
ชยพล สุ่ยหล้า ลูกชาวนา ที่จบปริญญาโทสาขาพืชไร่ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากความตั้งใจและความมุ่งมั่น ที่จะนำเอาความรู้ที่มี และเครือข่ายที่มีกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง ก่อนที่จะเรียนจบปริญญาโทนั้น ชยพลใช้เวลาเรียนอยู่ทั้งหมด 6 ปี แต่ระหว่างนั้นก็คือทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย และถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้ร่วมงานกับองค์กรที่มีผู้บริหารมองเห็นความสำคัญของเกษตรกร ด้วยการจัดทำโครงการ CSR เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนั้นปลูกพืชหลังนา อย่างเช่น ถั่วลิสง จึงได้มีโอกาสทำงานเป็นผู้จัดการโครงการปลูกถั่วลิสง จุดนี้เองที่ทำให้มีโอกาสได้สัมผัส แนวคิด และวิถีชีวิตเกษตรชุมชน และได้ช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเต็มที่ โดยทางบริษัทมีงบสนับสนุนให้จัดตั้ง โรงเรียนถั่วลิสงในกลุ่มเกษตรกรหลาย ๆ จังหวัดในภาคอีสาน และสร้างกองทุนถั่วลิสงขึ้น และระหว่างที่ทำงานไปเรียนปริญญาโทไปนั้น ก็ทำให้ได้รู้จักกับนักวิชาการหลายท่าน รวมถึงเครือข่ายต่าง ๆ จนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เกิดความมั่นใจได้แล้วว่า เรามีองค์ความรู้มากพอที่จะนำกลับไปพัฒนาบ้านเกิด จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ โดยในปี 2559 ได้เริ่มก่อตั้งศูนย์บริการด้านการเกษตรขึ้นภายในชุมชน ด้วยการลงพื้นที่ ให้ความรู้และจัดอบรมเกษตรกร โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น และต่อมาได้มีการตั้งกลุ่มถั่วลิสง ซึ่งเป็นพืชที่มีความถนัดและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ และเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน จนถึงปัจจุบันนี้

เนื่องจากไม่ต้องหาแหล่งน้ำมากในหน้าแล้ง และใช้เวลาในการเพาะปลูกไม่นาน
เป็นการเพิ่มรายได้หลังสิ้นฤดูนาปี"
"วิสาหกิจชุมชนกลุ่มการเกษตรทุ่งกุลาสมาร์ทฟาร์ม" กลุ่มมีการส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกพืชฤดูแล้ง เพื่อสร้างรายได้หลังฤดูการทำนาในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ถั่วลิสงนับเป็นพืชที่สามารถปรับปรุงบำรุงดินได้ และยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่เพียงพอ สืบเนื่องมาจากผลผลิตต่อไร่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขาดการพัฒนาพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ดังนั้นการส่งเสริมปลูกแบบวิจัยแบบมีส่วนร่วมจะช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตของถั่วลิสงได้

ทั้งสำรวจพื้นที่ ให้คำปรึกษา หาเมล็ดพันธุ์ถั่วให้
แถมรับซื้อคืนแบบประกันราคาด้วย"
อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เกษตรกรปลูกข้าวนาปีเป็นอาชีพหลัก ซึ่งมีพื้นที่ปลูกกว่า 400,000 ไร่ หลังฤดูทำนาเกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ เพราะน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก แต่สำหรับถั่วลิสงนั้น การใช้น้ำใต้ดินและใช้ปอในการกักเก็บน้ำ สามารถทำได้ เพราะถั่วลิสงเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย การดำเนินงานของกลุ่มคือจะมีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตทั้งหมด และทำสัญญารับซื้อคืน มีการประกันราคารับซื้อ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.สำรวจพื้นที่ และดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการให้เกษตรกรรับทราบ
2.แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ และปัจจัยการผลิต พร้อมทั้งจัดอบรมขั้นตอนการปลูก การดูแลรักษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนในชุมชน
3.จัดทำแปลงต้นแบบ และออกตรวจเยี่ยมแปลงของเกษตรกรตลอดฤดูการปลูก เพื่อบันทึกข้อมูลแปลงและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
4.จัดประชุมวันรับซื้อ ตรวจสอบมาตรฐานผลผลิตก่อนการรับซื้อ
5.รับซื้อผลผลิตคืนจากเกษตรกร
6.ประชุมเพื่อวางแนวทาง และเป้าหมายต่อไปหลังจากรับซื้อ
มีการจัดตั้งศูนย์บริการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มในทุกตำบลของอำเภอเกษตรวิสัยเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และ ถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นศูนย์การบริการกลุ่มครบวงจร โดยให้มีหัวหน้าศูนย์ประสานงานกลุ่ม และจัดทำมาตรฐานการรับซื้อผลผลิตเกษตรทุกพืชส่งเสริม เช่น ถั่วลิสง มาตรฐานการรับซื้อถั่วลิสงเกรด A สิ่งเจือปนไม่เกิน 3% ความชื้นไม่เกิน 9% เปอร์เซ็นต์การกะเทาะ 65% ความบริสุทธิ์พันธุ์ 95% เป็นต้น

