
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟบางขอน หมู่ 7 ต.ห้วยชมภู อ.เมือง จ.เชียงราย มีสมาชิก 7 ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า 2,000 ไร่ ผลผลิตทั้งหมดประมาณ 250,000-300,000 กิโลกรัม (กาแฟกะลา) ถือได้ว่าเป็นกลุ่มกาแฟกลุ่มใหม่อีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้บริโภคกาแฟรู้จักในรสชาติที่คงที่และเข้มข้นได้มาตรฐาน ซึ่งกาแฟปางขอนเริ่มขึ้นพร้อม ๆ กาแฟดอยช้าง ในปี 2526 แต่ด้วยความที่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าทำให้การพัฒนากาแฟเป็นด้วยความล่าช้า ซึ่งอดีตเป็นเพียงการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟทดแทนพืชเสพติดเท่านั้น จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก นายพันธมิตร ดวงตะวันจันทรา ผู้ที่สืบทอดกาแฟบางขอน จนสามารถทำให้กาแฟปางขอนเป็นที่รู้จักกว้างขึ้นทั้งในจังหวัดเชียงราย-เชียงใหม่ และต่างประเทศ
จุดเด่นของกาแฟปางขอน คือ เป็นกาแฟอาราบิก้าที่ปลูกบนพื้นที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,280 เมตร เนื่องจากกาแฟที่มีความสูงได้มาตรฐาน 1,200 เมตรขึ้นไป จะได้กาแฟ ที่มีมาตรฐาน กลิ่นหอม รวมทั้งการแปรรูปกาแฟตามมาตรฐานของกลุ่มวิสาหกิจกาแฟปางขอน (ตั้งแต่การดูแลใส่ปุ๋ยต้นกาแฟปีละ2 ครั้งในช่วงเดือนมิถุนายน และปลายเดือนสิงหาคม จากการเก็บผลผลิตแบบเชอรี่จะคัดเฉพาะผลสีแดงและต้องมีการกะเทาะเปลือกภายใน 24 ชม. จากนั้นสู่กระบวนการให้เป็นแบบกะลาที่มีความชื้นไม่เกิน 14 % หลังจากนั้นเก็บไว้เป็นเวลา 1 ปีจึงจะสามารถนำไปจำหน่ายแบบกะลา หรือแบบคั่ว)
สิ่งสำคัญที่ทำให้กาแฟปางขอนเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้นนั้น เป็นเพราะความร่วมมือของสมาชิกกลุ่ม 7 ครัวเรือนของวิสาหกิจชุมชนกาแฟปางขอนที่ช่วยกันเอาใจใส่ทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อรักษาความเป็นมาตรฐานให้คงที่ ทั้งนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟปางขอนปัจจุบันสามารถส่งกาแฟให้ร้านกาแฟปางขอน (ในโครงการพระราชดำริปางขอน) ในพื้นที่จ.เชียงราย 2 แห่ง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 แห่ง ในอนาคตวางไว้ในการขยายร้านกาแฟปางขอน จำนวนทั้งสิ้น30 แห่งของภาคเหนือตอนบน พร้อมทางกลุ่มจะมีการขยายฐานสมาชิกในการปลูกกาแฟปางขอนให้มากขึ้น

การแปรรูปกาแฟตามมาตรฐานของกลุ่ม
1.เทคนิคการดูแลรักษาต้นกาแฟ ในระยะ 1-2 ปีแรก
-กำจัดวัชพืชการใช้จอบดายหญ้ารอบๆ โคนต้น ซึ่งการดายหญ้านี้จะเป็นการพรวนดินไปในตัว ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เนื่องจากมีผลกระทบต่อสรีรวิทยาการเจริญของต้นกาแฟและอาจมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม
