
อดุลย์ เกิดในครอบครัวเกษตรกร ครอบครัวมีอาชีพทำนามาตั้งแต่บรรพบุรุษ อดุลย์เรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากน้ำพักน้ำแรงของพ่อและแม่จากการทำนา เขาจึงกลายเป็นความหวังของครอบครัวกับการที่จะได้ทำงานดี ๆ เงินเดือนสูง ๆ ช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัว หลังจากเรียนจบชีวิตดูเหมือนจะสมบูรณ์แบบ แต่กลับรู้สึกว่าทำหน้าที่ของลูกได้ไม่เต็มที่ ความรู้สึกหนึ่งที่รู้สึกคือ ตนสามารถทำให้บริษัทร่ำรวยมีผลกำไรสูง แต่กลับทำให้ครอบครัวร่ำรวยไม่ได้ จนวันหนึ่งพ่อและแม่ล้มป่วยลง ตอนนั้นทำงานเป็นวิศกรในกรุงเทพฯ ได้ 9 ปี จึงตัดสินใจลาออกมาพร้อมกับหนังสือ 1 เล่ม เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวของคนหนึ่งคนที่หวนกลับคืนบ้านเกิดมาทำการเกษตรและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในวันที่กลับบ้าน ได้ปฏิญาณไว้ว่า จะกลับไปพลิกฟื้นและเปลี่ยนแปลงอาชีพเกษตรกรของครอบครัวให้ประสบความสำเร็จให้ได้ และจะเอาความสุขที่แท้จริงกลับคืนมาสู่ครอบครัว

ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ และเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรเต็มรูปแบบ
โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างยั่งยืน"
เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงการทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวที่ทำนาเพียงอย่างเดียว มาเป็นการเกษตรแบบผสมผสาน โดยการเพาะเห็นนางฟ้าภูฐานและปลูกผักเลี้ยงปลาควบคู่กันไป หลายครั้งที่อดุลย์เกิดความท้อแท้และสิ้นหวัง จากต้นทุนการปลูกเห็ดที่ค่อนข้างจะสูง จนเขาเริ่มศึกษาการทำก้อนเชื้อเห็ดใช้เองให้เหลือต้นทุนแบบครึ่งต่อครึ่ง ลองผิดลองถูก จนปัจจุบัน นอกจากจะมีก้อนเชื้อเห็ดไว้เพาะเห็ดเอง ยังสามารถผลิตก้อนเชื้อเห็ดเพื่อจำหน่ายได้อีกด้วย และในขณะนั้นการผลิตก้อนเชื้อเห็ดถือเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับคนในชุมชน ทำให้คนในชุมชนเริ่มสนใจและให้ความสำคัญกับการทำเกษตรแบบผสมผสานมากขึ้น จึงเริ่มนำเอาองค์ความรู้ที่มีมาถ่ายทอดให้กับคนในชุมชน ครอบครัวมีรายได้จากการทำเกษตรแบบผสมผสานเข้ามาทุกวัน ทั้งขายดอกเห็ด ขายก้อนเห็ด ขายพืชผักสวนครัว และอื่น ๆ อีกมากมาย และอาชีพทำนาก็ยังทำอยู่ตามปกติ การกลับบ้านครั้งนี้ ทำให้อดุลย์มีเวลามากขึ้น ได้อยู่กับครอบครัวมากขึ้น ทุกคนในครอบครัวมีความสุข พ่อแม่หายจากอาการป่วย ที่สำคัญยังช่วยให้คนในชมุชนมีอาชีพได้อีกด้วย

ตั้งแต่การผลิตก้อนเชื้อ จนกระทั่งเก็บผลผลิต
ชนิดที่เรียกว่า ดูแลเหมือนลูกกันเลยทีเดียว "
สิ่งที่ครอบครัวและชุมชนให้การยอมรับมากยิ่งขึ้น คือ การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ มากมาย ถือเป็นเพิ่มมูลค่าให้สินค้าเกษตร ทำให้มีกำไรเพิ่มมากขึ้น ชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืน ปัจจุบัน "อดุลย์คลองหลวงฟาร์มเห็ด" เป็นศูนย์เรียนรู้สัมมาชีพชุมชน ศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร และยังมีเป้าหมายในอนาคตอยากจะเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรเต็มรูปแบบโดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้กับงานเกษตรอย่างยั่งยืน

