
นายกิมฮก แซ่เตีย เกษตรกรหัวก้าวหน้า วัย 66 ปี ที่ริเริ่มทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม ในพื้นที่ 31 ไร่ โดยเน้นความเรียบง่ายและพอเพียง งดใช้สารเคมี หันมาใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นความเป็นผู้นำที่เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่างๆ โดยน้อมนำเอาแนวพระราชดำริตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ในการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังนำเอาเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในไร่นาสวนผสม โดยมีผลิตน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพเอาไว้ใช้เอง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในนาข้าว ไม้ผล และพืชผัก และสัตว์เลี้ยง มีการผลิตสารสกัดจากสมุนไพรไล่แมลง เพื่ออนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ทำกิจกรรมด้านการเกษตรที่มีการเกื้อหนุนกันตามธรรมชาติ เช่น การปลูกไม้ผลผสมผสาน การเลี้ยงไก่งวงบนบ่อปลา การเลี้ยงเป็ด เลี้ยงโคเนื้อ โรงสีข้าว การทำนาข้าว ทำนาบัว ซึ่งการจัดการระบบภายในไร่นาสวนผสมแห่งนี้ ยึดหลักความพอเพียงภายในครอบครัวเป็นหลักก่อน
...
1. เทคนิคการเลี้ยงไก่งวงของคุณกิมฮก แซ่เตีย
รูแบบการเลี้ยง :
เลี้ยงแบบปล่อยในสวน คุณกิมฮกจะใช้พ่อพันธุ์คุมฝูง 2-3 ตัว ซึ่งพ่อ-แม่พันธุ์ที่สมบูรณ์และพร้อมผสมพันธุ์จะต้องมีอายุ 1 ปีขึ้นไป มีอายุใช้งาน 3 ปี หลังจากนั้นจะต้องเปลี่ยนพ่อและแม่พันธุ์ใหม่
วิธีการเลี้ยง :
เมื่อแม่ไก่ออกไข่แล้วให้ย้ายทั้งแม่ไก่ และไข่ไว้ในที่ร่ม ใช้กล่องกระดาษ หรือตะกร้าเป็นรังให้แม่ไก่กกไข่ ห้ามให้ไข่โดนฝนหรือความชื้นเด็ดขาด เพราะจะทำให้ไข่จะไม่ฟักเป็นตัว แม่ไก่งวงใช้เวลากกไข่ 30 วัน
หลังจากลูกไก่งวงฟักออกมาเป็นตัวแล้ว ให้แยกลูกไก่งวงมาอนุบาลในกรง ซึ่งช่วงแรกเวลากลางคืนจะกกให้ความอบอุ่นโดยใช้แสงสว่าง และใช้ผ้าคลุมกรงให้มิดชิด และตั้งไว้ในร่ม ไม่ให้โดนฝน จนกระทั้งลูกไก่งวงอายุประมาณ 30 วัน จึงย้ายมาเลี้ยงในกรงเลี้ยงไก่งวงรุ่นที่สร้างไว้ริมบ่อเลี้ยงปลา
การให้อาหาร :
-อาหารที่ให้ช่วงแรก (แรกเกิด-อายุ 30 วัน) จะเป็นอาหารไก่เล็ก โดยให้กินตลอดเวลา ไม่ให้ขาด เพราะถ้าลูกไก่ได้รับอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ลูกไก่ชะงักการเจริญเติบโตได้
-ไก่งวงอายุ 1-2 เดือน อาหารที่ให้ในช่วงนี้จะให้หัวอาหารสำหรับไก่เนื้อเพียงอย่างเดียว
-เมื่อไก่งวงมีอายุ 2 เดือนขึ้นไป จะผสมรำกับหัวอาหาร เพื่อลดต้นทุนค่าอาหาร
การดูแลรักษา :
-เกษตรกรเลี้ยงไก่งวงแบบปล่อย ต้องล้อมรั้วให้มิดชิด และต้องคอยระวังอันตรายจากสุนัข แมว เหยี่ยว ฯลฯ
เลี้ยงจนกระทั่งมีอายุ 4 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ไก่มีสุขภาพแข็งแรงแล้ว จะปล่อยเลี้ยงให้หากินเศษหญ้าและวัชพืชภายในสวน และให้อาหารเสริมประเภท รำ และปลายข้าว ใบกระถิน หรือพืชผักตามฤดูกาลที่ปลูกไว้ เป็นการประหยัดค่าอาหาร
-สัญชาติญาณของไก่งวง จะเคยชินกับสภาพที่โล่งๆ ถ้าโดนกักขังจะทำให้ไก่งวงเครียดได้
-ไก่งวงจะใช้เวลาเลี้ยงขุนนานถึง 6 เดือน (นับตั้งแต่ฟักออกจากไข่) ก็สามารถจับขายได้ โดยไก่งวงจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 7 กิโลกรัม/ตัว ส่งขายในราคากิโลกรัมละ 100 บาท
