หลักการขยายพันธุ์ยาง : ยางพาราเป็นพืชที่ใช้พื้นที่ปลูกและจำนวนต้นปลูกต่อไร่มากเมื่อเทียบกับไม้ผลยืนต้นชนิดอื่นๆ ในแต่ละปีจะมีการผลิต วัสดุปลูกคือมีการขยายพันธุ์ยางเป็นปริมาณมาก ชิ้นส่วนของพืชที่ใช้ในการขยายพันธุ์ยางประกอบด้วย
1. ส่วนของต้นตอยาง (stock)
- ได้จากเมล็ดยางพารา ซึ่งอาจเป็นเมล็ดยางพื้นเมือง ที่มีรากแก้วและต้นที่แข็งแรง หรืออาจเป็นเมล็ดยางพันธุ์ดีที่ผสมโดยธรรมชาติ เมล็ดยางพันธุ์ PB 5/51, GT 1 และ PB 260 สามารถปลูกทำเป็นต้นตอ หรือต้นกล้ายางได้ดีกว่าเมล็ดพันธุ์อื่น
- เมล็ดยางพาราจะเสื่อมความงอกได้เร็วมาก ดังนั้น ควรเก็บเมล็ดมาเพาะโดยเร็วไม่ควรเกิน 20 วัน ซึ่งโดยปกติ เมล็ด ยางในฤดูจะให้เมล็ดในเดือนกรกฎาคม-กันยายน ส่วนเมล็ดยางนอกฤดูกาลจะตกให้เมล็ดน้อย และมีความสมบูรณ์ต่ำ จึงไม่นิยม นำมาทำการขยายพันธุ์
- ระยะเวลาการร่วงหล่นของเมล็ดยาง จะต้องเตรียมแปลงให้เสร็จก่อนเมล็ดยางหล่น ซึ่งปกติแล้ว เมล็ดยางจะร่วงหล่น ปีละหนึ่งครั้งนานประมาณ 3 เดือน ระยะเวลาการร่วงหล่นนั้นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของท้องที่
- จังหวัดทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก เมล็ดยางจะร่วงหล่นประมาณเดือนสิงหาคม
- จังหวัดทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก เมล็ดยางจะหล่นประมาณ เดือนสิงหาคม-กันยายน
- จังหวัดทางภาคตะวันออก เมล็ดยางหล่นประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
2. ส่วนของตายาง (scion)
- ได้จากกิ่งตาในแปลงขยายพันธุ์กิ่งตายางพันธุ์ดี สามารถซื้อจากหน่วยงานของรัฐ เช่น ศูนย์วิจัยยาง ศูนย์บริการวิชาการและปัจจัยผลิตการเกษตร และแปลงขยายพันธุ์ยางที่จดทะเบียนจากศูนย์วิจัยยางแล้ว ชิ้นส่วน ของตาที่นำมาใช้จะต้องมีความสมบูรณ์ และดูแลรักษาอย่างดี จึงจะทำให้ความสำเร็จในการติดตาสูง กิ่งตายางพันธุ์ดี นั้นต้อง ใช้พันธุ์ยางที่ทางกรมวิชาการเกษตรออกคำแนะนำทุก 4 ปี ซึ่งหน่วยงานที่ผลิตกิ่งตายาง และแปลงเอกชนจดทะเบียน จำเป็นต้อง เตรียมกิ่งตาไว้ให้พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ยางชั้น 1
การสร้างแปลงกิ่งตายาง:
1. เลือกพื้นที่
- พื้นที่ควรเป็นที่ราบ ดินร่วนและมีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ไม่มีไม้ยืนต้นปะปน
2. การเตรียมพื้นที่
- ไถพลิกดิน 2 ครั้ง และไถพรวนอีก 2 ครั้ง เก็บเศษรากไม้ และวัชพืชออกจากแปลงหรือเผาทิ้ง
3. การวางผังแปลงกิ่งตา
