
ศิริพร เอี่ยววงศ์เจริญ จบการศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลป์ และใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงมาระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งเมื่อปี 2554 เกิดวิกฤติน้ำท่วมหนัก ทำให้รู้ว่าการใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ นั้นไม่ยั่งยืนอีกต่อไป จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่จังหวัดพิจิตร แต่เดิมมีพื้นที่นาอยู่แล้วกว่า 20 ไร่ ซึ่งได้ปล่อยให้ชาวบ้านเช่ามาเป็นเวลากว่า 30 ปี หลังจากกลับมาที่บ้านเลยตั้งใจที่จะทำและพัฒนาเพื่อให้เกิดมูลค่ามากกว่าการปล่อยเช่า โดยเริ่มจากการปรับพื้นที่เพื่อให้สามารถทำนาได้ ปีแรก ๆ ที่ทำเริ่มจากการทำเคมีก่อน และพอเข้าปีที่ 2 จึงเริ่มปรับ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งปลูกแบบอินทรีย์ ส่วนหนึ่งปลูกแบบเคมี เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความชัดเจนของผลผลิต รวมถึงต้นทุนต่าง ๆ ที่ต้องใช้ จนได้คำตอบ และในปี 2558 จึงได้ปรับเป็นอินทรีย์ทั้งหมด จนถึงปัจจุบัน และในปี 2558 ได้เจอกับวิกฤติหนักอีกครั้ง คือปัญหาภัยแล้ง แปลงนาที่ทำเกิดความเสียหายทั้งหมด จนเข้าสู่ปี 2559 ตั้งความหวังไว้ว่าราคาข้าวจะดี แต่กลับไม่เป็นดังหวัง ราคาข้าวล่วงลงมาอยู่ที่ตันละ 6000 บ้าน ทำให้นั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ต้องมานั่งศึกษาเรื่องของราคามากขึ้น เมื่อราคาข้าวเปลือกมันแปรผันไปตามราคากลไกของตลาด และสร้างผลกระทบให้เราอย่างมหาศาล ที่สำคัญเราเองที่เป็นเกษตรกรไม่สามารถที่จะกำหนดราคาเองได้ แต่พอเปรียบเทียบกับข้าวสาร ข้าวที่ผ่านการแปรรูปแล้ว ราคาเสถียรกว่า จึงทำให้คิดได้ว่า ไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ ถ้าผ่านการแปรรูปแล้วจะทำให้มีราคาที่เพิ่มมากขึ้น นี่คือจุดที่เราต้องหันมาพัฒนาข้าว รวมไปถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จึงเกิดการรวมกลุ่มกันขึ้นภายในชุมชน เพื่อผลิตข้าวปลอดสารเคมี ส่งตรงถึงมือผู้บริโภค ภายใต้แบรนด์ "บุญมาออร์แกนิค" และสิ่งที่สำคัญที่เรามองเห็นคือเรื่องของมาตรฐาน ที่เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ หลักสำคัญที่ใช้ในการปฏิบัติงานต่อาชีพเกษตรกรเสมอมาคือ เราต้องเข้าใจ เข้าถึงสิ่งที่จะทำและมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าเราไม่เข้าใจเราก็จะพัฒนาไม่ได้และก็จะทำเองไม่ได้

ก็ได้ข้าวคุณภาพเหมือนกัน แต่ต้นทุนลดลงอย่างเห็นได้ชัด "
"การบริหารจัดการพื้นที่ในการเพาะปลูก"
-ขุดดินจากสระถมพื้นที่ในแปลงเพื่อปลูกไม้ผลและตะไคร้