-เมื่อไก่งวงโตเต็มที่ อายุเฉลี่ยประมาณ 10 เดือน ไก่งวงจะให้ไข่เต็มที่ คือประมาณ 15-20 ฟอง/ตัว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าไก่งวงสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน ช่วงนี้ผู้เลี้ยงต้องเตรียมรังให้เพียงพอกับแม่พันธุ์ และต้องคอย
ดูแลเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา :
การสังเกตว่าไก่งวงจะออกไข่หรือไม่ให้สังเกตง่ายๆ คือ ไก่งวงมักจะชอบไปอยู่มุมมืดๆ หรือไม่ก็เดินวนเวียนไปๆมาๆ ถ้าสังเกตุเห็นว่าไก่งวงที่เลี้ยงมีพฤติกรรมแบบนี้ ให้จับไก่แม่พันธุ์ตัวนั้นเข้าไปในรังสำหรับวางไข่ หลังจากไก่งวงวางไข่แล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์ แม่ไก่งวงก็จะเริ่มกกไข่และฟักออกมาเป็นตัว
2. การรักษาโรคฝีดาษในไก่งวง
ในช่วงหน้าฝนจะเกิดโรคฝีดาษระบาด ทำให้ไก่งวงตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งคุณกิมฮกพบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ไก่งวงเป็นโรคฝีดาษ คือ ยุง ซึ่งเป็นพาหะนำโรค คุณกิมฮกจึงแนะนำว่าให้ผู้เลี้ยงคอยดูแลไก่พยายามอย่าให้โดนยุงกัด โดยหลังจากที่อนุบาลลูกไก่งวงจนอายุครบ 1 เดือนแล้ว เกษตรกร ยังคงเลี้ยงในกรงต่อไป โดยในช่วงเวลาหัวค่ำ จนถึงรุ่งเช้าวันถัดไป เกษตรกรจะกางมุ้ง หรือใช้ผ้าคลุมกรงไก่งวงทุกกรง เพื่อป้องกันยุง โดยเฉพาะช่วงที่ไก่งวงอายุ 1-4 เดือน ถ้าหากเป็นโรคฝีดาษจะหายอยาก แต่ถ้าพบเห็นไก่ที่เลี้ยงเป็นโรคฝีดาษให้รักษาได้โดยใช้
ส่วนผสม :
1. ยาแก้ปวด (ทัมใจ)
2. ทิงเจอร์ไอโอดีน
วิธีการใช้ :
นำยาแก้ปวดผสมกับทิงเจอร์ไอโอดีน จากนั้นนำคัทตันบัดส์หรือสำลี ชุบยาทาบริเวณแผลประมาณ 2-3 ครั้ง แผลจะตกสะเก็ดและหายภายใน 2-3 วัน
3. เทคนิคการทำนาบัว
ขั้นตอนการทำนาบัว
1. การเตรียมดินและการปลูก
พื้นที่ที่เหมาะสมควรเป็นที่ราบสม่ำเสมอ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ดินเป็นดินเหนียว การเตรียมพื้นที่สำหรับทำนาบัวก็คล้ายๆกับการทำนาดำ โดยเริ่มจากการเอาน้ำออกให้แห้ง ยกคันดินโดยรอบพื้นที่ให้สูงประมาณ 1.5 เมตร พื้นที่ควรมีขนาด 5 - 50 ไร่ หรือทำเป็นแปลงใหญ่ๆขนาด 50 - 100 ไร่ก็ได้ เก็บเศษวัสดุและกำจัดวัชพืชออกให้หมด ปรับพื้นที่ให้เรียบไถดะ โรยปูนขาวตากแดดทิ้งไว้ 7 - 15 วัน แล้วไถแปรอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเติมปุ๋ยคอกเก่าๆ เช่น มูลไก่ มูลโค ประมาณไร่ละ 200 กิโลกรัม จากนั้นระบายน้ำเข้าให้สูงจากพื้นประมาณ 15 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 3 - 5 วัน ให้ดินอ่อนตัว แล้วจึงปักดำบัว ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2 X 2 เมตรในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ไหลบัวประมาณ 400 ไหล (หน่อ)
2. การดูแลรักษา
-การให้น้ำ : หลังจากปลูกบัวแล้วในเดือนแรก ควรรักษาระดับน้ำให้ขังอยู่ในแปลงลึกประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อป้องกันมิให้หญ้าขึ้นในแปลง และบัวสามารถเจริญขึ้นมาพ้นน้ำเพื่อรับแสงสว่างได้เร็ว หลังจากนั้นปล่อยน้ำเข้าแปลงอีกให้ลึกประมาณ 50 เซนติเมตร และลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร เพราะความลึกระดับนี้ บัวจะได้รับอุณหภูมิพอเหมาะ ทำให้บัวสามารถออกดอกได้มาก ถ้าระดับน้ำสูงกว่านี้ บัวที่งอกใหม่อาจตายได้ ถ้างอกพ้นผิวน้ำไม่ทัน
