เกษตรกรต้นแบบ
"ยรรยงค์ ยาดี: แปลงเรียนรู้การเกษตร เกษตรปลอดสารพิษ พุทธเกษตร"
คุณยรรยงค์ ยาดี  จ. แม่ฮ่องสอน ปี 2551

นายยรรยงค์ ยาดี เกษตรกรจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประธานศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านนาเติงที่เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้เชิงเกษตรและเป็นแนวพุทธเกษตร และเป็นแนวพุทธเกษตรคือมีการอบรมเรื่องพุทธศาสนาให้แก่ผู้ที่มาอบรมและพูดถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน มีการจัดการอบรมให้แก่สมาชิก พร้อมการเดินทางไปดูงานนอกสถานที่ กับการเกษตรผสมผสาน เช่น การเกษตรอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ การทาปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ สารไล่แมลง และน้ำยาเอนกประสงค์เพื่อการอุปโภคสาหรับดำรงชีวิตประจำวัน ประสบการณ์ เป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอ สถานีพัฒนาที่ดิน เป็นหมอดินอาสา และเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายเกษตรทางเลือกจังหวัดแม่ฮ่องสอน รวมทั้ง มีประสบการณ์ทางานร่วมกับสถาบันการศึกษา ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีล้านนา และมหาวิทยาลัยศิลปากร รางวัลเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับ จึงนับว่าเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่น่าสนใจและสามารถเป็นแบบการพัฒนาชุมชนโดยใช้ฐานะการมีส่วนร่วมและการเริ่มต้นพัฒนาจากภายใน

หลักคิดและการใช้ชีวิต

เกษตรกรคนเก่ง:"ยรรยงค์ ยาดี" นำปายสู่วิถีพอเพียง
ถึงแม้มีความรู้แค่มัธยมปลาย แต่ปราชญ์ชาวบ้านอย่าง "ยรรยงค์ ยาดี" ดีกรีเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ แห่งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านแม่นาเติงใน ต.แม่นาเติง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ผู้ดำเนินชีวิตตามหลัก “สมชีวิตา” การรู้จักการเลี้ยง ชีวิตแต่พอดีให้มีความสุข ได้โดยไม่สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย และการใช้หลักประหยัดมาใช้ โดยยึดพ่อผาย สร้อยสระกลาง เป็นเกษตรกรต้นแบบ จนประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และรางวัลอีกหลายอย่าง

การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของยรรยงค์ เริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อปี 2544 โดยใช้ที่เพียง 8 ไร่เศษมาทำเกษตรผสมผสาน จนทำให้ความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น จากนั้นก็นำความรู้มาถ่ายทอดให้คนอื่น จนได้รับเลือกเป็นครอบครัวร่มเย็นประจำหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่กลุ่มต่างๆ ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านแม่นาเติงใน ที่เป็นผู้ริเริ่มขึ้นได้กลายเป็นแหล่งรวมพลของปราชญ์ชาวบ้านทั่วประเทศมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงานไม่เว้นแต่ละวัน

ชีวิตตามปรัชญาของยรรยงค์

ความสามารถอันโดดเด่น

กิจกรรมภายในศูนย์ประกอบด้วย 9 ฐานเรียนรู้ ได้แก่ องค์ความรู้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง องค์ความรู้ดินและปุ๋ย การทำปุ๋ยหมักและสารไล่แมลง การทำบัญชีครัวเรือน การทำน้ำส้มควันไม้ สมุนไพรท้องถิ่น/นวดแผนไทย แหล่งรวมของวัฒนธรรมท้องถิ่นของชนเผ่าใน จ.แม่ฮ่องสอน การทำนาข้าวด้วยวิธีโยนกล้า และการศึกษาดูงานนอกสถานที่ของสมาชิกเครือข่าย และชีวิตประจำวันสอนชาวบ้านเผ่าลีซอฝึกทำปุ๋ยหมัก / ฝึกสอนชาวบ้านทำบัญชีครัวเรือน บัญชีต้นทุนการประกอบอาชีพ/ ขึ้นไปร่วมกับพี่น้องชาวเขาปลูกข้าวไร่บนดอย/ แนะนำชาวบ้านเลี้ยงไก่พื้นเมือง / เป็นวิทยากรสอนเด็กนักเรียน เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สอนเด็กนักเรียนชาวเขาทำบัญชีต้นกล้า / สอนเด็กนักเรียนฝึกทำถ่านไบโอชาร์ /สอนนักเรียนทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ/ปลูกข้าวนาโยน ณ แปลง สาธิตของศูนย์ฯ / สอน ชาวบ้านฝึกทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์ / ขึ้นไปดูพื้นที่ปลูกข้าวไร่ ( ข้าวอินทรีย์ )นำเครือข่ายผู้ปลูกข้าว ไปเรียนรู้การคัดพันธ์ข้าว ณ ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดแม่ฮ่องสอน / พื้นที่ปลูกข้าวไร่บนพื้นที่สูง ของเครือข่ายศูนย์ฯ แนะนำการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ(จากกระดูกสัตว์) แก่ผู้เข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์ฯ เป็นต้น

เกียรติประวัติและผลงาน

-เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี 2551
-รางวัลชมเชย การประกวดเกษตรกรดีเด่น ด้านพืช โครงการส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ (เกษตรปลอดภัย) จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2550
-หนังสือพิมพ์พัฒนาเศรษฐกิจ มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ สินค้าแปรรูปได้คุณภาพ เป็นผู้อนุรักษ์ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประจำปี 2549
-หนังสือพิมพ์สื่อสารธุรกิจ มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อแผ่นดิน ในโครงการพระราชดำริเศรษกิจพอเพียง ประจำปี 2549
-หนังสือพิมพ์ข่าวผู้นำ มอบโล่ ผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อชุมชน ประจำปี 2546
-กระทรวงมหาดไทย ยกย่องให้ เป็นผู้นำอาชีพก้าวหน้าระดับจังหวัด ประจำปี 2546
-สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทาน รางวัลชนะเลิศ ประเภทเกษตรกรดีเด่น สาขา อาชีพด้านปรับปรุงบำรุงดิน ณ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปี 2549
-กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบเกียรติคุณ นำบัญชีไปพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน (ประจำปี 2550/2551/2552/2555)
-เกษตรทำไว้ไม่อดตาย ประกาศเกียรติคุณ ครูบัญชีอาสาระดับจังหวัด ประจำปี 2553

ต้นแบบในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่เมืองปาย
ข้อมูลการติดต่อ

76/1 ม.2 ต.แม่นางเติง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน 58130

เรื่อง/ภาพโดย: ทีมงานรักบ้านเกิด