- กำหนดพันธุ์ยางที่จะปลูก กำหนดปริมาณของพันธุ์ยางแต่ละสกุล จัดวางผังแปลง กิ่งตา ให้แยกพันธุ์ยางแต่ละสกุลเป็นแปลง ๆ ระหว่างแปลงย่อย ควรเว้นระยะห่างให้เห็นเด่นชัด ระยะระหว่างแปลงกว้างประมาณ 3-4 เมตร ในระยะแปลงย่อยมีหลักถาวรปักเป็นเครื่องหมายแสดงเขตแบ่งพันธุ์ยางได้ หรืออาจทำเป็นคูระบายน้ำไว้รอบแปลง เพื่อป้องกัน น้ำ ขังในแปลง
4. ระยะปลูก
- การปลูกสร้างแปลงกิ่งตา เพื่อการผลิตกิ่งตาเขียว ควรใช้ระยะปลูกดังนี้
2x1 เมตร = 800 ต้น/ไร่
1.5x1.5 เมตร = 711 ต้น/ไร่
5. วัสดุปลูก
- วางแนวปลูกแล้ว ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปลูกด้วยยางชำถุงขนาด 1-2 ฉัตร ปลูกด้วยต้นตอตา ยาง ปลูกด้วยต้นกล้า และติดตาด้วยพันธุ์ที่ต้องการใช้
6. การบำรุงรักษาแปลงกิ่งตายาง
การปลูกซ่อม :
- เมื่อต้นยางตาย ควรปลูกซ่อมทันทีให้ตรงตามพันธุ์ และถ้ามียางพันธุ์อื่น ๆ ปะปน ควรติดตาเปลี่ยน พันธุ์ให้ถูกต้อง
การปราบวัชพืช :
- ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อาจใช้แรงงานหรือสารเคมีก็ได้จะเริ่มกำจัดวัชพืชเมื่อยางอายุ 2, 4 และ 6 เดือน และกำจัดวัชพืชอีกครั้งหนึ่ง คือ ช่วง 1 เดือน ก่อนที่จะตัดกิ่งตายางไปติดตาขยายพันธุ์
การใส่ปุ๋ยกล้ายาง :
- สภาพดินร่วน ใช้ปุ๋ยเม็ด สูตร 11-6-4 หรือปุ๋ยผสมสูตร 8-14-3
- สภาพดินทราย ใช้ปุ๋ยเม็ด สูตร 10-5-9 หรือปุ๋ยผสมสูตร 8-13-7
- การใส่ปุ๋ยจะใส่หลังจากกำจัดวัชพืชไปแล้วทุกครั้ง ตารางเวลาการใส่ปุ๋ยแสดงในตารางที่ 1 ข้อควรระวังในช่วงระหว่าง 1 เดือน ที่จะ ตัดกิ่งตายาง ห้ามใช้สารเคมีปราบวัชพืชหรือใส่ปุ๋ยในแปลงกิ่งตา เพราะจะลอกแผ่นตาไม่ออก ทำให้เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จ ในการติดตาลดลง
การบรรจุ ขนส่ง และการเก็บรักษากิ่งตา :
- กิ่งตาเขียวที่นำไปใช ้ต้องตัดก้านใบให้หมด กิ่งตาชนิด 2-3 ฉัตรจะตัดตรงข้อ เป็นท่อนยาวประมาณ 1 ฟุต หาก ต้องเก็บไว้ข้ามวันต้องชุบปลายทั้งสองด้วยขี้ผึ้ง
- นำกิ่งตาบรรจุลัง บุด้วยวัสดุ ฟางข้าว กาบกล้วย สลับกันเป็นชั้น ๆ ให้แน่น
- เมื่อได้รับกิ่งตาจะต้องเก็บไว้ในที่ร่ม รดน้ำให้ชุ่มนำไปติดตาให้เร็วที่สุด ถ้าจำเป็นต้องเก็บไว้ข้ามวัน และกิ่งตาจุ่มขี้ผึ้งแล้ว ให้ตัดส่วนที่จุ่มขี้ผึ้งออกแล้ว ตั้งกิ่งตาไว้ในภาชนะใส่น้ำประมาณ 3 ชม.จึงยกขึ้นห่อด้วยกระสอบชุบน้ำ เมื่อถึงวันรุ่งขึ้น จะต้องนำไปติดตาทันที
ตารางที่ 1 : ตารางแสดงเวลาการใส่ปุ๋ยยางพารา
การคลุมโคน :
- ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรใช้เศษวัชพืชหรือฟางข้าวคลุมโคนต้นยาง เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน โดยคลุม โคนห่างจากต้นยาง ประมาณ 10 ซม.
การตัดแต่งเลี้ยงกิ่งตายาง :
- เมื่อเลี้ยงต้นแม่พันธุ์ให้เจริญเติบโตมีเปลือกสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร หรือมีอายุประมาณ 1 ปี จะตัดกิ่งตา กระโดงไปใช้ได้ แต่ถ้าจะเลี้ยงเป็นกิ่งตาเขียวให้ตัดยอดฉัตรบนสุดทิ้ง ตัดเลี้ยงครั้งที่ 1 ปล่อยให้แตกกิ่งแขนงออกมา บริเวณฉัตร ยอดเลี้ยงไง้ 3-4 กิ่ง เมื่อฉัตรแก่แล้วก็ตัดไปใช้ได้พร้อมกันนี้ก็ทำการตัดเลี้ยงครั้งที่ 2 ต่อไป
- ในปีหนึ่ง ๆ จะตัดเลี้ยงกิ่งตาได้ 3 ครั้ง(ครั้งที่ 1, 2 และ 3) กิ่งตาเขียวที่ตัดไปใช้แต่ละครั้งควรมีอายุ 1 เดือนครึ่ง - 2 เดือน เมื่อหมดฤดูกาลติดตาแล้วจะตัดต้นกิ่งตาล้างแปลง (ตัดต่ำ) ให้เหลือกระโดง 1-2 กระโดง สูงจากพื้นดิน 75 ซม. เพื่อเลี้ยงกิ่ง กระโดงไว้ผลิตกิ่งตาเขียว ในปีที่ 2 เมื่อเลี้ยงกระโดงได้ 3-4 ฉัตร ก็ทำเหมือนกับเมื่อปีที่ 1 ทุกประการ
- ต้นกิ่งตายางในปีที่ 3 เลี้ยงกระโดงได้ 2-3 กระโดง
- ต้นกิ่งตายางในปีที่ 4 เลี้ยงกระโดงได้ 4 กระโดง
- ต้นกิ่งตายางที่สมบูรณ์ตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป จะเลี้ยงได้ 4 กระโดง ๆ ละ 4-5 กิ่ง จะได้กิ่งตาเขียวต้นละ 16-20 กิ่ง สามารถ เลี้ยงได้ 3 รอบ/ปี ปีหนึ่ง ๆ จะได้กิ่งตาเขียวประมาณ 48-60 กิ่ง/ต้น ต้นแม่พันธุ์กิ่งตายางที่มีอายุเกิน 15 ปี ควรโค่นปลูกใหม่
การนำกิ่งตาเขียวไปใช้ :
- ก่อนนำกิ่งตาเขียวไปใช้ต้องตัดก้านใบออกให้หมด กิ่งตา 2-3 ฉัตร จะตัดตรงข้อเป็นท่อนยาวประมาณ 1 ฟุต( 30 ซม.) โดยเฉลี่ยกิ่งตายาง 1 ท่อน มีตาที่นำไปใช้ขยายพันธุ์ประมาณ 2-3 ตา แต่ภายหลังการขนส่ง หากกิ่งตาได้รับความกระทบ กระเทือน ทำให้ตายางบอบช้ำ จะเหลือตายางที่นำไปติดตา โดยประมาณ 1.5 ตาต่อกิ่งพันธุ์ 1 ท่อน
- การนำกิ่งตาไปใช้ต้องให้เร็วที่สุดภายใน 3 วัน แต่ถ้าชุบขี้ผึ้งที่ปลายทั้ง 2 ข้างของกิ่งตา จะสามารถยืดเวลาการนำไป ใช้ได้นานถึง 5 วัน และต้องหมั่นรดน้ำให้เปียกชื้นอยู่เสมอ
การสร้างแปลงกล้ายาง : ถือหลักพิจารณาสภาพพื้นที่ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่สำหรับสร้างแปลงกล้า