จัดสรรพื้นที่ทำการเกษตรและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "
"เทคนิคการบริหารจัดการพื้นที่"
-ด้วยพื้นฐานเดิมมีอาชีพทำนา จึงจัดสรรพื้นที่ทำนาจำนวน18 ไร่ ด้วยหลักการบริหารจัดการน้ำในหลักกักเก็บน้ำอ่างสมบูรณ์โดยใช้ทฤษฎี คลองไส้ไก่รอบแปลงนา ลดอัตราความเสี่ยงของน้ำไม่พอใช้ และเป็นการเพิ่มคุณภาพคลองส่งและระบายน้ำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและแบ่งน้ำปลูกไม้กินไม้ใช้สอยได้อย่างดีเยี่ยม
-จัดสรรพื้นที่ทำเกษตรแบบผสมผสาน พืชผักสวนครัว ไม้ผลไม้ใช้สอยไม้เศรษฐกิจ จำนวน 4 ไร่
เพื่อให้ระบบนิเวศทั้งธรรมชาติ สัตว์ และคน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และเป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ จาก การปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก และแบ่งปันให้กับโรงเรียนและคนในชุมชน
-จัดสรรพื้นที่ทำแหล่งกักเก็บน้ำและประมง (เลี้ยงปลา,กบ,เป็ด),คลองระบายน้ำ,คลองไส้ไก่ จำนวน 2 ไร่
-พื้นที่ส่วนที่เหลือ จัดสรรเป็นที่อยู่อาศัย,พื้นที่เลี้ยงสัตว์,พื้นที่แปรรูปพืชผลทางการเกษตร จำนวน 1ไร่

แต่ด้วยกำลังใจจากครอบครัว และการหาความรู้เข้าตัวตลอดเวลา
จึงพัฒนาเป็นก้อนเห็ดที่สมบูรณ์แบบนี้ "
"เทคนิคและวิธีการมาใช้เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต"
ได้ดำเนินการ สร้างขบวนการ การทำเกษตรแบบครบวงจร คือ สามารถ ผลิตออกมาได้ จำหน่ายผลผลิตได้ สามารถแปรรูปผลผลิตได้ และจำหน่ายออกสู่ตลาดได้ โดยยึดหลักการใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ขบวนการผลิตก้อนเชื้อเห็ดที่ฟาร์ม สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1.ผลิตก้อนเชื้อเห็ดออกมาไว้สำหรับเปิดดอกเห็ดในโรงเรือนและจำหน่ายให้กับลูกค้า คนในชุมชนสามารถซื้อก้อนเชื้อได้ในราคาที่ถูกและมีคุณภาพ ชุมชนมีรายได้จากการขายดอกเห็ดมากขึ้น เกิดรายได้หมุนเวียนภายในชุมชนและนอกชุมชน ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตก้อนเชื้อเพื่อจำหน่ายยังชุมชนอื่น เป็นการกระจายรายได้หมุนเวียนภายในชุมชน เกิดเป็นแรงงานคุณภาพในชุมชน เรายังนำระบบsmart farm มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิ์และเพิ่มผลผลิต ที่สำคัญเป็นการลดต้นทุนการจ้างแรงงานเพิ่มหรือไม่ก็ทำให้แรงงานทำงานน้อยลงมีความสุขมากขึ้น เช่นจัดทำระบบ timer ตั้งเวลาการให้น้ำอย่างเป็นระบบ และนำนวัตกรรมการนึ่งก้อนเชื้อเห็ดมาใช้โดยใช้หลักการพ่นไอน้ำ 100 องศาเซลเซียส พ่นเข้าไปในถังนึ่ง แทนการต้มเดือดในถัง เป็นการประหยัดต้นทุนค่าแก๊ส ลดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพทำให้ก้อนสมบูรณ์มากขึ้นหลายเท่า
2.จำหน่ายดอกเห็ดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ด ให้กับตลาด,แม่ค้าและคนในชุมชนและรับซื้อดอกเห็ดและสินค้าแปรรูปจากชุมชนและนอกชุมชน ทำให้ระบบเศรษฐกิจกระจายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น ชุมชนซื้อสินค้าได้ถูกกว่าตลาดภายนอก สินค้ามีคุณภาพสูงกว่า และมีการซื้อขายผ่านระบบโซเซียลและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย ทำให้เพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงและมีคุณภาพ ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการแปรรูป ร่วมกันทำ ร่วมกันจำหน่าย รายได้แบ่งปันซึ่งกันและกัน มีเงินหมุนเวียนในชุมชน มีร้านค้าสำหรับการแปรรูปเป็นของเราเอง เกิดเป็นการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