-ขุดดินในคลองขึ้นมาทำคันคลองแทนคันเก่าที่พังทลาย ตลอดแนว 100 กว่าเมตร สาเหตุที่ทำให้ควบคุมน้ำไม่ได้ ทะลักท่วมข้าวทุกปี ขณะเดียวกันในคลองที่ขุดดินลึกกว่าระดับคลองเก่านั้น ช่วงหน้าแล้งก็ยังเก็บน้ำไว้ใช้ทำนาปรังได้ ลดความเสี่ยงกรณีน้ำไม่พอใช้ทำนาปรัง
-ทำถนนตัดเข้าสู่แปลงนาตนเองโดยตรง เพื่อจะมีทางเข้าเกี่ยวข้าวนาปรังได้ตลอดปี (จากเดิมคันคลองเป็นป่ายูคา) เนื่องจากไม่มีถนน อาศัยรถเกี่ยวผ่านทางแปลงนาผู้อื่น จากเดิมจึงปลูกได้เฉพาะข้าวหอมมะลิเท่านั้น
-ขึ้นถนนตัดกลางแปลงนา รถเกี่ยวสามารถลงเกี่ยวได้ทุกกระทงนา (สามารถแบ่งปลูกข้าวนาปี นาปรังได้)
-ไถคันนาเดิมทิ้งทั้งหมด ขึ้นคันใหม่ ดันคันแดนให้ใหญ่ป้องกันสารเคมี จากแปลงนาข้างเคียง
-ฝังท่อปูน, พีวีซี 4 จุด ดึงน้ำจากคลองลงสระ/จากสระออกสู่แปลงนา (ด้านขวา) /จากประตูน้ำออกสู่แปลงนา(ด้านซ้าย)/ขุดร่องข้างแปลง จุดที่ระดับต่ำที่สุด เพื่อระบายน้ำออกลงคลองและจ่ายน้ำให้แปลงข้างเคียง (ช่วงปล่อยน้ำทิ้งหว่านนาตมและก่อนเกี่ยว)
-ใช้รถไถใหญ่ 3 คันปราบนาแห้งให้เรียบขึ้น(ลดความเสียงกรณีน้ำมามาก) และสูบน้ำเข้านา ใช้รถไถเล็กอีก 3 คันใช้วิธีปราบน้ำให้นาเรียบ (ใช้น้ำเช็คระดับพื้นนา) เพราะผู้เช่าเดิมส่งน้ำผ่านแปลงนาให้แปลงข้างๆ 5 ราย จึงทำให้พื้นที่หัวแปลงเป็นแอ่งกระทะ

แปลงบุญมาออร์แกนิค จัดสรรพื้นที่ใช้งานเป็นแบบแปลงผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ
1.พื้นที่ปลูกข้าว พื้นที่เราติดคลองธรรมชาติและมีสระไว้เป็นบ่อพักน้ำก่อนปล่อยเข้าพื้นนา วางท่อจากคลองเก็บน้ำเข้าสระและอาศัยแรงดันน้ำจากสระดันน้ำออกสู่แปลงนาโดยใช้วิธีกาลักน้ำ พื้นที่ด้านบนระดับสูง จ่ายน้ำลงด้านล่างของแปลง ใน 1 วันน้ำก็จะเต็มแปลงทั้งหมดกรณีที่ต้องมีการซ่อมข้าว ก็จะกักเก็บเป็นแก้มลิงไว้ด้านบน เมื่อข้าวที่ซ่อมโตทันน้ำจึงค่อยๆเลี้ยงน้ำจากด้านบนลงมา (เป็นการควบคุมหญ้าโดยใช้น้ำ) และไม่ให้กล้าข้าวแปลงด้านล่างจมน้ำ ลดความเสียหายทีจะเกิดขึ้น ในกรณีปริมาณฝนมากจะเปิดน้ำจากแปลงล่างลงร่องไหลกลับสู่คลอง
2.พื้นที่คันแดน ดันคันกว้าง 2 เมตร รอบแปลงนาทั้งหมด ทยอยปลูกกล้วยเป็นพืชพี่เลี้ยงกับไม้ผล เช่นมะม่วง ลำไย และปลูกแนวตะไคร้เป็นแนวกันชนป้องกันสารเคมีจากแปลงนาข้างเคียง เมื่อกล้วยออกเครือแล้วจึงตัดเป็นท่อนหมักโคนต้นไม้ผล ให้น้ำจากต้นกล้วยเลี้ยงพืชต่อไปทั้งยังเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับไม้ผลด้วย
3.พื้นที่รอบคันแดน (ติดแปลงอื่น) รอบแปลงนาทั้งหมด ดันคันใหญ่กว้าง 2 เมตร และปลูกตะไคร้เป็นแนวกันชนป้องกันสารเคมีจากแปลงข้างเคียง ทยอยปลูกกล้วยสลับกับมะม่วง เพื่อให้กล้วยเป็นพืชพี่เลี้ยง บังแดด และเมื่อตัดเครือก็ตัดต้นกล้วยหมักที่โคนไม้ผล ให้น้ำจากซากกล้วยดูแลผลไม้ช่วงหน้าแล้ง

สามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้เท่าตัว "
"มีวิธีการในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตอย่างไรบ้าง"
1.เมื่อหมดช่วงฤดูทำนาครั้งที่ 2 เราจะหว่านปอเทืองทีได้จากกรมพัฒนาที่ดิน เมื่อปอเทืองออกดอกแล้วจึงไถกลบเพิ่มไนโตรเจนในดินทำให้ประหยัดค่าปุ๋ย 1 เท่าตัวและหว่านปุ๋ยเพียงครั้งเดียว
(โดยทั่วไปจะหว่านปุ๋ย 2 ครั้งต่อฤดูทำนา) และการทำน้ำหมักจาวปลวกหมักย่อยสลายฟางข้าวหลังเก็บเกี่ยวในฤดูแรกเพิ่มอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดิน
2.นอกจากนี้การปลูกแบบอินทรีย์จะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยสามารถนำเศษอาหารที่เหลือ เศษกล้วย ผลไม้ ฯลฯ มาใช้ในการหมักจุลินทรีย์ และสามารถขยายหัวเชื้อไปได้อย่างไม่จำกัด เช่นน้ำหมักจุลินทรีย์จอมปลวกมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายตอซัง (ทดลองแล้วประสิทธิภาพดีกว่าจุลินทรีย์หน่อกล้วย)
3.นำแผนที่เขียนลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต ปุ๋ยอินทรีย์ อ.เมือง จ.พิจิตร โครงการ 9101 ปี 2560 มาใช้ในการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต ทั้งด้านปัจจัยการผลิตข้าว คือ ใช้ก้อนเห็ดเก่าที่ได้ฟรีจากกลุ่มเครือข่าย มาผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์โดยใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ เก็บไว้ใช้เองในการหว่านปุ๋ยครั้งที่ 2 ซึ่งจะมีต้นทุนเพียงกิโลกรัมละ 3-4 บาทเท่านั้น และปุ๋ยหมักจุลินทรีย์นี้ยังสามารถสร้างกระบวนการทางชีวภาพให้กับดินอีกด้วย
4.บุญมาออร์แกนิคมีเครื่องสีข้าวกล้องข้าวขาว ขนาดเล็กและเครื่องคัดแยกเมล็ดข้าว 100 % สามารถสีและแยกเมล็ดข้าวได้ในระดับหนึ่ง แต่การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เช่นการยิงสีข้าวไรซ์เบอร์รี่ ฉะนั้นเราลดต้นทุนโดยการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ปนน้อยที่สุด และเชื่อมโยงกลุ่มเครือข่ายที่มีเครื่องมือการแปรรูปต่างๆ เช่น เครื่องสีข้าวขนาดกลาง เครื่องยิงสี ตู้อบลมร้อน เครื่องบด ฯลฯ เพื่อจ้างผลิต ลดภาระเรื่องแรงงาน และภาระการซ่อมบำรุง รวมถึงการลงทุนด้านเครื่องมือที่มีราคาแพง ทั้งยังเป็นการกระจายรายได้สู่กลุ่มเครือข่ายอีกด้วย

เกิดจากการจัดการตั้งแต่ต้นน้ำกันเลยทีเดียว "
ประเด็นหลักของเรา จึงเป็นการป้องกันไม่ให้สารเคมีปนเปื้อนที่ปนมาจากแหล่งอื่นๆ เช่นทางน้ำ(คลองธรรมชาติ) ทางอากาศ(ฉีดจากแปลงข้างเคียง) รวมทั้งรถเกี่ยวที่เกี่ยวรวมแปลงเคมีมาต้องมีการล้างกระเปาะข้าวทุกครั้ง