-การคลุมโคน ใช้หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง หรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่น ๆ เช่น ฟางข้าว เปลือกกาแฟ แกลบ กะลากาแฟ คลุมบริเวณโคนต้น การคลุมโคนต้นนี้จะช่วยคุมวัชพืช และรักษาความชื้นให้ต้นกล้ากาแฟ
การใส่ปุ๋ย พอต้นกล้าเริ่มตั้งตัว จะยังไม่ใส่ปุ๋ยจนกว่าจะถึงตอนปลายฤดูฝน (ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม) ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ที่โคนต้นปริมาณเล็กน้อย
-การบังร่มให้ต้นกล้ากาแฟ ต้นกล้ากาแฟที่ปลูกในฤดูฝน ที่อยู่กลางแจ้ง จำเป็นต้องมีการบังร่มให้พ้นฤดูแล้ง ในเดือน มกราคม เมษายน ของปีต่อมา การบังร่มทีมีต้นทุนต่ำ สามารถ ใช้การใบของไม้ไผ่หก หรือ ไผ่ตง มาเสียบกับซีกไม้ไผ่และเสียบบนพื้นดิน โดยเลือกด้านที่ถูกแดดตอนบ่าย การบังร่มนี้จะทำให้อัตรารอดตายมากขึ้น
-การให้น้ำ มีความจำเป็นอย่างมากในช่วงเดือน มกราคม เมษายน ต้นกล้ากาแฟที่ปลูกใหม่ที่อยู่กลางแจ้ง อาจให้สัปดาห์ละ ครั้ง หรือ ให้นำเมื่อเห็นว่าต้นกล้ากาแฟขาดน้ำ (แสดงอาการเหี่ยว)
-การจัดการอื่น ๆ ในขณะที่ต้นกาแฟยังเล็กอยู่ ถ้าเป็นแปลงที่มีแต่กาแฟอย่างเดียว พื้นที่ว่าง ระหว่างต้นและแถวของกาแฟสามารถใช้ปลูกพืชล้มลุกได้ เช่น ข้าวไร่ ผักตระกูลกะหล่ำ ผักกินใบอื่น ๆ รวมทั้งพริก มะเขือและถั่วต่างๆ จากงานวิจัยในสถานีวิจัย พบว่าการปลูกพืชล้มลุกแซมในแปลงกาแฟไม่ได้ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของต้นกาแฟที่มีและไม่มีพืชแซม แตกต่างกัน
หลังจากย้ายต้นกล้าลงดินแล้ว อีก 2 ฤดูฝนก็จะเริ่มให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวได้ สรุปโดยประมาณคือ ต้นกล้ากาแฟจะอยู่ในเรือนเพาะชำ 1-2 ปี และหลังลงแปลงปลูก 2 ปี จึงให้ผลผลิต ตัวอย่างเช่น
-เมล็ดพันธุ์ พ.ย. 48-มี.ค,49 (เดือนที่ 0-4)
-ต้นกล้าในเรือนเพาะชำ มี.ค.49-มิ.ย. 50 (เดือนที่4-15)
-ต้นกล้าในแปลงปลูกมิ.ย.50-ธ.ค.51(เดือนที่ 15-35)
-ออกดอกครั้งแรก ก.พ.- มี.ค. 52 (เดือนที่ 38 )
-เก็บผลผลิตครั้งแรก พ.ย.-ม.ค.52 (หลังเดือนที่ 46)
2. เทคนิคการตัดแต่งกิ่งกาแฟ (ถ้าตัดแต่งดีๆ ต้นกาแฟมีอายุอยู่ได้เป็น 100 ปี)
-การตัดแต่งกิ่ง เป็นกระบวนการบังคับให้ต้นกาแฟที่มีทรงพุ่มตามที่เจ้าของตองการ ในการตัดแต่งต้นกาแฟอราบิก้านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ ควบคุมทรงต้นและเพื่อบังคับให้ต้นกาแฟออกดอกติดผลให้เหมาะสมกับทรงพุ่มมากที่สุดเนื่องจากกาแฟจออกดอกติดผลที่กิ่งต้นกาแฟมี 3 ลักษณะที่สำคัญดังนี้
-การตัดแต่งหลังการเก็บเกี่ยว เป็นการตัดยอดที่หัก กิ่งหัก จัดทรงพุ่มให้อยู่ในสภาพที่พึงประสงค์ วิธีการตัดแต่งกิ่งมีหลายวิธี ซึ่งผู้ปลูกกาแฟสามารถใช้หลายๆ วิธีในสวนเดียวกันได้ แต่หลักของการตัดแต่งหลักการเก็บเกี่ยว คือการตัดแต่งเพื่อเพิ่มพื้นที่ออกดอกติดผลในฤดูต่อไป หรือปีต่อไป กิ่งที่ควรตัดออกเป็นกิ่งลักษณะดังนี้
