เกษตรกรต้นแบบ
"กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวฮางงอกหอมทองสกลทวาปี...แปรรูปข้าวสารและผลิตข้าวฮาง"
คุณอภิญญา กลมเกลียว  จ. สกลนคร ปี 2554

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตข้าวฮางงอกหอมสกลทวาปี เริ่มก่อตั้งกลุ่มเมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยเริ่มแรกมีการจับกลุ่มสมาชิกกันประมาณ 4-5 คนเริ่มจากทำข้าวหอมมะลิ เพียงชนิดเดียว แต่เนื่องจากผู้บริโภคต้องการข้าวที่หลากหลายมากขึ้น ทางกลุ่มจึงเริ่มซื้อข้าวเหนียวดำมาจากชาวบ้านในพื้นที่มาทดลองทำ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมาก และทางประธานกลุ่มต้องการขยายกลุ่มโดยชักชวนคนในหมู่บ้านและญาติที่รู้จักเข้ากลุ่มเพิ่มจนทำให้ในกลุ่มมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 13 คนที่ทำการผลิต ต่อมาทางหน่วยงานเกษตรอำเภอเล็งเห็นถึงความสำคัญในการปลูกข้าวให้หลากหลายสายพันธ์จึงเข้ามาช่วยส่งเสริมและให้ความรู้ในการปลูกให้กับสมาชิกโดยทดลองปลูก 2 สายพันธุ์คือข้าวหอมมะลิแดง และข้าวหอมนิล จำนวน 100 ไร่ และเริ่มขยายจนถึง 3 หมู่บ้าน จนปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูก จำนวน 500 ไร่ และมีพันธ์ข้าวที่ปลูกทั้งหมด 6 ชนิด คือ ข้าวจ้าว ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมนิล ข้าวหอมมะลิแดง ข้าวเหนียวดำและ ข้าวเหนียว กข6 และมีสมาชิกที่ตั้งเป็นกลุ่มปลูกข้าวจำนวน 30 คน และทางกลุ่มผลิตจะเป็นคนรับซื้อข้าวเปลือกโดยให้ราคาที่สูงกว่าโรงสี ทั่วๆไป

หลักคิดและการใช้ชีวิต

...