- ควรเป็นที่ราบ สามารถระบายน้ำได้ดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำ การคมนาคมสะดวก ควรเป็น ดินร่วน ดินที่ไม่เหมาะสม คือดินทรายจัด และดินเหนียว เพราะการระบายน้ำไม่ดี
2. การเตรียมดิน
- ไถพลิกดิน 2 ครั้ง หลังจากนั้นไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง เพื่อให้พื้นที่เรียบสม่ำเสมอ ในขณะเดียว กัน ควรเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงปลูกให้หมด ในการไถพรวนครั้งสุดท้าย ควรหว่านปุ๋ยรอกฟอสเฟต 100 กก./ไร่
3. ชนิดและสิ่งปลูก
- ปลูกด้วยเมล็ดสด ใช้เมล็ดยางที่เก็บมาจากสวน นำไปปลูกในแปลงโดยเรียงเมล็ด การปลูกโดยวิธีนี้ใช้เมล็ดไร่ ละประมาณ 250-300 กก. เมื่อเมล็ดงอกจะต้อง ถอนแยก คัดต้นเลวออกให้เหลือเฉพาะที่ แข็งแรง ไว้สำหรับติดตา
- ปลูกด้วยเมล็ดงอก ปลูกโดยการนำเมล็ดมาเพาะเสียก่อน แล้วนำเมล็ดที่เริ่มงอก แต่ยังไม่แตกหน่อ หรือออก รากไปปลูกในแปลง
- ปลูกต้นกล้า 2 ใบ ใช้ต้นกล้าที่แตกใบแล้ว ซึ่งได้จากการเพาะหรือถอนจากสวนยางไปปลูก
การคำนวณเมล็ดที่ใช้เพาะกล้ายาง :
- เมล็ดยางใหม่ 1 ปี๊บ หนักประมาณ 9-10 กก. มีประมาณ 1,800-2,000 เมล็ด เมล็ดยาง 1 กก. มีประมาณ 200-240 เมล็ด เมล็ดยาง 1 กระสอบป่าน หนักประมาณ 55-60 กก. ปกติเมล็ดยางใหม่จะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกประมาณ 80-90% ถ้า เก็บเมล็ดยางไว้นานเกิน 10 วัน เปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงเหลือเพียงประมาณ 40-50%
การเตรียมแปลงเพาะเมล็ดยาง:
1. ขุดพลิกดินให้ลึกประมาณ 20 ซม. แล้วพรวนดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ
2. เก็บเศษรากไม้ที่ปนอยู่ในแปลงออกให้หมด
3. ยกแปลงขนาดกว้าง 1 เมตร สูงประมาณ 15-20 ซม. ส่วนความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับจำนวนเมล็ดที่ใช้เพาะ
4. ใช้แกลบหรือขี้เลื่อยเก่า ๆ กลบบนแปลงเพาะแล้วเกลี่ยให้เรียบสม่ำเสมอ
แปลงเพาะอาจจะทำในระหว่างแถวยางใหญ่ก็ได้ ซึ่งไม่ต้องทำร่มกันแดดให้อีกแต่ถ้าทำในที่โล่งแจ้งจะต้องทำเพิงคลุม ให้ร่ม โดยใช้ใบมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ๆ
การจัดเรียงเมล็ดบนแปลงเพาะ ;