เราสร้างระบบนิเวศในแปลงนาโดยให้จุลินทรีย์เลี้ยงดินและให้ดินเลี้ยงพืช เมื่อดินดี ผลผลิตก็งอกงาม ใช้เชื้อราเขียวชั้นสูง(ไตรโคเดอร์ม่า)ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใช้เชื้อราขาวบิวเวอร์เรียสร้างสปอร์ควบคุมแมลงศัตรูพืช และ เมตตาไรเซี่ยมควบคุมหนอนหรือแมลงศัตรูพืชในดิน ใช้จุลินทรีย์สรรพสิ่งและจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเร่งการเจริญเติบโตของพืช รวมถึงการเลี้ยงตัวห้ำตัวเบียนในแปลงปลูกให้แมลงควบคุมกันเอง นอกจากนี้ควรปลูกไม้ดอกและพืชหลากหลายเพื่อสร้างระบบนิเวศวิศวกรรมในแปลง เพื่อให้แมลงศัตรูธรรมชาติ(แมลงที่กินแมลงศัตรูพืช คือตัวห้ำ(เช่น แมงปอ แมงมุม) ตัวเบียน(แตนเบียน)ที่เราเลี้ยงไว้ มีที่อยู่อาศัยและอาหารช่วงฤดูแล้ง ใช้หลักพึ่งพากันของธรรมชาติรักษาระบบนิเวศจึงจะมีประสิทธิภาพ จะสามารถคืนความสมบูรณ์ให้ดิน สู่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมต่อไปได้

การันตีคุณภาพด้วยมาตรฐานอินทรีย์สากล EU/USDA "
การลดความเสี่ยงจากสารเคมีบริเวณใกล้เคียง โดยใช้กฎข้อบังคับของการขอมาตรฐานอินทรีย์สากล
-พื้นที่ที่ติดคลองธรรมชาติ เราขุดสระเพื่อกักเก็บและพักน้ำก่อนที่จะส่งเข้าแปลงปลูก
(ในกรณีที่มีความเสี่ยงว่าจะมีสารปนเปื้อนไหลลงทางต้นน้ำ)
-(ช่วงทำนาฤดูแรก-หว่านแห้ง) วิธีการกำจัดวัชพืชในแปลงจะใช้วิธีไถดะ ตากให้หญ้าตาย และใช้โรตารีปั่นให้ละเอียดก่อนหว่าน เมื่อข้าวขึ้นแล้วจึงใช้น้ำคุม ส่วนผักบุ้งใช้มือถอน บางชนิดปล่อยให้ขึ้นตามธรรมชาติ
(ช่วงทำนาฤดูที่ 2-นาดำ ) ไถดะ ปล่อยน้ำเข้านา และหมักด้วยจุลินทรีย์จาวปลวกย่อยสลายตอซัง ปั่นด้วยโรตารี และตีเทือก ดำข้าว เมื่อข้าวโตระยะกล้าก็ควบคุมวัชพืชด้วยน้ำ
-ตามคันนา ถนน ใช้วิธีการตัดหญ้าแทนการฉีด
-บางส่วนใช้ยาฆ่าหญ้าโดยหมักจากบอระเพ็ด 6 เดือนผสมเกลือและน้ำหมักชีวภาพ (ตัวเร่งให้หญ้าดูดซึมทางราก)
-มีการกั้นแนวกันชนสูงอย่างต่ำ 1 เมตรและกว้าง 2 เมตร (ปีนี้มีการเพิ่มคันให้ใหญ่ขึ้น เนื่องจากแนวตะไคร้ที่ปลูกเป็นแนวป้องกันได้รับความเสียหายจากไฟลามทุ่งช่วงหน้าแล้ง)
-การเก็บเกี่ยวก็จะใช้วิธีล้างกระเปาะข้าวด้วยและใช้น้ำล้างหลายๆครั้ง (กรณีเกี่ยวข้าวต่อจากนาแปลงอื่นที่เป็นเคมี)
-ไม่ใช้พันธุ์ข้าวที่คลุกยา โดยจะเก็บพันธุ์ไว้ปลูกเองในฤดูถัดไป
-ปลูกพืชหมุนเวียน โดยใช้ปอเทือง(ปุ๋ยพืชสด) และพืชตระกูลถั่วเพื่อสร้างความหลากหลายและปรับปรุงดิน
-จัดเก็บโดยใช้กระสอบใหม่สีขาว ไม่ใช้กระสอบหัวอาหารทุกชนิด

"ผลิตภัณฑ์ของบุญมาออร์แกนิคมีอะไรบ้าง"
1. ข้าวไรซ์เบอร์รีอินทรีย์/ หอมมะลิอินทรีย์ (พื้นทีปลูกได้มาตรฐานสากล EU/USDA และ มาตรฐานออร์แกนิคไทยแลนด์ กรมการข้าว )