ความสามารถอันโดดเด่น

กระบวนการผลิตข้าวฮางงอก
วัสดุ / อุปกรณ์
- ข้าวเปลือก พันธุ์หอมมะลิ 105 ,พันธุ์หอมมะลิแดง, พันธุ์หอมนิล และพันธุ์ กข 6
- ถังแช่ข้าวเปลือกขนาดใหญ่
- น้ำสะอาด
- ตะแกรงตากข้าว พร้อมตาข่าย
- เครื่องสีกระเทาะปลือกข้าว
- ถังเก็บข้าวสาร
- ถุงพลาสติกรองกระสอบปุ๋ย
- เครื่องบรรจุระบบสุญญากาศ
- ถุงพลาสติกบรรจุข้าว ขนาด 1 กิโลกรัม
ขั้นตอนการผลิต
1. นำข้าวเปลือกไปล้างคัดแยกเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ออก ข้าวเปลือกที่นำมาแปรรูปเป็นข้าวฮางงอก จะต้องเป็นเมล็ดข้าวพันธุ์ที่สมบูรณ์ เพื่อจะได้คุณภาพของข้าวฮางงอกที่เพาะงอกได้ทุกเมล็ด
2. นำข้าวไปแช่น้ำไว้ประมาณ 48 ชั่วโมง โดยเปลี่ยนน้ำทุก 6 ชั่วโมง
3. นำข้าวเปลือกที่แช่ไปล้างน้ำให้สะอาด การล้างทำความสะอาดเมล็ดข้าวเปลือก ต้องคัดแยกสิ่งปลอมปน และเมล็ดข้าวเปลือกที่ไม่สมบูรณ์ออกให้หมด เพื่อความสะอาด
4. แล้วนำข้าวไปบ่มในโรงบ่ม โดยใช้อุณหภูมิ 60 องศา ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อให้จมูกข้าวงอก ต้องคอยดูการงอกของจมูกข้าว อย่าให้งอกยาวเกิน 0.5 มิลลิเมตร เพื่อจะได้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
5. แล้วนำข้าวเปลือกไปนึ่งเพื่อระงับการเจริญเติบโตของข้าวและช่วยทำลายไข่ตัวมอดในเมล็ดข้าว ใช้เวลาประมาณ 40 นาที
6. จากนั้นนำข้าวที่นึ่งไปตากแดดประมาณ 3 แดด การตากข้าวเปลือกที่นึ่งสุกแล้ว ไม่ควรให้แห้งมาก เพราะเวลานำไปใส่เครื่องกะเทาะเปลือกจะทำให้จมูกข้าวและเมล็ดข้าวหักได้
7. นำข้าวที่ตากแห้งแล้ว ไปสีด้วยเครื่องกะเทาะเปลือก ที่ทำให้จมูกข้าวยังอยู่ ไม่หลุดหายไปกับแกลบ
8. คัดแยกเมล็ดข้าวที่ไม่ได้มาตรฐานและสิ่งปลอมปนออก จะต้องรักษาความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ และสุขอนามัยของผู้ผลิตเป็นพิเศษเพื่อความสะอาด และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
9. จากนั้นนำข้าวสารไปตากแดดให้แห้ง ประมาณ 2 วัน วัดความชื้นให้ได้ 10 %
10. แล้วบรรจุข้าวสารในถุงพลาสติก ด้วยระบบสุญญากาศ โดยมีขนาดตั้งแต่ 0.25, 0.5, 1, 2 กิโลกรัม เพื่อจำหน่ายต่อไป
ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตแปรรูปข้าวเปลือก เป็น “ข้าวฮางงอก” ใช้เวลา ประมาณ 7 วัน จึงจะสามารถนำไปจำหน่ายได้

วิธีการหุง
1. ล้างข้าวฮางล้างด้วยน้ำสะอาด ซาวน้ำเร็วๆ ครั้งเดียวเพื่อไม่ให้วิตามินละลายไปกับน้ำ (ถ้าเป็นข้าวใหม่ไม่ต้องซาวก็ได้)
2. ข้าวฮาง 1 ส่วน น้ำ 3 ส่วนใช้ถ้วยไหนตวงข้าว ก็เอาถ้วยนั้นตวงน้ำ
3. ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที จะได้ข้าวฮางที่หอม นุ่ม มีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน

เกียรติประวัติและผลงาน

1. เกียรติบัตร รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 การประกวดคุณภาพข้าวฮาง งานมหกรรมสินค้าเกษตรปลิดภัยและเกษตรแฟร์นนทรีอีสาน ปี 2554 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
2. เกียรติบัตร เป็นผู้สาธิต เรื่อง “เทคนิคการหุงข้าวฮางให้อร่อยและคุณภาพดี” งานวันเกษตรภาคอีสาน ปี 2555 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในโครงการทำดีทุกวันและสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันขอนแก่น
3. เกียรติบัตร รางวัลที่ 3 ระดับประเทศ ของคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดสกลนคร ปี 2555 เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวพันธุ์หอมแดง ข้าวหอมนิล ของเกษตรต้นแบบ จังหวัดสกลนคร
4. โล่เชิดชูเกียรติวัฒนธรรมสัมพันธ์ ปี 2555 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและวันอนุรักษ์มรดกไทย ของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น
5. โล่รางวัลเกษตรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2555

ข้อมูลการติดต่อ

151 ม.3 บ.โนนกุง ต.เชียงสือ อ.โพนนาแก้ว อ.สกลนคร 47230

เรื่อง/ภาพโดย: ทีมงานรักบ้านเกิด