1. เกลี่ยเมล็ดยางให้เรียงกันเพียงขั้นเดียว และสม่ำเสมอกันตลอดทั้งแปลง
2. คว่ำด้านแบนของเมล็ดยางลงและกดเบา ๆ
3. ใช้แกลบหรือขี้เลื่อยกลบทับอีกครั้งเพียงเบา ๆ
4. รดน้ำบนแปลงเพาะเบา ๆ เช้า-เย็น ทุกวัน (หากฝนตกไม่จำเป็นต้องรดน้ำอีก)
5. หลังจากเพาะเมล็ดได้ 5 วัน หมั่นตรวจดูเมล็ดงอกในแปลงเพาะทุกวัน
6. นำเมล็ดที่งอกแล้วไปปลูกในแปลงชำทุก ๆ วัน และควรทำด้วยความระมัดระวัง
7. คัดเมล็ดที่ไม่งอกภายใน 14 วันนับจากวันเพาะทิ้ง เพราะเมล็ดที่งอกหลังจากนี้จะเป็นกล้ายางที่ไม่สมบูรณ์ การทิ้ง เมล็ดยางที่งอกแล้วไว้ในแปลงนาน ๆ จะทำให้รากยาว การขนย้ายไปปลูกจะทำให้รากหักเสียหายง่าย
การปลูกในแปลงกล้ายางโดยใช้เมล็ดงอก:
- หลังจากเตรียมดินในแปลงเรียบร้อยแล้ว การปลูกด้วยเมล็ดงอกใช้ระยะปลูก 15x70 ซม.หรือ 20x70 ซม. จะปลูก ได้ประมาณ 15,000 ต้น และ 12,000 ต้น ตามลำดับ
การบำรุงรักษาแปลงกล้ายาง:
- แปลงกล้ายางควรได้รับการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้กล้ายางที่เจริญเติบโตแข็งแรงและสมบูรณ์เต็มที่ ในการ บำรุงรักษาควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
ก. การกำจัดวัชพืช - การกำจัดวัชพืชในแปลงกล้ายางนิยมใช้สารเคมี เพราะจะประหยัดค่าใช้จ่าย ได้ดีกว่าใช ้แรงงาน
ครั้งที่ 1 - กำจัดวัชพืชก่อนงอก ทำการพ่นสารเคมีก่อนหรือหลังการปลูก โดยใช้ไดยูรอน อัตรา 250 กรัม(สารออกฤทธิ์) ผสมน้ำ 80 ลิตรต่อไร่ ใช้หัวฉีดสีแดงเบอร์ 0.078
ครั้งที่ 2 - หลังจากปลูกได้ 6-8 สัปดาห์ ถากวัชพืชให้หมด แล้วพ่นด้วย ไดยูรอน อัตรา 120 กรัม(สารออกฤทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ใช้หัวฉีดสีเหลือง เบอร์ 0.040
ครั้งที่ 3 - เมื่อต้นกล้ายางอายุ 4 เดือน ให้ถากวัชพืชออก แล้วพ่นตามด้วย ไดยูรอน ในอัตราเดิม
ครั้งที่ 4 - ระยะติดตา ใช้ พาราควอท อัตรา 60 กรัม(สารออกฤทธิ์)ต่อไร่ ผสมน้ำ 50-80 ลิตร ใช้หัวฉีดสีเหลือง เบอร์ 0.040
ข. การใส่ปุ๋ย - ต้นกล้ายางที่ตั้งตัวได้แล้ว ควรใส่ปุ๋ยเป็นระยะ ๆ ต้นกล้ายางจะแข็งแรง และเจริญเติบโตเร็ว
1. เตรียมดินใช้ปุ๋ยรอกฟอสเฟต 100 กก.
