให้ทั่วแปลงนา อัตรา 300 ซีซี./ ไร่(กรณีที่นามีน้ำขัง) หรือใช้ 300 ซีซี.ผสมน้ำ 200 ลิตร นำไปฉีดพ่นต้นข้าวและฉีดพ่นลงดินให้ชุ่มในกรณีที่นาข้าวขาดน้ำ ซึ่งอาหารจานด่วนสูตรดังกล่าวจะใช้สำหรับเป็นปุ๋ยและฮอร์โมนบำรุงข้าวแทนการใช้ปุ๋ยเคมี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตจากเดิม 700-800 กก./ไร่ เป็น 1,100 กก./ไร่ สามารถลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี
กรุณาเลือกกล่องที่ต้องการจัดเก็บ

ปุ๋ยจานด่วนบำรุงข้าวอินทรีย์ ผลผลิตดี น้ำหนักเต็ม
17 กุมภาพันธ์ 2559
4,824
นางบุญมี มะลิสา เจ้าของศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ บ้านป่าก่อ ต.ป่าก่อ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ให้ความรู้ในกระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต โดยนางบุญมีทำการปลูกข้าวเหนียวพันธ์หอมอุบลฯในพื้นที่ 2 ไร่ จากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีได้ผลผลิตเฉลี่ย 700-800 ก.ก./ไร่ แล้วหันมาทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ จนปัจจุบันสามารถลด ละ เลิก การใช้สารเคมีเป็นการถาวร โดยทำการปลูกข้าวแบบต้นเดี่ยวที่ทำให้ข้าวแตกกอได้มากถึง 13-30 ต้น/กอ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 297 เมล็ด/รวง บำรุงข้าวด้วยอาหารจานด่วนสูตรพิเศษแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งประกอบไปด้วยฮอร์โมนไข่ จุลินทรีย์หน่อกล้วย กากน้ำตาล และนมสด นำไปบำรุงข้าวตั้งแต่เริ่มปักดำโดยสาดลงไปให้ทั่วแปลงนา อัตรา 300 ซีซี./ ไร่(กรณีที่นามีน้ำขัง) หรือใช้ 300 ซีซี.ผสมน้ำ 200 ลิตร นำไปฉีดพ่นต้นข้าวและฉีดพ่นลงดินให้ชุ่มในกรณีที่นาข้าวขาดน้ำ ซึ่งอาหารจานด่วนสูตรดังกล่าวจะใช้สำหรับเป็นปุ๋ยและฮอร์โมนบำรุงข้าวแทนการใช้ปุ๋ยเคมี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตจากเดิม 700-800 กก./ไร่ เป็น 1,100 กก./ไร่ สามารถลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี



ส่งอีเมล์ให้เพื่อน
ส่งให้เพื่อนหลายคนใส่เครื่องหมาย , ขั้นระหว่างชื่ออีเมล์ (ส่ง 1 ครั้งได้ไม่เกิน 50 อีเมล์)