2. ชาชงสมุนไพรตะไคร้ใบเตย, รางจืดใบเตย ซึ่งปัจจุบันขายแบบแพ็คฟอยด์ โดยตั้งเป้าหมายขายในตลาดยุโรป (หลังจากระยะปรับเปลี่ยนครบ 36 เดือน (3 ปี) ได้สถานะ Organic มาตรฐานสากล EU / USDA มาตรฐานออร์แกนิคไทยแลนด์ กรมการข้าว )
3. ชาชงสมุนไพรตะไคร้ใบเตย, รางจืดใบเตย ซึ่งปัจจุบันขายแบบแพ็คฟอยด์ โดยตั้งเป้าหมายขายในตลาดยุโรป (หลังจากระยะปรับเปลี่ยนครบ 36 เดือน (3 ปี) ได้สถานะ Organic มาตรฐานสากล EU / USDA)

เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณค่า
สร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ "
จากประสบการณ์ในการทำอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรส่วนใหญ่ชำนาญการปลูก สามารถฝึกอบรมและปฏิบัติตามข้อกำหนดในการขอมาตรฐานอินทรีย์ทั้งสากลและออร์แกนิคไทยแลนด์ได้ ทั้งยังได้ผลผลิตดี อีกทั้งเรามีกลุ่มเครือข่ายอินทรีย์ในจังหวัดและกลุ่มคลัสเตอร์ข้าวภาคเหนือตอนล่างที่ปลูกพืชหลากหลาย แต่เกษตรกรขาดช่องทางและความถนัดในการหาตลาดกระจายผลผลิต โดยเล็งเห็นว่ากลุ่ม SME,NEC และผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ที่เป็นเครือข่ายภาคธุรกิจนั้น ยังมีความต้องการผลผลิตทางการเกษตรอีกมาก การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ปลูกกับผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์ จึงมีบทบาทสำคัญ เพื่อให้เกษตรกรเป็นแหล่งปลูกวัตถุดิบอินทรีย์ เพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและเพิ่มมูลค่าสินค้าแปรรูปให้กับ SME อีกด้วย นอกจากจะใช้มาตรฐานอินทรีย์ต่างๆ ที่ได้รับการรับรองเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าแปรรูปแล้ว ยังเป็นการสร้างจุดขายอีกด้วย และในภาวะปัจจุบันที่มีผลิตภัณฑ์มากมายหลากยี่ห้อ ผู้คนเลือกซื้อสินค้าได้มากขึ้นและสะดวกหลายช่องทาง กระแสนิยมออร์แกนิคหรือผู้ที่ดูแลรักษาสุขภาพมีมากขึ้น เราจึงขอการรับรองมาตรฐานอินทรีย์ สร้างความเชื่อมั่นทั้งในกลุ่มเครือข่ายและทำให้มีช่องทางการเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น การริเริ่มขอการรับรองมาตรฐานอินทรีย์สากล EU/USDA ปี 60 และออร์แกนิคไทยแลนด์ โครงการอินทรีย์ล้านไร่ ของกรมการข้าว ปี 60 เพื่อเพิ่มมูลค่าทั้งผลผลิตที่เป็นวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์แปรรูป นำร่องให้กับเกษตรกรในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนพิจิตรอินทรีย์ โดยเขียนแผนปัจจัยการผลิต เขียนระบบควบคุมภายในและงานด้านเอกสารทั้งหมด
นางสาวศิริพร เอี่ยววงศ์เจริญ
115/35 หมู่ 1 ต.สากเหล็ก อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร 66160