นอกจากนี้ยังสามารถให้ปุ๋ยไปในระบบน้ำหยดได้อีกด้วย"
"เทคนิค นวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาปรับใช้ เพื่อลดต้นทุนเพิ่มผลผลิต"
1.เทคโนโลยีระบบน้ำในพื้นที่ทุ่งกุลา
ในพื้นที่ทุ่งกุลาโดยเฉพาะอำเภอเกษตรวิสัย ขาดระบบชลประทานในการทำการเกษตร ทำให้ต้นทุนน้ำ ไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรของเกษตรกร การชลประทานสมัยใหม่ เช่น การใช้ระบบฉีดฝอยหรือการให้น้ำแบบน้ำหยดโดยอาศัยน้ำบาดาล หรือบ่อเก็บกักน้ำ สามารถเพิ่มพื้นที่ปลูกพืชนอกเขตชลประทานได้ การปลูกพืชฤดูแล้งจำเป็นต้องมีการวางแผนจัดการน้ำให้ถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการผลิตพืช โดยเฉพาะวิธีการแบบน้ำหยด เป็นวิธีการให้น้ำซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีประสิทธิภาพการให้น้ำสูงคือ ผันแปรระหว่างร้อยละ 90-100 การนำน้ำหยดมาใช้ในกลุ่มเป็นการผลิตเพื่องานวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยทดลองครั้งแรกในถั่วลิสงเขตเกษตรวิสัยที่ศูนย์บริการกลุ่มตำบลเหล่าหลวง นอกจากนี้น้ำหยดสามารถให้ปุ๋ยทางน้ำได้ด้วย ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงตรงเขตรากพืช และใช้ปริมาณปุ๋ยตามที่พืชต้องการได้ การติดตั้งเทนซิโอมิเตอร์ในแปลงผลิตพืชจะช่วยให้ทราบถึงระยะเวลาความต้องการของพืชและระยะเวลาการให้น้ำในพืช ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำได้

หรือกล่าวได้ว่าเป็นโรงงานผลิตปุ๋ยไนโตรเจนใส่ลงไปในดินนั่นเอง "
2.ส่งเสริมพืชปรับปรุงดิน
พื้นที่อำเภอเกษตรวิสัยเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมทานาปีแต่เพียงอย่างเดียวซึ่งมีพื้นที่นามากกว่า 400,000 ไร่ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ทั้งธาตุอาหารและอินทรียวัตถุ การส่งเสริมการปลูกพืชตระกูลถั่วจะช่วยให้ดินมีธาตุอาหารไนโตรเจน ซึ่งได้จากไรโซเบียมที่อาศัยอยู่ในปมรากของถั่วลิสง ทำให้พืชที่ปลูกหลังการปลูกถั่วลิสงได้รับธาตุตัวนี้ด้วย และกลุ่มยังมีแผนส่งเสริมพืชอื่น ๆ ที่สามารถทำให้ดินมีธาตุอาหารอื่นๆ เช่น งา ถั่วเหลือง เป็นต้น
3.การผสมปุ๋ยเคมีใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
แนวทางการผลิตพืชที่ใช้เคมีร่วมกับอินทรีย์นับเป็นการทำเกษตรที่ตอบโจทย์ในพื้นที่ทุ่งกุลา เนื่องจากดินขาดธาตุอาหารทั้งธาตุหลักและธาตุเสริม ปุ๋ยเคมีที่ผสมโดยอาศัยแม่ปุ๋ยจะสามารถให้ธาตุอาหารตรงกับชนิดพืชที่ปลูก เช่น ถั่วลิสงในพื้นที่ทุ่งกุลาต้องการธาตุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพรแตสเซียม ในอัตรา 3:9:12 กิโลกรัมต่อไร่ เราสามารถใช้แม่ปุ๋ยผสมใช้เอง จะช่วยลดต้นทุนปุ๋ยเคมีมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ และควรใช้ร่วมกับการใช้โดโลไมท์ในการเตรียมดิน ใช้ยิปซั่มในการเพิ่มผลผลิตในดินทราย และใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ธาตุเสริม สามารถสร้างอินทรียวัตถุในดินได้ การใช้ปุ๋ยร่วมกันทั้งสองอย่างจะส่งเสริมให้ดินอุดมสมบูรณ์และช่วยให้ดินเหมาะสมกับการดูดใช้ธาตุอาหารในพืชได้

