
บ้านสวนเมล่อน เกิดจากความตั้งใจของคุณปคุณา เกษตรกรสาว วัย 39 ปี ที่อยากจะผลิตอาหารปลอดภัยให้กับคนที่รัก และแบ่งปันให้กับคนรอบข้าง เริ่มจากพื้นที่จำนวน 4 ไร่ ใน ต.ท่าพลับ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา และได้น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ ด้วยการจัดการพื้นที่ 4 ไร่ ออกเป็น 4 ส่วน ( 30 : 30 : 30 : 10 ) และเริ่มปลูกในสิ่งที่ครอบครัวชอบเป็นอันดับแรกคือ “เมล่อน” เริ่มแรกนั้นโรงเรือนปลูกยังเป็นแบบดั้งเดิมมาก ๆ คือทำจากไม้ไผ่ หลังจากนั้นก็เรียนผิดเรียนถูกมาเรื่อย ทั้งศึกษาเรื่องของโรงเรือน และที่สำคัญศึกษาพัฒนาการ ลักษณะของต้นเมล่อน สิ่งไหนที่เมล่อนชอบ สิ่งไหนเมล่อนไม่ชอบ จนรู้สึกว่าสามารถเข้าใจเมล่อนได้อย่างถ่องแท้ จึงได้เริ่มก่อสร้างโรงเรือนในแบบถาวร และใช้ระบบ "พี่เลี้ยงน้อง" ในการบริหารจัดการ นั่นคือ สร้างโรงเรือนที่ 1 ปลูก ขาย เพื่อให้ได้กำไร มาสร้างโรงเรือนที่ 2 ปลูกแล้วขาย เพื่อนำมาสร้างโรงเรือนที่ 3 4 5 6 ต่อไปเรื่อย ๆ จนปัจจุบัน ทำให้บ้านสวนเมล่อนนั้น มีโรงเรือนเมล่อนทั้งหมด 13 โรงเรือน โดยใช้ระยะเวลา 2 ปี

ปลูกร่วมด้วยเสมือนว่ามีตู้เย็นธรรมชาติอยู่ในบ้าน"
"บ้านสวนเมล่อนมีการบริหารจัดการอย่างไรบ้าง”
การบริหารจัดการพื้นที่ของบ้านสวนเมล่อน
ทางฟาร์มแบ่งพื้นที่ในการจัดการ โดยยึดหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ 30: 30 :30 :10 ดังนี้
30 ที่ 1 แบ่งเป็นสวนเพื่อจัดไว้รับรองลูกค้าที่เข้าสวน จำหน่ายสินค้า อาหาร ห้องอบรม จุดพักผ่อน
30 ที่ 2 แบ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของสวน คือ เมล่อน
30 ที่ 3 เป็นพื้นที่ เศรษฐกิจพอเพียง ปลูกทุกอย่างที่เราทาน เลี้ยงเป็ด ไก่ จิ้งหรีด ปลา ทั้งทานเองและนำมาปรุงเป็นอาหารเพื่อจำหน่ายในส่วนที่ 1 ของสวน
10 ที่ 4 ใช้เป็นพื้นที่ปลูกบ้านที่อยู่อาศัย
ทั้งนี้เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นหากเมล่อนตลาดไม่สามารถจำหน่ายได้ เรายังมีสินค้าอื่นเพื่อจำหน่ายและยังมีทานเองในครอบครัว การควบคุณภาพของผลผลิต เราใช้วิธีการปลูกในโรงเรือนระบบปิดเพื่อลดปัญหาในการใช้สารเคมีกำจัดแมลง ในต้องตัดสินค้าจำหน่ายเมื่อถึงกำหนดตัดเท่านั้น ควบคุมคุณภาพความหวานโดยการตรวจสอบความหวานโดยใช้เครื่องมือทุกครั้งก่อนให้ลูกค้าได้เข้าตัดภายในสวน

เทคนิค วิธีการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำมาปรับใช้ในกระบวนการผลิต (ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต)
นวัตกรรมโดดเด่นของเราที่คิดค้นขึ้นมาได้เองคือ เครื่องโค้งเหล็กเพื่อทำโรงเรือน ประสิทธิภาพสูง และเรายังได้รับการสนับสนุนจาก บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) พัฒนาฟาร์ม ให้อยู่ในรูปแบบของ SMART FARM เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำฟาร์มให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตดี มีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น

การดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรด้วยแนวคิดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
บ้านสวนเมล่อน ไม่ใช้สารเคมีอันตรายฉีดพ่น ไม่ว่าจะเป็นพืชเพื่อการบริโภค แม้กระทั่งวัชพืช ที่เกิดขึ้นภายในสวน ภายในสวนมีการจัดการระบบน้ำทิ้งก่อนที่จะปล่อยน้ำออกสู่ธรรมชาติ ชี้วัดโดยการเลี้ยงปลากะพง ลงในบ่อพักน้ำก่อนที่จะปล่อยน้ำออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้ปลาในบ่อมีน้ำหนักถึง 5 กิโลกรัมต่อตัว

โดยมีการลงนาม mou กับการบินไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว"
"เมล่อนบินได้" ปัจจุบันเมล่อนในฟาร์ม ได้กลายเป็นของว่างแสนอร่อยบนเครื่องบิน ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก และนอกจากเมล่อนแล้ว "บ้านสวนเมล่อน" ยังมีพืชและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกหลากหลาย อย่างเช่น ผักสลัด ข้าวโพดฮอกไกโด มะเขือเทศราชินี เห็ด ข่า ตะใคร้ ใบมะกรูด พืชผักสวนครัว รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่แปรรูปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น น้ำเมล่อน น้ำเมล่อนปั่น สบู่เมล่อน เป็นต้น

"ด้านการตลาด บ้านสวนเมล่อนบริหารจัดการอย่างไร"
เนื่องจากบ้านสวนเมล่อนเราทำการเกษตรแบบ ทำเพื่อคนที่รัก คือ การที่คน คนหนึ่งจะเข้ามาในบ้านเรา เค้าจะต้องรู้สึกว่า กลับบ้าน กลับมาทานอาหารรสชาติ แบบคุ้นเคย และความรู้สึกเป็นกันเอง สบายๆ พร้อมมีความรู้ มีสาระ มาเติมพลังเพื่อที่จะกลับออกไปต่อสู้กับโลกภายนอกที่มีปัญหาอย่างมากมาย รู้สึกถึงความปลอดภัยและสบายใจเมื่อเข้ามาหาเรา จึงเป็นที่มาของชื่อที่เราตั้งขึ้นมา คือ บ้านสวนเมล่อน

"กิจกรรมด้านการเกษตรที่ทำเพื่อชุมชน จนเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม มีอะไรบ้าง"
-เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน การปลูกพืชแบบปลอดภัยให้กับชาวบ้านในชุมชน และผู้ที่สนใจทั่วไป
-เปิดฟาร์มเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าชุมชน ทั้งแบบฝากวางเพื่อจำหน่ายและเข้ามา และจำหน่ายเอง
-เป็นหนึ่งในสถานที่จัดโครงการท่องเที่ยว O-TOP นวัตวิถี เพื่อทำให้เศษฐกิจในชุมชนดีมากยิ่งขึ้น เมื่อมีลูกค้าเข้ามาในชุมชนเรามากขึ้น ก็จะก่อให้เกิดรายได้ในครัวเรือนมากขึ้น
-เป็นหนึ่งในคณะกรรมการในการ ก่อตั้ง สหกรณ์ พืชผักผลไม้ปลอดภัยสูงจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์คือ ช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยได้มีสถานที่จำหน่ายสินค้า ซึ่งขณะนี้เราได้เปิดตลาดสินค้าของเรา กับ บ.การบินไทย โดยมีพิธีลงนาม MOU ระหว่างกันเมื่อวันที่ 31 ส.ค 61
-เป็นหนึ่งในกลุ่ม young smart famer ฉะเชิงเทรา ในการช่วยเหลือเพื่อนเกษตรกรคนอื่นๆ ที่พร้อมจะผลิดสินค้าอย่างปลอดภัยและผลักดันให้ได้การรับรองมาตรฐานต่างๆจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น มาตรฐาน GAP
นางสาวปคุณา บุญก่อเกื้อ
47/29 หมู่ 2 ต.คลองนา อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 24140