เกษตรกรต้นแบบ
"ศูนย์วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์(ละโว้ธานี) จ.ลพบุรี...เกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์"
คุณเชาว์วัฒน์ หนูทอง  จ. ลพบุรี ปี 2554

นายเชาว์วัช หนูทอง อดีตอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร เพราะต้องการดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตัวเอง เมื่อเรียนจบวิศวโยธา เขารับราชการเป็นอาจารย์อยู่ 19 ปี แต่ด้วยชีวิตผูกพันกับวิถีชีวิตของการเกษตร ยิ่งการได้ทานอาหารมังสวิรัติตั้งแต่อายุ 19 ปี ทำให้เขาตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีตกค้าง จากการทำเกษตร โดยเฉพาะการทำนาข้าว

หลักคิดและการใช้ชีวิต

คงเป็นเพราะเป็นลูกของชาวนา เขาจึงมีแรงปรารถนา หวังให้คนไทยได้รับประทานข้าวที่ดี ที่ปลอดสารพิษนั่นเอง เป็นสาเหตุของการหันหน้ามาทำนาอินทรีย์ และปลูกผักทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง แต่การทำนาของเขาไม่ธรรมดา เขาต้องปูพรมให้ผืนนาของเขา พรมของเขาเป็นตัวช่วยขจัดวัชพืช และบำรุงดิน โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมี ประหยัด และผลผลิตก็มีปริมาณมาก เขานำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมา ประยุกต์ใช้ในการทำนา สร้างเครื่องดำนา ที่สามารถทำนาคนเดียวได้สบายๆ กว่า 10 ไร่ เขาประดิษฐ์เครื่องอัดก๊าซชีวภาพ เพื่อนำพลังงานที่มีอยู่ มาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เครื่องทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด และเตาน้ำส้มควันไม้ ทั้งหมดนี้ คือเครื่องมือที่สามารถทำเองได้ง่ายๆ และเป็นคำตอบของการพึ่งพาตัวเอง

ความสามารถอันโดดเด่น

ธีการทำนาโยนกล้า ของท่านอาจารย์ เชาว์วัช หนูทอง เครือข่าย กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี มีดังนี้

1. วิธีแช่ข้าวปลูก
- นำเมล็ดข้าวปลูกที่เตรียมไว้มาแช่น้ำ โดยนำเมล็ดที่ลอยน้ำออก(เมล็ดหญ้าและเมล็ดข้าวลีบ)
- นำเมล็ดข้าวปลูกที่ได้มาแช่ เชื้อไตรโครเดอร์ม่า 500 กรัม ผสม ไครโตซานmt 200 ซีซี/น้ำ 100-200 ลิตร เป็นเวลา 20 ชั่วโมง เป็นการป้องกันและกำจัดเชื้อราก่อโรคพืชต่างๆที่ติดมากับเมล็ดข้าว และเป็นการกระตุ้นการงอกให้ต้นกล้างอกออกมาสม่ำเสมอและแข็งแรงมากขึ้น มีระบบรากที่ดี
- จากนั้นขึ้นมาพักหรืออบต่อไปอีก 12 ชั่วโมง

2. นำมาหยดลงถาดเพาะกล้า ดังภาพ
- โดยใช้ดินผสมปุ๋ยหมัก (2:1) รองก้นหลุ่มก่อน
- จากนั้น หยดเมล็ดพันธุ์ข้าว แล้วกลบด้วยดินผสมปุ๋ยหมัก (2:1) อีกครั้ง

3. จากนั้นนามาลงไว้ที่อนุบาลต้นกล้า/บริเวณที่ลานกว้างที่ราบเรียบ แล้วคลุมด้วยกระสอบป่าน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

4. หลังจากปรับปรุงสภาพดิน แล้วทำเถือกตามปกติเสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ถ้าสภาพpH ดินดีอยู่แล้ว(5.8-6.3) และต้องการต้นข้าวที่ไม่ล้มง่ายให้ใช้ภูไมท์-ซัลเฟต หว่านรองพื้น 20 กก./ไร่
- ถ้าต้องการการแตกก่อของข้าวโยนที่ดีให้ใช้แร่ ม้อนท์ฯ หว่านรองพื้น 12.5-25 กก./ไร่