4.การใช้เครื่องหยอดเมล็ดปลูกพืช
เกษตรกรในอำเภอเกษตรวิสัย ใช้แรงงานคนและเครื่องหยอดพ่วงแทรคเตอร์เป็นจำนวนมากในการปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว ซึ่งเครื่องดังกล่าวสามารถปรับมาใช้หยอดเมล็ดอื่นๆได้ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น ทางกลุ่มได้สนับสนุนเครื่องหยอดเมล็ดกึ่งอัตโนมัติในการปลูกที่ตำบลน้ำอ้อม ซึ่งเกษตรกรให้ความสนใจและสามารถลดต้นทุนแรงงาน เวลา และยังสามารถใช้ส่งเสริมพืชอื่นๆได้
5.เทคนิคทำแล้งแกล้งถั่วลิสง
การลดจำนวนการให้น้ำในช่วงแรก ของการเจริญเติบโตของถั่วลิสง จะทำให้ถั่วลิสงมีข้อปล้องถี่ขึ้น สามารถลงเข็มได้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นเทคนิคที่ได้ทดลองวิจัยและเรียนรู้จากเกษตรกรผู้ปลูกถั่วลิสง และได้ถ่ายทอดให้เกษตรกร เทคนิคนี้สามารถลดต้นทุนน้ำ และเพิ่มผลผลิตได้

"ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากทุ่งกุลาลั้ลลา"
1.เมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง นับเป็นการสร้างรายได้ในชุมชนได้เป็นอย่างดี จากปัญหาเรื่องทุนของกลุ่มที่ไม่ สามารถซื้อเครื่องกะเทาะเปลือกถั่วลิสงได้ กลุ่มจึงมีแนวคิดจ้างกะเทาะโดยใช้แรงงานในชุมชน ให้คนในชุมชน สามารถนำกลับไปกะเทาะที่บ้านและนำมาส่งที่กลุ่ม ปัจจุบันกลุ่มมีพันธุ์ถั่วลิสงที่มีศักยภาพในพื้นที่มากกว่า 10 พันธุ์โดยการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทดสอบพันธุ์
2.ถั่วลิสงคั่วทราย คั่วทั้งฝัก
3.ถั่วลิสงคั่วเกลือ ใช้เมล็ดคั่ว
4.ถั่วกรอบแก้ว

ซูโม่ แฟมิลี่ การรวมกลุ่มจากกลุ่มคนเล็กๆ ที่ต้องมีเป้าหมายชัดเจนร่วมกัน และเข้มแข็ง
กลายเป็นครอบครัว"
"ซูโม่ แฟมิลี่" แบรนด์ที่สร้างความแข็งแกร่งให้กลุ่ม
นับเป็นความโชคดีที่เกิดบนผืนแผ่นดินทุ่งกุลาร้องไห้ ที่มีความพิเศษ ทำให้สามารถนำความพิเศษดังกล่าวมาใช้ได้ เช่นการเปลี่ยนจากกุลาร้องไห้ มาเป็นทุ่งกุลาลั้ลลา เพียงแค่การร่วมกันสร้างหรือปลูกพืชสีเขียว ปลูกพืชปรับปรุงบำรุงดิน จากการลงพื้นที่เรียนรู้แลกเปลี่ยนกับกลุ่มเกษตรกรหลายๆกลุ่มทำให้ทราบถึงปัญหาการสร้างสิ่งที่ทำให้คนจดจำหรือสามารถบอกได้ว่านี่คือผลผลิตเพื่อผลผลิตภัณฑ์ใด การสร้างแบนรนด์จึงต้องมีชื่ออีกทั้งมีเรื่องราวและรูปลักษณ์ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มทุกกลุ่ม รูปการ์ตูนจะสามารถสื่อสารได้ทุกกลุ่ม มากกว่าสัญลักษณ์อื่นๆ จึงให้เลือกรูป "ซูโม่" ซึ่งสามารถให้ความหมายและเข้าถึงได้ง่าย กล่าวคือ ซูโม่เป็นนักกีฬาที่มีความแข็งแรง ตัวใหญ่ แต่สวมใส่ผ้าน้อยชิ้น นั่นคือ เปรียบการรวมกลุ่มจากกลุ่มคนเล็กๆ ที่ต้องมีเป้าหมายชัดเจนร่วมกัน ทำให้เข้าใจกันง่าย และมีกลุ่มที่เข้มแข็ง นั่นคือชื่อสื่อความหมาย และจดจำง่าย จากนั้นจะทำอย่างไรให้โลโก้เข้าถึงกลุ่มคนทุกกลุ่ม จึงออกแบบให้เป็นซูโม่เด็กที่มีรอยยิ้ม มีทรงผมที่ทันสมัย จดจำได้ง่ายขึ้นและเพิ่มคำว่า แฟมิลี่ (ครอบครัว) เข้าไปต่อท้าย จนได้แบรนด์ "ซูโม่ แฟมิลี่" ดังกล่าว

