
นายศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ ประธานชมรมผู้ปลูกมะม่วงเนินมะปรางและผู้ริเริ่มก่อตั้งชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง เกษตรกรที่ใช้ชีวิตชาวสวนมะม่วงควบคู่กับการทำงานราชการครู และวันที่ 19 มีนาคมพ.ศ. 2532 ได้ก่อตั้งชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปรางขึ้น และได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน และใน วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 ก็ได้เกษียณอายุด้วยตนเองมาทำสวนมะม่วงเต็มตัว นายศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ เป็นผู้เริ่มต้นของการคิดตั้งชมรมฯ เดิมเกษตรกรชาวสวนมะม่วงต่างคนต่างทำ ทำให้ผลผลิตไม่มีคุณภาพ และเมื่อมีผลผลิตแล้วต่างคนก็ต่างขาย ทำให้เกิดปัญหาการตัดราคาขายผลผลิต เพื่อให้ของตนเองขายได้ โดยไม่ได้นึกถึงต้นทุนการผลิตและเพื่อนชาวสวนคนอื่น จึงเกิดความเดือดร้อนขึ้น เลยเกิดความคิดขึ้นมาว่า พวกเราชาวสวนน่าจะมีการพูดคุยกันถึงปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย จึงได้รวบรวมชาวสวน และจัดตั้งเป็นชมรมในระบบสหกรณ์ ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 49 คน พื้นที่ปลูกมะม่วง 2,500 ไร่
นายศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ เกิดที่บ้านเลขที่ 114 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร บิดามารดา มีอาชีพทำไร่และรับจ้างส่งสินค้าโดยใช้เกวียนบรรทุกระหว่างบ้านท่าฬ่อ ป่ามะคาบ เนินกุ่ม สามแยกดงหมี และบ้านสากเหล็ก หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้วได้ไปฝึกงานซ่อมรถยนต์ที่อู่เนรมิตรยนต์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ฝึกงานอยู่ 2 ปี ช่วงระยะเวลานั้นจังหวัดนครสวรรค์ขาดแคลนครู จึงเปิดรับผู้ที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บรรจุเข้ารับราชการครู ก็ลองไปสอบแข่งขันกับเขาดูบ้าง โดยพื้นฐานที่เป็นคนเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี จึงสามารถสอบบรรจุเข้ารับราชการครูได้ โดยไปสอนอยู่ที่โรงเรียนวัดวังแรต ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 และได้ย้ายไปอยู่ที่โรงเรียนวัดเกาะแก้วพิสดาร ตำบลห้วยร่วม อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ในปี พ.ศ. 2514 และได้สมรสกับนางอารีย์ ตระกูลทิพย์ ซึ่งรับราชการครูที่โรงเรียนเดียวกัน เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรพิเศษวิชาการศึกษา ( พ.กศ. ) วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม ( พ.ม. ) และวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ได้รับปริญญา ศึกษาศาสตรบัณฑิต วิชาเอก บริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุ่นที่ 1 การศึกษาวิชาครู ตั้งแต่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการนั้นศึกษาด้วยตนเองมาตลอดจนถึงระดับปริญญาตรี และในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทข้าราชการดีเด่น กลุ่มโรงเรียนบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ในปี พ.ศ. 2525 ได้มาซื้อที่ดิน 10 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 4 ตำบลเนินมะปราง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ด้วยใจรักในการเพาะปลูกพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เมื่อมีที่ดินเป็นของตนเองแปลงแรก จึงได้นำพันธุ์มะม่วงที่เพาะจากเมล็ดมาปลูกทิ้งไว้ และให้ชาวบ้านในระแวกนั้นทำการปลูกพืชไร่ คือถั่ว ข้าวโพด และให้ช่วยดูแลรักษามะม่วงที่ปลูกไว้ให้ด้วยในช่วงเวลาที่ยังรับราชการครูอยู่ที่ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2529 จึงได้ย้ายมาอยู่ที่โรงเรียนบ้านวังขวัญ ตำบลวังโพรง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ทั้ง 2 คน ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2530 ได้เริ่มปลูกมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ เบอร์ 4 เขียวเสวย ฟ้าลั่น เพชรบ้านลาด อย่างเป็นสัดส่วน ระยะปลูก 5 X 5 เมตร (ปลูกระยะชิด เพราะมีพื้นที่ค่อนข้างน้อย และยังเป็นเนินสูง ดินลูกรัง) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ได้ใช้ชีวิตชาวสวนมะม่วงควบคู่กับการทำงานราชการครูในปัจจุบัน วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2532 ได้ก่อตั้งชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปรางขึ้น และได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน และใน วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2547 ก็ได้เกษียณอายุด้วยตนเองมาทำสวนมะม่วงเต็มตัว
สวนมะม่วง อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ ปัจจุบันปลูกมะม่วงในพื้นที่ทั้งหมด 45 ไร่ ได้รับผลผลิตแล้ว 33 ไร่
-พันธุ์น้ำดอกไม้ เบอร์ 4 7 ไร่
-พันธุ์ฟ้าลั่น 10 ไร่
-พันธุ์เพชรบ้านลาด 6 ไร่
-พันธุ์เขียวเสวย 2 ไร่
-พันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง 8 ไร่
รวมผลผลิตโดยรวมประมาณ 49 ตัน

เทคนิคทำมะม่วงให้ดกโดยการใช้แมลงวัน
อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์ ใช้วิธีการอาศัยธรรมชาติของแมลงมาช่วยในการผสมเกสรมะม่วง โดยจะสังเกตว่าในช่วงเวลาที่มะม่วงเริ่มออกช่อบานจะไม่มีแมลงในสวนหรือหากมีแมลงก็มีน้อยมากซึ่งจะไม่พอในการผสมเกสรมะม่วง เนื่องจากในบริเวณสวนของคุณศิลป์ชัยมีพื้นที่สวนมะม่วงอยู่จำนวนมาก ดังนั้นแมลงก็จะบินกระจายไปทั่ว ทางแก้ปัญหาของอาจารย์ศิลป์ชัย ก็คือการเทคนิคทำมะม่วงให้ดกโดยการใช้แมลงวันนั่นเอง
มีวัตถุดิบ ดังนี้
1.)ปลาสด (ปลาชนิดใดก็ได้ คุณศิลป์ชัยใช้เป็นปลาน้ำจืด ไม่กำหนดชนิดปลา ส่วนใหญ่จะใช้เป็นปลารวมตัวเล็ก กรณีพื้นที่ใดที่หายาก อาจจะใช้ส่วนหัวปลา ไส้ปลา จากร้านค้าในตลาดที่เค้าตัดทิ้งแล้วก็ได้ แต่จะได้ผลไม่ดีเท่าปลารวมตัวเล็ก )
2. )ถุงหิ้วพลาสติก ขนาด 5*7
วิธีการทำ
1.)นำปลาสดรวมมาใส่ถุงหิ้ว ประมาณ 2 ทัพพีต่อ 1 ถุง
2.)นำถุงที่ใส่ปลาไว้แล้วไปแขวนตามกิ่งต้นมะม่วง ไม่ต้องมัดปากถุง โดยแขวนไว้ ต้นละ 2 ถุง (กรณีหาวัตถุดิบยากให้ใช้ต้นละ 1 ถุง)
3.)ระหว่างที่เรานำปลามาแขวนก็จะมีแมลงวันตามเข้ามาในสวนมะม่วงอยู่แล้ว แต่เราสามารถแขวนถุงนี้ไว้ได้จนถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เลย เนื่องจากเมื่อปลาเน่าจะเกิดแมลงวันยิ่งเยอะ ยิ่งดี เพราะเป็นตัวล่อในการช่วยผสมเกสรทำให้ได้มะม่วงดกมากขึ้น
รางวัลที่ 1 เกษตรกรดีเด่นสาขา อาชีพทำสวน ภาคเหนือ จากสำนักเกษตรจังหวัดพิษณุโลก ปี2549
-รางวัลที่ 2 เกษตรกรดีเด่นสาขา อาชีพทำสวน ภาคเหนือ จากสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการเกษตร ปี2550
-เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2551 จังหวัดพิษณุโลก
-ประธานชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง
-เหรัญญิกสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
-ประธานกลุ่มเครือข่ายภาคเหนือตอนล่างสมาคมชาวสวนมะม่วงไทย
-ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา
-ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอื่นๆอนุกรรมการ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2
-กรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรเนินมะปราง
-กรรมการผู้ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระดับอำเภอ
-คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดพิษณุโลก

694 ม.4 ต.เนินมะปราง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก 65190