
จุดเริ่มต้น...ในการทำอาชีพเกษตรกร ของกนกวรรณ เกษตรกรสาวสวยแห่งเมืองราชบุรี เกิดจากแรงบันดาลใจรอบด้าน แรงบันดาลใจที่เกิดจากคนในครอบครัว คนรอบข้างและแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้มายืนในจุดนี้ได้คือ แนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 และนี่คือจุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิต จากเดิมที่เป็นพนังานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้หันกลับมาทำอาชีพเกษตรกรแบบพอเพียงอย่างเต็มตัว โดยใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เดินตามรอยเท้าพ่อ เพื่อสานต่อความตั้งใจจาก "รุ่นพ่อ สู่รุ่นลูก" และพัฒนาจนกลายมาเป็น การเกษตรแบบผสมผสาน ที่ผ่านทั้งกระบวนการ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไข ทำให้เกิดการพัฒนามาเป็น "การเกษตรแบบครบวงจร" ภายใต้ชื่อ "สุดปราย..ที่สวน..สุขจรัล" จากเดิมที่พ่อได้ทำการเกษตรในแบบลองผิดลองถูก ใช้สารเคมีต่าง ๆ ปัจจุบันได้หันมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และยังได้พัฒนามาเป็นศูนย์เรียนรู้ทางด้านการเกษตรแบบครบวงจร เพื่อส่งต่อองค์ความรู้กับชุมชนและผู้ที่สนใจ และยังมีการวางแผน ว่าจะเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบพอเพียง จะทำให้ทุก ๆ คนที่มาเยือนได้รับความรู้และความสุขกลับไป เพื่อส่งต่อชีวิตแบบพอเพียงให้กับสังคม

จรัล คือชื่อคุณพ่อ จึงกลายเป็นที่มาของชื่อพื้นที่แห่งนี้"
"การจัดสรรพื้นที่เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด"
"สุดปราย..ที่สวน..สุขจรัล" มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วนหลัก ๆ เพื่อที่จะให้มีผลผลิตออกเป็น รายวัน รายเดือนและรายปี โดยมีการแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนี้
- ส่วนที่ 1 ที่อยู่อาศัย 10 %
- ส่วนที่ 2 พื้นที่ทำประมง (ปลา-กุ้ง) 20 %
- ส่วนที่ 3 พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น (มะม่วง) 10 %
- ส่วนที่ 4 พื้นที่ปลูกพืช-ผักต่าง ๆ (บวบ ถั่วฝักยาว แตงกวา พริก มะเขือ มะนาว) 20 %
- ส่วนที่ 5 พื้นที่เลี้ยงสัตว์ (ไก่ไข่-เป็ด) 10 %
- ส่วนที่ 6 พื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ (ปุ๋ยอินทรีย์ พันธุ์ไม้ ห้องประชุม อื่น ๆ ) 30 %
พื้นที่ทั้งหมดถูกจัดสรรให้อยู่โดยรอบบริเวณตัวบ้าน จึงทำให้ง่ายต่อการทำงาน เปรียบเสมือนมีออฟฟิตใกล้บ้าน และมีพนักงานเป็นคนในครอบครัว ทำให้เกิดการ "พึ่งพาตนเอง" เมื่อใดที่เราสามารถพึ่งพาตนเองได้ เมื่อนั้นเราจึงพร้อมที่จะสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้เช่นกัน

เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบผสมผสาน
เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงตำบลดอนคา
คือบ้านที่ใช้ศาสตร์ของพระราชา เพื่อส่งต่อความตั้งใจจากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก"
สิ่งสำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกร คือ ต้องมีใจรัก มีความมุ่งมั่น ขยันและอดทน โดยไม่หยุดที่จะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เนื่องจากการทำอาชีพเกษตรกร จะต้องนำความรู้ทางด้านศาสตร์ต่าง ๆ มาประยุกษ์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือด้านบริหารจัดการและการตลาด เป็นต้น
หลักการทำการเกษตร ของ "สุดปราย..ที่สวน..สุขจรัล" มี 5 ข้อดังนี้
1. เน้นปลูกน้อย แต่ ได้กำไรมาก
2. ลดต้นทุน แต่ เพิ่มผลผลิต
3. ทำหลายๆ อย่าง แต่ เชื่อมโยงกันได้
4. ส่วนหนึ่งไว้กิน อีก ส่วนหนึ่งไว้ขาย
5. ใช้ชีวิตแบบ เศรษฐกิจ พอเพียง