-กิ่งแขนงที่ 1 (กิ่งท่ออกมาจากลำต้นหลัก) แต่ถ้าเป็นที่ตายแล้วให้ตัดชิดโคลนกิ่ง แต่ถ้าเป็นกิ่งที่ไม่มีพื้นที่ออกดอกที่ปลายกิ่งแล้ว แต้กิ่งยังเขียวอยู่ ให้ตัดห่างออกจากโคนกิ่งประมาณ 3 นิ้ว โดยให้มีข้อติดอยู่ที่โคนกิ่ง 2-3 ข้อ เพื่อให้แตกกิ่งแขนงที่ 2 (กิ่งที่แตกออกมาจากกิ่งแขนงที่1) ออกมา ซึ่งกิ่งแขนงที่ 2 นี้ จะให้ผลผลิตได้อีก
-หน่อ หน่อคือต้นใหม่ที่ออกจากต้นเดิม สังเกตดูจะเห็นว่าโตขึ้นทางด้านบนเสมอ และมีกิ่งทางด้านข้างหน่ออาจออกที่โคนต้นหรือที่ปลายยอดก็ได้ ถ้าต้นเก่ายังสมบรูณ์ ให้ตัดออกให้หมด แต่ถ้าต้นเก่าเริ่มเสื่อมสภาพ ให้เลี้ยงหน่อที่อยู่สูงจากโคนต้น ไม่มาก (ไม่ควรเกิน 30 เซนติเมตร) เพื่อทดแทนต้นเดิมในปีต่อไป แต่ถ้าต้นเริ่มโทรมและไม่มีหน่อข้าง ให้ใช้เลื่อยบากลำต้นเดิมเข้าไปในเนื้อไม้ประมาณ 1/3 ของลำต้น เพื่อกระตุ้นให้ออกหน่อ ซึ่งหน่อข้างนี้จะมาทดแทนต้นเดิมต่อไป
กิ่งหรือยอดที่ฉีกหักจากการเก็บเกี่ยว ถ้าเป็นกิ่งที่ตายแล้วให้ตัดออกทั้งกิ่ง แต่ถ้ากิ่งนั้นยังแข็งแรงอยู่ ให้ตัดตรงตำแหน่งที่สามารถจะแตกใหม่ได้อีก
-การตัดแต่งอย่างหนักหรือการแต่งสาว เป็นการตัดต้นกาแฟออกทั้งต้น เพื่อให้แตกหน่อใหม่ การตัดแบบนี้อาจจะให้กับแปลงที่เสื่อมสภาพมาก แต่ไม่อยากเสียเวลาใหม่ หรือใช้กับต้นที่มีอาการยอดตายที่เกิดจากแมลงเข้าทำลาย โดยตัดให้เหลือต่อสูงจากพื้นประมาณ 50 เซนติเมตร หลังจากตัดแล้ว จะมีหน่ออกมาตามด้านข้างของตอเลือกเลี้ยงหน่อ 1-3 ต้น ตามความเหมาะสม ตามปกติวงจรการให้ผลผลิตของต้นกาแฟราบิก้า จะให้ผลผลิตสูงสุดตั้งแต่ปีที่ 5 หลังจากปลูกหรือจากตัดแต่งอย่างหนัก หลังจากนั้นผลผลิตจะคงที่จนถึงปีที่ 8 หรือ 9 และจะเริ่มลดลงอีก จะต้องมีการตัดแต่งอย่างหนักเพื่อให้ต้นกาแฟเป็นสาวขึ้นมาอีก
การตัดแต่งอย่างหนักนี้ สามารถทำไปพร้อมกับการตัดแต่งหลังการเก็บเกี่ยวได้ หรืออาจเป็นการตัดทั้งแปลงเพื่อให้เกดแปลงที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตสูงในปีต่อ ๆ ไป แต่เกษตรต้องเข้าใจการตัดแต่งแบบนี้เสียเวลาอย่างน้อย 1 ปีก่อนที่ต้นกาแฟจะออกดอกติดผลอีกครั้งหนึ่ง
-การตัดแต่งในภาวะปกติ ในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นระยะที่ต้นกาแฟมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อาจจะมีหน่อที่ไม่พึ่งประสงค์ มีกิ่งที่ฉีกขาดจากลม จากกิ่งไม้ตกใส่ หรือถูกแมลงทำล้าย ต้องมีการตัดออกไปบ้างเพื่อไม่ให้มาแย่งอาหารจากผลที่กาลังเจริญเติบโต
- รางวัลชนะเลิศการประกวดเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ฤดูกาลผลิตปี 2537/38 (กลุ่มจังหวัดเชียงราย,พะเยา,น่าน,เพชรบูรณ์และตาก)
- เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดปี 2556

162 ม.7 ต.ห้วยชมภู อ.เมือง จ.เชียงราย 57000