5. จากนั้นนำต้นกล้าที่เพาะไว้ มาโยนได้โดยอายุกล้าที่เหมาะสมของต้นกล้านาโยนอยู่ที่ 15-20 วันหลังเพาะ โดยโยนในอัตรา 70-80 ถาดต่อไร่ (1 ถาดมี 144 หลุม) ดังภาพ
- คนที่จะโยนกล้าจะหยิบกระบะกล้ามาวางพาดบนแขน แล้วใช้มือหยิบกล้าข้าวหว่านหรือโยนในแปลง โดยโยนให้สูงกว่าศรีษะ ต้นกล้าจะพุ่งลงโดยใช้ส่วนรากที่มีดินติดอยู่ลงดินก่อน การหว่านกล้า 1 คน สามารถหว่านได้วันละ 4- 5 ไร่
6. การดูแลรักษาระดับน้ำ วันหว่านกล้าให้มีน้ำในแปลงประมาณ 1 ซม. (ท่วมหลังปู) หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ต้นข้าวตั้งตัวได้แล้ว สามารถเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของต้นข้าว หรือประมาณ 5 ซม. เพื่อการควบคุมวัชพืช

อได้เปรียบของวิธีการโยนกล้าเปรียบเทียบกับการปักดำและหว่านน้ำตม
1. แปลงที่มีลักษณะหล่มก็สามารถเตรียมแปลงเพื่อการหว่านต้นกล้าได้ แต่ไม่สามารถปลูกโดยวิธีการปักดำด้วยเครื่องปักดำได้ เนื่องจากเครื่องจะติดหล่ม
2. ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ (4-5 )กก./ไร่ น้อยกว่า การหว่านน้ำตมและการปักดำ
3. สามารถควบคุมและลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืชได้ดีกว่าการทำนาหว่านน้ำตม
4. ลดการสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวเมื่อเทียบกับการหว่านน้ำตม

ข้อได้เสียเปรียบของวิธีการโยนกล้าเปรียบเทียบกับการหว่านน้ำตม
1. ยุ่งยาก เช่นต้องซื้อถาดเพาะกล้าเป็นต้น
การทำน้ำหมักชีวภาพ ฮอร์โมน ปุ๋ยพืชสด

และสมุนไพรในการไล่แมลงศัตรูพืช

น้ำหมักมูลหมู

วัตถุดิบ

มูลหมู 1 กิโลกรัม

หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1-2 ช้อน

ตาข่ายมุ้ง

วิธีทำ

1. นำตาข่ายมุ้งหุ้มมูลหมู 1 กิโลกรัม แช่ลงไปในถังน้ำที่มีน้ำอยู่ 10 ลิตร

2. เอาหัวเชื้อจุลินทรีย์ใส่ไปในถังหมัก 1-2 ช้อน ซึ่งจะช่วยดับกลิ่น และช่วยในกระบวนการหมัก ทำการแช่ไว้ 1-2 คืน แล้วยกเอาตาข่ายมุ้งที่หุ้มมูลหมูออก เป็นอันเสร็จการผลิตน้ำหมักมูลหมู

วิธีการใช้

ใช้น้ำหมักมูลหมู 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง

ฮอร์โมนไข่

วัตถุดิบ

ไข่ 1 กิโลกรัม

กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม

นมเปรี้ยว 1 ขวด

ลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก

วิธีทำ

1. ให้เอาลูกแป้งข้าวหมากมาบี้ให้ละเอียดในถุง จากนั้นเทใส่ในขวดนมเปรียวที่เทนมออกไปเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ล้นตอนที่ใส่ลูกแป้งข้าวหมากบดละเอียด

2. เขย่าขวดนมเปรี้ยวให้วัตถุดิบเข้ากัน จากนั้นนำมาใส่ในถังที่บรรจุน้ำตาลไว้แล้ว 1 กิโลกรัม

3. คนให้เข้ากัน จากนั้นกะเทาะไข่ 1 กิโลกรัมตามลงไปในถังด้วย เปลือกไข่ให้ขยำหรือทุบให้ละเอียดแล้วใส่ไปในถังหมักด้วย เสร็จแล้วจึงคนให้เข้ากัน ปิดฝาทิ้งไว้ 1 เดือน