-การใส่ปุ๋ย : เมื่อบัวเริ่มตั้งตัวได้และแตกใบใหม่ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 ในอัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม โดยหว่านลงไปให้ทั่วแปลง แต่ถ้าปลูกอยู่ในคูหรือลำคลองที่มีน้ำถ่ายเทตลอดเวลา หรือบ่อที่ควบคุมระดับไม่ได้ ควรใส่ปุ๋ยลูกกลอนโดยการนำปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ประมาณ 1 ช้อนชา บรรจุลงดินเหนียว ปั้นดินเหนียวหุ้มให้เป็นก้อนแล้วผึ่งลมให้แห้ง เมื่อต้องการจะใส่ปุ๋ยบัวก็ฝังลูกกลอนไว้ที่โคนต้นๆละ 2 ลูก
3. การเก็บดอก
บัวจะเริ่มให้ผลผลิตดอกตูมหลังจากปลูก 3 เดือน โดยการเก็บดอกจะเก็บวันเว้นวัน ยกเว้นในฤดูหนาวเก็บวันเว้น 2 วัน การเก็บดอกจะเก็บในระยะที่ดอกยังตูม โดยตัดให้มีก้านดอกยาว 40-50 เซนติเมตร คัดขนาดแล้วนำมาจัดเป็นกำ กำละ 10 ดอก การจัดต้องจัดเรียงให้เห็นดอกทั้ง 10 ดอก หลังจากนั้นจึงห่อด้วยใบบัว
4. การเก็บเกี่ยวฝัก
เมื่อปลูกบัวได้ประมาณ 3-4 เดือน ก็จะเริ่มเก็บฝักได้ ฝักแก่จะสังเกตได้จากฝักปลายเมล็ด เป็นสีเทา ระยะเวลาตั้งแต่ดอกตูมถึงเก็บฝักได้ประมาณ 7-10 วัน โดยบัวจะให้ผลผลิตนานราวๆ 3-4 เดือน จากนั้นจะเริ่มโทรม ในการเก็บฝักบัวนั้น จะใช้เรือถ่อเข้าไปแปลงบัว แล้วใช้ไม้สอยฝักบัวใส่เรือ ซึ่งยาวประมาณ 3 วา เมื่อเก็บฝักได้เต็มลำเรือแล้ว ก็ขนขึ้นมาเก็บรวมกัน เพื่อรอนำไปจำหน่ายต่อไป
5. การดูแลรักษาหลังจากเก็บฝัก
หลังจากเก็บฝักบัวแล้วประมาณ 3 เดือน ต้นก็จะเริ่มโทรม ให้ระบายน้ำออกจากแปลงบัวให้แห้ง เมื่อดินแห้งพอที่จะใช้รถไถลงไถได้ ให้ไถดะพลิกหน้าดินให้ลึก เพื่อที่จะทำให้ดินโปร่งขึ้น รากบัวชั้นบนๆซึ่งเป็นรากขนาดเล็กลดจำนวนลง ถ้าหากไม่มีการไถในปีต่อมา บัวจะขึ้นแน่นมากทำให้ฝักบัวมีขนาดเล็กมาก เมื่อไถแล้วปล่อยน้ำเข้าทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น ต้นบัวใหม่จะงอกขึ้นมาพ้นน้ำในเวลาประมาณ 3-7 วัน
6. การตลาด
คุณพุทรา จะปลูกบัวเน้นขายฝัก โดยจะขายในราคามัดละ 80 บาท (1 มัด = 30 ฝัก) ซึ่งคุณพุทราบอกว่าคุ้มกว่าการปลูกเพื่อขายดอก เพราะถ้าตัดขายในช่วงออกดอก จะราคาเฉลี่ยดอกละ 1 บาท เท่านั้น อาจจะขายดอกบ้างในกรณีที่แม่ค้าขาประจำต้องการจริงๆ
-เกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ปี 2552
-เกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสม ลำดับที่ 3 ระดับจังหวัด ปี 2549
-วิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีกิจกรรมการทำไร่นาสวนผสม ประจำอำเภอ
-เป็นคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบล
-เป็นวิทยากร ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร กิจกรรมไร่นาสวนผสมในงานวันเกษตรกร ปี 2550
-เกษตรกรดีเด่นสาขาไร่นาสวนผสม ระดับจังหวัด ปี 2551
-เกษตรกรดีเด่นอันดับ 3 สาขาไร่นาสวนผสม ระดับภูมิภาค ประจำปี 2552
-เกษตรกรดีเด่นระดับเขต สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ประจำปี 2552
-เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ประจำปี 2553

165 ม.2 บ้านดอนรังกา ต.ตาลสุม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี 34330