แต่จงใช้อินทรีย์เพื่อรักษาธรรมชาติ
มะม่วงที่นี่ จึงอร่อยและปลอดภัยทุกลูก"
"ผลผลิต และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ของ สวนสุขจรัล"
ผลผลิตทางการเกษตร
1. ผลไม้ ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว กล้วย ส้มโอ โดยมีผลผลิตหลักคือมะม่วง ทั้งรสเปรี้ยว หวาน มัน และรับประทานทั้งแบบสุกและดิบ
2. พืช – ผัก ได้แก่ มะเขือ มะนาว มะละกอ พริก บวบ ถั่วฝักยาว โหระพา แตงกวา ผักบุ้ง ผักกาดหอม ผักสลัด ข้าวโพด เห็ด ฟักแฟง น้ำเต้า
3. สัตว์ ได้แก่ ไข่ไก่ ปลา กุ้ง
4. ปุ๋ย ได้แก่ ปุ่ยอินทรีย์/ปุ๋ยไส้เดือน/น้ำหมักชีวภาพ/ฮอร์โมนปลา/สมุนไพรไล่แมลง
5. ต้นไม้ ได้แก่ ต้นมะม่วงและไม้ดอก-ไม้ประดับต่างๆ

สด ใหม่ สะอาด ปลอดภัย ต้องที่สุขจรัล"
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลิตทางการเกษตร
1. มะม่วง : สดใส่บรรจุภัณฑ์แบบกล่อง/มะม่วงกวน/แช่อิ่ม/ข้าวเหนียวมะม่วง/มะม่วงน้ำปลาหวาน
2. ปุ๋ย : ปุ๋ยที่มาจากมูลสัตว์ต่างๆใส่แบบถุงขนาดต่างๆ เล็ก กลาง ใหญ่ สำหรับลูกค้ารายย่อยและแบบกระสอบสำหรับเกษตรกรรายใหญ่
3. น้ำหมัก : น้ำหมักชีวภาพที่มาจากพืชผักและเศษอาหารที่หมักและกลั่นหัวเชื้อใส่บรรจุภัณฑ์แบบขวด
4. กุ้ง - ปลา มีการแพ็คซีลสูญญากาศเป็นชุดๆในรูปแบบต่างๆเพื่อให้สินค้าคงสภาพได้นานขึ้น และสามารถจัดจำหน่ายได้เองอย่างสะดวกและง่ายดาย
5. พืช - ผัก มีการจัดเป็นชุดๆเพื่อสร้างความแตกต่างและสะดวกในการจับจ่ายใช้สอยกับลูกค้า แล้วยังมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มาจากพืช-ผักผลไม้ต่างๆมากมาย ที่ดีต่อสุขภาพ