วิธีการใช้

นำฮอร์โมนไข่ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

ฮอร์โมนผลไม้

ส่วนประกอบ

ฟักทอง 2 กิโลกรัม

มะละกอ 2 กิโลกรัม

กล้วย 2 กิโลกรัม

จุลินทรีย์ TM 40 ซีซี

กากน้ำตาล 40 ซีซี

น้ำสะอาดเล็กน้อย

วิธีทำ

นำผลไม้ทั้งหมดมาสับหยาบ ใส่ในถัง ตามด้วยส่วนผสมที่เหลือ คนให้เข้ากัน หมักไว้ 8 วัน ทุก 2 วันให้เปิดฝา เก็บได้ 3 เดือน อัตราการใช้ 1 ช้อนต่อน้ำ 5 ลิตร

น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง

วัตถุดิบ

ยาสูบ หัวกรวย บอระเพ็ด หางไหล ขมิ้นชัน ไพล เม็ดมันแกว อย่างละ 4 กิโลกรัม

กากน้ำตาล 8 กิโลกรัม

น้ำหมักจุลินทรีย์ 1-2 ลิตร

วิธีทำ

1. นำสมุนไพรทั้งหมดใส่รวมกันในถัง 200 ลิตร ซึ่งจะได้ค่อนถัง จากนั้นใส่กากน้ำตาลในกระแป๋งแล้ววางลงไว้กลางถัง 200 ลิตร แล้วตามด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์

2. ค่อยๆ เติมน้ำใส่ลงไปในถัง ในขณะที่เติมน้ำใส่ให้คนไปด้วย เมื่อน้ำท่วมสมุนไพรขึ้นมาสูงประมาณคีบกว่าๆ จึงปิดฝาถัง ให้ทำการคนในช่วงเช้าสัปดาห์ละ 3 หน คนเพียงสัปดาห์เดียว แล้วหมักต่อไปจนครบเวลา 2 สัปดาห์ก็สามารถนำไปใช้ได้

วิธีการใช้

ใช้น้ำหมักสมุนไพร 200 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ในช่วงที่ข้าวยังเล็ก

การทำหัวเชื้อไล่แมลงสูตรเข้มข้น (สูตร1)

ส่วนผสม

เหล้าขาว 1 ส่วน

น้ำส้มสายชู 1 ส่วน

การน้ำตาล 1 ส่วน

จุลินทรีย์ TM 1 ส่วน

วิธีทำ

นำส่วนผสมทั้งหมดผสมให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง

อัตราการใช้

1 ช้อนแกงต่อน้ำ 5 ลิตร

การทำหัวเชื้อไล่แมลงสูตรเข้มข้น (สูตร2)

ส่วนผสม

เหล้าขาว 1 ส่วน

น้ำส้มสายชู 1 ส่วน

การน้ำตาล 1 ส่วน

จุลินทรีย์ TM 1 ส่วน

น้ำสะอาด 6 ส่วน

วิธีทำ

นำส่วนผสมทั้งหมดผสมให้เข้ากันทิ้งไว้ 15 วัน

อัตราการใช้

1 ช้อนแกงต่อน้ำ 5 ลิตร

หมายเหตุ

หากให้สารไล่แมลงมีประสิทธิภาพดี ให้นำน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง (จากสมุนไพรพื้นบ้าน) บวกกับหัวเชื้อสารขับไล่แมลง แต่หากเป็นพืชที่อ่อนแอ บอกบางให้ลดอัตราส่วนลง

เกียรติประวัติและผลงาน

-ปราชญ์เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด จังหวัดลพบุรี ประจำปี พ.ศ.2554
-รางวัลคนดีศรีแผ่นดิน จังหวัดลพบุรี ปี พ.ศ.2550
-เจ้าของรางวัลผู้ปิดทองหลังพระ คนค้นคนอวอร์ด ครั้งที่ 4
-ประศูนย์กสิกรรมเกษตรไร้สารพิษละโว้ธานี
-รางวัลเกษตรดีเด่นด้านการทำนาข้าวจังหวัดลพบุรี ประจำปี 2554

เชาว์วัฒน์ หนูทอง
ข้อมูลการติดต่อ

134 ม.2 ต.ท่าวุ้ง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี 15150

เรื่อง/ภาพโดย: ทีมงานรักบ้านเกิด