อร่อยแบบมีโปรตีน
ข้าวเกรียบเห็ดสมุนไพร BUGKRIAB "
"กลยุทธ์การตลาด และการสร้างแบรนด์"
สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ว่าเรามีดีอะไร ชุมชนมีอะไรดี ดึงความเป็นอัตลักษณ์ และความโดดเด่นออกมา อย่างเช่นเราขายเห็ด เราก็ต้องรู้ว่าเห็ดมีดีอะไร กินแล้วได้อะไร นำเอาสิ่งนั้นมาเป็นจุดขาย และใช้ดึงดูดความสนใจของลูกค้า ตัวอย่างเช่น
- กินเห็ดแล้วได้อะไร คำตอบคือ ได้โปรตีนสูงกว่าเนื้อสัตว์
- กินเห็ดมีอะไร คำตอบคือ มีส่วนช่วยในการยับยั้งมะเร็ง
- กินเห็ดช่วยอะไร คำตอบคือ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
เรามุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัย เน้นความสะอาดปลอดภัย กินง่าย ขายง่าย เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนในยุคนี้ ด้วยการแปรรูปภายใต้แบรนด์ "BUGKRIAB" ซึ่งเป็นแบรนด์ของข้าวเกรียบเห็ดสมุนไพร เด็กทานได้ผู้ใหญ่ทานดี อร่อย และมีประโยชน์

"เทคโนโลยี นวัตกรรมต่าง ๆ ที่นำมาปรับใช้"
-เครื่องผสมขนาด 10 กก. มอเตอร์ขนาด 1 แรง เข้ามาช่วยในการผสมวัสดุปลูก จากเดิมใช้มือใช้เวลา15-20 นาที พอมีเครื่องผสมลดลงเหลือ 5 นาที และสามารถลดแรงงานได้ถึง 2 คน
-เครื่องอัดก้อนขนาด 4 กระบอก เครื่องจะทำการกรอกขี้เลื่อยใส่ถุงแล้วอัดให้พร้อมกัน เรามีหน้าที่นำถุงออก แล้วทำการใส่จุกใส่ฝาเท่านั้น ลดแรงงานไปได้ 1 คน ผลิตก้อนเชื้อเห็ดได้มากขึ้น 50 %
-เตานึ่งก้อนเชื้อด้วยการผลิตไอน้ำเดือด 100 องศา สามารถนึ่งก้อนเชื้อเห็ดได้ 1,300 ก้อนต่อการนึ่ง 1 ครั้ง ก้อนเห็ดมีคุณภาพ ดอกออกสวย มีมาตรฐานและคุณภาพที่สมบูรณ์
-โรงอบเห็ดพาลาโบล่า ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการดึงความร้อนจากท่อส่งผ่านเข้าไปยังโรงอบพัดลมที่ทำการถ่ายเทความร้อนทำให้ลดเวลาการตากข้าวเกรียบจากเดิม 2 วัน เหลือแค่ครึ่งวันเท่านั้น
การใช้ Timer มาช่วยในการให้น้ำเห็ด ช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำ และทุนแรงงานไปได้มาก
และในอนาคตจะมีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีการควบคุมความชื้น อุณหภูมิเข้ามาช่วยในการทำเกษตรให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
นายอดุลย์ วิเชียรชัย
107 หมู่ 14 ต.คลองหก อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120