จะเป็นเศรษฐี หรือคนทั่วไป ก็ซื้อได้ในราคาเดียวกัน "
"กลยุทธ์ด้านการตลาด ภายใต้แบรนด์ สุขจรัล"
1. สินค้า มะม่วง (เป็นผลไม้ที่มีความนิยมตลอดทุกยุคทุกสมัย) สุดปรายที่สวนสุขจรัล จึงมีการปลูกมะม่วงไว้หลากหลายสายพันธุ์ ที่มีทั้งมะม่วงแบบรส เปรี้ยว หวาน มัน และรับประทานได้ทั้งแบบดิบและสุก อีกทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากมะม่วงต่าง ๆ อีกมากมาย เพื่อที่จะสามารถ "ตอบสนองความต้องการของลูกค้า" ได้ทุกรูปแบบ "ทุกเพศทุกวัย"
2. ราคา สุขจรัล (Suk Jaran) จะมีการตั้งราคามาตรฐานไว้ โดยจะไม่เปลี่ยนแปลงราคาตามตลาดทั่วไป คือ กิโลกรัมละ 60 บาท หรือ กล่องละ 300 บาท เป็นต้น ซึ่งผลของราคาจะคำนึงถึงกำลังซื้อของลูกค้าเป็นหลัก โดยมีค่าเฉลี่ยจากสมการ...ต้นทุน + กำไร = ราคา (ที่ไม่เกินค่าแรงขั้นต่ำ) เมื่อลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าเราได้ทุกคน ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจ หมุนเวียนคล่องตัว ได้ดีขึ้นด้วย
3. ช่องทางการจัดจำหน่าย สินค้าของสุขจรัล (Suk Jaran) จะจัดจำหน่ายในพื้นที่ สุดปราย ที่สวน สุขจรัล เป็นหลัก แต่ก็ยังมีขายตามตลาดประชารัฐ สินค้าเกษตรกร งาน OTOP เป็นต้น และการใช้สื่อออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการจัดจำหน่าย โดยสามารถที่จะติดต่อสั่งซื้อและสั่งจองได้ง่ายมากขึ้น ทำให้เกิดความสะดวกสบายทั้งผู้ค้าและลูกค้าอีกด้วย
4. การส่งเสริมการขาย มะม่วงของสุขจรัล จะมีการจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ ตามสถานการณ์ เพื่อเร่งยอดการซื้อ-ขาย กระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความต้องการ ความสนใจ และความพึงพอใจได้ทำให้ส่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจด้วย เช่นวันนี้ ซื้อมะม่วงครบ 9 กิโลกรัม แถม 1 กิโลกรัม หรือ มีโปรโมชั่นลด 10 % โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ต่างๆ ผ่านทางหน้างาน และทางสื่อออนไลน์

ความปลอดภัย ความประทับใจ ให้กับทุกๆ คนที่มาเยือน"
"การ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมี ถือเป็นสิ่งที่ดีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เพราะถ้าการใช้สารเคมีมันคือสิ่งอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เราก็ไม่ควรใช้....และเราบอกทุก ๆ คนให้มาเชื่อเรา ว่าให้เลิกใช้สารเคมีไม่ได้ ถ้าเราไม่เริ่มต้นทำก่อน เมื่อเริ่มทำแล้วเห็นผลสำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ครอบครัว ชาวบ้าน คนในชุมชน จะเริ่มเชื่อ เริ่มที่อยากจะทำ และนั่นจะทำให้เราสามารถที่จะบอกชาวบ้าน บอกเกษตรกรด้วยกัน ว่าให้ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีมันดีอย่างไร ทั้งดีต่อสุขภาพเราและครอบครัว ดีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเมื่อธรรมชาติสร้างชีวิต ชีวิตก็ต้องดูแลธรรมชาติ
นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้เราเปลี่ยนแปลงชุมชนให้หันไปทำเกษตรแบบปลอดสารเคมี และอยากเห็นคนในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีหัวใจยึดมั่นในคำว่า "พอเพียง" เพราะเมื่อใดที่คนในชุมชนพึ่งพาตนเองได้ และหัวใจยึดมั่นในคำว่า พอเพียง ทุก ๆ คนในชุมชนจะกลายเป็นผู้แบ่งปันสิ่งต่าง ๆ ที่มีไปสู่สังคม และประเทศเอง เราเชื่อว่า การที่เรา "สอนให้คนรู้จักการเลี้ยงปลาและหาปลาเป็น มันจะดีกว่าการที่เราให้ปลาเขาไปกินฟรีๆ" เพราะการทำแบบนี้จะทำให้คนในชุมชนมีปลากินไปตลอดชีพ และนั่นจะเป็นการพัฒนาชุมชนให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง และยั่งยืน"
นางสาวกนกวรรณ อรุณคีรีวัฒน์
24/3 หมู่ 3 ต.ดอนคา อ.บางแพ จ.ราชบุรี 70160