2. ปุ๋ยที่ใช้สำหรับกล้ายาง
- สำหรับดินทราย ใช้ปุ๋ยผสมสูตร 8-13-7 หรือปุ๋ยเม็ดสูตร 10-5-9
- สำหรับดินร่วน ใช้ปุ๋ยผสมสูตร 8-14-3 หรือปุ๋ยเม็ดสูตร 11-6-4
3. ใส่ปุ๋ยทุกระยะ 1-2-3 เดือนหลังปลูกและใส่อีกครั้งก่อนติดตา 1 เดือน
4. ใช้ปุ๋ยในอัตราครั้งละประมาณ 60 กก.ต่อไร่ ทั้งหมดจะใช้ปุ๋ยประมาณ 240 กก.ต่อไร่
วิธีใส่ปุ๋ย:
1. กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง
2. การใส่ปุ๋ย 2 ครั้งแรก หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างประมาณ 8 ซม. โดยหว่านให้ห่างจากแถวยางข้างใดข้างหนึ่งประมาณ 3.5 ซม.
3. การใส่ปุ๋ยครั้งต่อไปควรหว่านปุ๋ยให้ทั่วแปลง และควรระมัดระวังอย่าให้ปุ๋ยถูกใบอ่อนของกล้ายาง
ค. การคลุมดิน - ควรคลุมดินเมื่อต้นยางอายุได้ 2 เดือน เป็นต้นไป เพื่อควบคุมวัชพืชและควบคุมความชื้นในดิน ให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ายาง วัสดุที่ใช้ควรเป็นเศษวัชพืช หรือวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ควรใช้วัสดุคลุมดินในระหว่างแถวกล้ายางในท้องที่แห้งแล้ง สามารถติดตาต้นกล้าได้ก่อนการไม่คลุมดิน ประมาณ 2 เดือน
ง. การคัดต้นเลวทิ้ง - ควรกระทำเมื่อต้นกล้ายางได้ประมาณ 2-3 เดือน หลังจากปลูกโดยเลือกถอนต้นยางที่แคระแกร็นหรือต้นยางที่คดงอทิ้ง เหลือไว้ในแปลงสำหรับติดตาเฉพาะต้นกล้ายางที่แข็งแรง ต้นกล้ายาง เมื่ออายุ 6-8 เดือน หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับ 10 ซม. จากพื้นดินได้ไม่ต่ำกว่า 1 ซม. สามารถติดตาได้
หลักเกณฑ์การขอจดทะเบียนแปลงเพาะขยายพันธุ์ยาง:
- แปลงขยายพันธุ์ยางที่จะขอจดทะเบียนเพื่อจำหน่ายนั้น จะต้องเตรียมแปลงให ้เข้าหลักเกณฑ์ในการสร้างแปลงกิ่งตา และการสร้างแปลงกล้ายาง นอกเหนือจากนั้นแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องดำเนินการดังนี้
1. ผู้ประสงค์จะขอจดทะเบียนแปลงเพาะขยายพันธุ์ยาง ต้องกรอกแบบฟอร์มใบยื่นคำขอ แบบ กย.80 ต่อหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ศูนย์วิจัยยาง สำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยางทุกจังหวัด ศูนย์บริการวิชาการฯ (สถานีทดลองยางทุกแห่ง)
- สำนักงานเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอ
(ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี หากพ้นกำหนดนี้จะไม่รับพิจารณา)
2. ผู้ที่ประสงค์จะสร้างแปลงเพาะขยายพันธุ์ยางเพื่อจำหน่าย จะต้องยื่นความจำนงพร้อมรายละเอียดดังนี้
2.1.)ความมุ่งหมายในการสร้างแปลงเพาะขยายพันธุ์ยาง
- เพื่อผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีจำหน่าย
