
กลุ่มใยกล้วยบ้านป่าฝาง อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา โดยมีนางสาวเอื้องคำ สิงห์แก้ว เป็นประธานกลุ่ม เมื่อก่อนกลุ่มได้ผลิตเส้นเชือกฟั่นจากผักตบชวาส่งให้ลูกค้าที่สั่งซื้อเป็นจำนวนปริมาณมาก ทำให้หาเส้นใยผักตบชวายากขึ้น และทางกลุ่มผลิตเส้นเชือกฟั่นส่งให้ลูกค้าไม่ทัน จึงพยายามหาสิ่งอื่นที่จะมาทำเส้นเชือกฟั่นแทนผักตบชวา ด้วยภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่ใช้เชือกกล้วยผูกมัดสิ่งของ เป็นตัวจุดประกายความคิดให้กลุ่มทดลองทำเป็นเส้นใยนำมาทำเป็นเส้นเชือกฟั่นส่งให้ลูกค้าแทน ต่อมาจึงนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากใยกล้วยหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆนอกเหนือจากการทำเป็นกระเป๋า เช่นโคมไฟ ผ้าทอ เป็นต้นโดยกระบวนการทำเส้นใยกล้วยทำด้วยฝีมือและแรงงานคนทั้งสิ้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติในท้องถิ่น นำมาประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความประณีตสวยงาม มีเอกลักษณ์ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และล่าสุดได้คิดค้นการนำใยกล้วยมาท่อเป็นผ้านุ่ง ซึ่งนับว่าเป็นที่น่าศึกษาเป็นอย่างมากและปัจจุบันทางกลุ่มยังเปิดให้ผู้สนใจศึกษาดูงานอีกด้วย
...
ผลิตภัณฑ์จากใยกล้วยหลายรูปแบบ
วัตถุดิบและอุปกรณ์การผลิตเส้นใยกล้วย และการทำกระเป๋า
1 ต้นกล้วย
2 มีดปอกผลไม้
3 แผ่นไม้กระดาน
4 แบบพิมพ์กระเป๋า
5 สีย้อมเส้นใย
ขั้นตอนการผลิต
- การขูดต้นกล้วยทำเป็นเส้นใย
นำต้นกล้วยมาแกะเอากาบกล้วยออกแล้วผ่าเป็นซีกขนาดประมาณ 1 –2 นิ้ว
นำกาบกล้วยที่ผ่าซีกแล้ววางกับแผ่นไม้กระดาน ขูดด้วยมีดปอกผลไม้เอาเนื้อออกจนเหลือแต่
เส้นใยบางๆ นำไปตากแดด หรือผึ่งให้แห้ง
การย้อมสีเส้นใยกล้วย
เส้นใยกล้วยจะมีสีขาวตามธรรมชาติ ถ้าต้องการให้ใยกล้วยเป็นสีต่างๆ ให้นำสีผสมอาหารหรือสีย้อมผ้า หรือสีจากเปลือกไม้ต่างๆ ต้มย้อมเส้นใยกล้วย
การทำเชือกกล้วย โดยการถักเปีย การฟั่นเส้น
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
- การคัดเลือกต้นกล้วย
คัดต้นกล้วยที่ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป ลำต้นยาวตรง
- การตัดต้นกล้วย
การตัดต้นกล้วยจะต้องตัดตามขวางเพื่อที่ต้นกล้วยจะได้สดและอยู่ได้นาน
-เกษตกรสำนึกรักบ้านเกิดปี 2552 จังหวัดพะเยา
13 ม. 2 ต.ห้วยแก้ว อ.ภูกามยาว จ.พะเยา 56000