โดยเฉพาะคนไทย ที่นิยมนำถั่วลิสงไปทำอาหารได้ทั้งคาวหวาน"
จากการทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรทางภาคอีสานกว่า 15 ปี ถามถึงบทบาทของคนในชุมชนที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงคนและชุมชนได้อย่างยั่งยืนถือเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งองค์ความรู้ ภูมิปัญญา และความร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่สำคัญในบทบาทที่จะช่วยทำให้มีระยะเวลาที่สั้นลงและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม คือ "การเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อน" การเป็นคนต้นแบบที่ต้องมานะ อดทน คำถามคือเราต้องการเปลี่ยนไปในทิศทางใด การตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ทำอยู่ ณ ปัจจุบัน มีเป้าหมายที่สำคัญที่จะเปลี่ยนทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นทุ่งกุลาลั้ลลา โดยมีแค่รอยยิ้มและความภูมิใจในอาชีพเกษตรกรเป็นเป้าหมายสูงสุด เกษตรกรจะภูมิใจก็ต่อเมื่อประสบผลสาเร็จในการปลูกพืชชนิดนั้น ๆ ทางกลุ่มเน้นความสำเร็จมากกว่าการเพิ่มพื้นที่ปลูก โดยสร้างแหล่งเรียนรู้ร่วมกันก่อน เน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญกับปราชญ์ชาวบ้าน และสร้างยุวเกษตรในชุมชนให้ทราบและรักในการทำเกษตร โดยมีต้นแบบที่เรียกว่า "ทุ่งกุลาสมาร์ทฟาร์มโมเดลดังนี้"
1. สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพและไม่สร้างภาระค่าใช้จ่าย
เกษตรในภาคอีสานทำการเกษตรเริ่มจากทุนน้อยเกือบทุกครัวเรือน ทำให้ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการซื้อปัจจัยการผลิต ทางกลุ่มได้ให้ยืมเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง 30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวต้องคืนให้กลุ่ม เท่ากับที่ยืมไปคือ 30 กิโลกรัม ผลผลิตที่เหลือทางกลุ่มรับซื้อคืนทั้งหมดในราคาที่ตกลงกันก่อนปลูก และเกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงปลูกต่อได้โดยไม่ต้องซื้อหรือยืมจากกลุ่มอีกเลย เพราะถั่วลิสงเป็นพืชผสมตัวเองสามารถปลูกขยายพันธุ์ต่อไปได้อีกโดยไม่กลายพันธุ์ อีกทั้งกลุ่มจัดหาปัจจัยที่ต้องใช้ในการผลิตถั่วลิสงที่มีคุณภาพ และสร้างเครือข่ายผู้ผลิตปัจจัยผลิตเพื่อแลกเปลี่ยนกันเองโดยไม่ต้องซื้อจากแหล่งอื่นๆ ส่งเสริมการปลูกโดยยุทธศาสตร์ "ป่าล้อมเมือง"
2.ร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยน
กลุ่มจะจัดตั้งศูนย์บริการกลุ่มประจำตำบลทุกตำบลในอำเภอเกษตรวิสัยเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตถั่วลิสงโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และเทคนิคการเพิ่มผลผลิตโดยกลุ่มจะเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนา ทำแปลงต้นแบบทุกศูนย์ และเป็นจุดรวบรวมผลผลิตต่างๆ เพื่อให้สะดวกต่อการติดต่อประสานงาน และเน้นงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม สนับสนุนทุนการศึกษาและรับนิสิตนักศึกษาทำวิจัยร่วมกับกลุ่ม โดยสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนงบหรือวัสดุอุปกรณ์ในการทำวิจัย
3.การตลาดเพื่อกลุ่ม
รับซื้อคืนผลผลิตจากพืชส่งเสริมและจัดหาตลาดให้กลุ่มโดยอาศัยพันธมิตรทางธุรกิจ สร้างความหลากหลายของผลิตภัณฑ์แล้วจัดจำหน่ายในชุมชนผู้ปลูกถั่วลิสง เพื่อให้เกิดความภูมิใจและเกิดรายได้หมุนเวียนกลับไปยังชุมชน
4.การตลาดและแปรรูปผลิตภัณฑ์
ทำการตลาดที่สวนทางกับงานส่งเสริม คือทำตลาดแบบ "ผึ้งแตกรัง" โดยขายในชุนชนเมืองก่อนเพราะกำลังซื้อที่สูง และจัดจำหน่ายสินค้าที่ขายง่ายก่อน หรือมีตลาดอยู่แล้ว เช่น ถั่วคั่วทราย แต่กลุ่มต้องทำคุณภาพให้ดีกว่าเจ้าตลาดเดิม และจำหน่ายตรงโดยเดินขายในตลาดสด เพื่อให้คนได้ชิมในรสชาติ และทราบถึงคุณภาพที่แตกต่างจากเจ้าอื่น ๆ และผลิตเท่าที่ผลิตได้ ไม่เพิ่มเติม ทำให้คนถามหา และจดจำเราได้มากขึ้น ก่อนจะขยายการผลิต และขายส่วนชุมชนรอบนอก
5.สร้างรายได้และคืนกำไร
ข้อนี้นับเป็นแนวคิดที่จะให้เกษตรกรสามารถมีรายได้และเกิดความภูมิใจในวัตถุดิบที่ตัวเองเป็นคนปลูก กล่าวคือ เกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงทุกคนถือเป็นเจ้าของกิจการร่วม มีสิทธิได้ปันผลกาไรเมื่อทางกลุ่มได้แปรรูปจากวัตถุดิบที่เกษตรกรจำหน่ายให้กลุ่มโดยคิดตามจานวนที่ได้ผลผลิตมาคิดปันผลคืนเกษตรกร และสามารถเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากกลุ่มในชุมชน
จากโมเดลจะเห็นได้ว่า การขับเคลื่อนกลุ่มอาศัยคนในทุกภาคส่วนและอาศัยการเปลี่ยน "ความเชื่อ" ที่เป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการเปลี่ยนแปลง

กลุ่มมีแผนแม่บท (Master plan) 5 ปีไว้ เพื่อให้เดินทางได้ง่ายขึ้นและตามเป้าหมายไปทีละอย่าง เพราะเหตุผลเรื่อง "ทุน" แต่กลุ่มยึดถือค่านิยมว่า "ทำอะไรเล็กๆ ในทุกๆวัน ที่มีทิศทางไปในเป้าหมาย" วันนี้อาจจะยังไม่เห็นผล แต่ในระยะยาวหรือตามระยะเวลาที่วางกรอบไว้คงช่วยให้ชุมชนเปลี่ยนแปลงได้พอสมควร ที่เลือกพืชตระกูลถั่ว เพราะเรามีบุคลากรที่เชียวชาญและมีประสบการณ์ในพืชตัวนี้ก่อน จึงเริ่มโครงการก่อน โดยในอนาคตกลุ่มมีแผนจะทำ พืชอาหารสัตว์ เช่น หญ้าหมักในการเลี้ยงโค โรงเรือนปลูกพืชต้นทุนต่ำโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ในชุนชน ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจากผลพลอยได้จากการผลิตถั่วลิสง และเป้าหมายสูงสุดคือผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นของฝากจากทุ่งกุลา โดยเน้นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด เช่น "อัลมอนด์ทุ่งกุลา" (เมล็ดกระบก) ซึ่งกระบกเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มจะยกระดับเป็นสินค้าพรีเมี่ยมที่มีการผลิตแบบโบราณ แต่มีแพ็คเก็ตที่สามารถสร้างมูลค่าและเข้าสู่ตลาดโมเดิลเทรดให้ได้ (อยู่ระหว่างทดลองผลิตภัณฑ์) ร่วมกับข้าวหอมมะลิที่ผลิตในพื้นที่ทุ่งกุลาที่ถือว่าเป็นพืช GI และถั่วลิสง และพืชส่งเสริมอื่นๆ เป็นสินค้าที่ทุกคนมาเยือนต้องซื้อกลับไปเป็นของฝาก ความสำคัญดังกล่าวจะช่วยสร้างรายได้และสร้างความมั่นคงทางวัตถุดิบของกลุ่ม และสร้างความเป็นเกษตรกรทุ่งกุลายุคใหม่ที่สามารถเกิดความภาคภูมิใจในแผ่นดินเกิดแห่งนี้
นายชยพล สุ่ยหล้า
54 หมู่ 15 ต.เกษตรวิสัย อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด 45150