- เพื่อผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีและต้นตอตายางพันธุ์ดีจำหน่าย
2.2.) แผนที่ที่สร้างแปลง พร้อมทั้งตำบลที่ตั้งของแปลงเพาะขยายพันธุ์ยาง
3. การตรวจสอบพันธุ์ยาง
3.1.) ศูนย์วิจัยยางจะส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบพันธุ์ยาง และการปฏิบัติบำรุงรักษาแปลงเพาะพันธุ์ยางที่จด ทะเบียน แล้วปีละ 2 ครั้ง
ครั้งแรก - จะตรวจสอบก่อนถึงฤดูกาลที่จะใช้กิ่งตายางประมาณ 1-2 เดือน
ครั้งที่สอง - หลังจากหมดฤดูกาลที่ใช้กิ่งตายางแล้วประมาณ 3 เดือน
3.2.) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพันธุ์ยางของศูนย์วิจัยยาง มีอำนาจสั่งหรือทำลาย ขุดถอนพันธุ์ยาง ที่แปลงปลอมปน อยู่ใน แปลงขยายพันธุ์ได้
1. ส่วนของต้นตอยาง (stock)
- ได้จากเมล็ดยางพารา ซึ่งอาจเป็นเมล็ดยางพื้นเมือง ที่มีรากแก้วและต้นที่แข็งแรง หรืออาจเป็นเมล็ดยางพันธุ์ดีที่ผสมโดยธรรมชาติ เมล็ดยางพันธุ์ PB 5/51, GT 1 และ PB 260 สามารถปลูกทำเป็นต้นตอ หรือต้นกล้ายางได้ดีกว่าเมล็ดพันธุ์อื่น
- เมล็ดยางพาราจะเสื่อมความงอกได้เร็วมาก ดังนั้น ควรเก็บเมล็ดมาเพาะโดยเร็วไม่ควรเกิน 20 วัน ซึ่งโดยปกติ เมล็ด ยางในฤดูจะให้เมล็ดในเดือนกรกฎาคม-กันยายน ส่วนเมล็ดยางนอกฤดูกาลจะตกให้เมล็ดน้อย และมีความสมบูรณ์ต่ำ จึงไม่นิยม นำมาทำการขยายพันธุ์
- ระยะเวลาการร่วงหล่นของเมล็ดยาง จะต้องเตรียมแปลงให้เสร็จก่อนเมล็ดยางหล่น ซึ่งปกติแล้ว เมล็ดยางจะร่วงหล่น ปีละหนึ่งครั้งนานประมาณ 3 เดือน ระยะเวลาการร่วงหล่นนั้นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของท้องที่
- จังหวัดทางภาคใต้ฝั่งตะวันออก เมล็ดยางจะร่วงหล่นประมาณเดือนสิงหาคม
- จังหวัดทางภาคใต้ฝั่งตะวันตก เมล็ดยางจะหล่นประมาณ เดือนสิงหาคม-กันยายน
- จังหวัดทางภาคตะวันออก เมล็ดยางหล่นประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
2. ส่วนของตายาง (scion)
- ได้จากกิ่งตาในแปลงขยายพันธุ์กิ่งตายางพันธุ์ดี สามารถซื้อจากหน่วยงานของรัฐ เช่น ศูนย์วิจัยยาง ศูนย์บริการวิชาการและปัจจัยผลิตการเกษตร และแปลงขยายพันธุ์ยางที่จดทะเบียนจากศูนย์วิจัยยางแล้ว ชิ้นส่วน ของตาที่นำมาใช้จะต้องมีความสมบูรณ์ และดูแลรักษาอย่างดี จึงจะทำให้ความสำเร็จในการติดตาสูง กิ่งตายางพันธุ์ดี นั้นต้อง ใช้พันธุ์ยางที่ทางกรมวิชาการเกษตรออกคำแนะนำทุก 4 ปี ซึ่งหน่วยงานที่ผลิตกิ่งตายาง และแปลงเอกชนจดทะเบียน จำเป็นต้อง เตรียมกิ่งตาไว้ให้พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ยางชั้น 1
การสร้างแปลงกิ่งตายาง:
1. เลือกพื้นที่
- พื้นที่ควรเป็นที่ราบ ดินร่วนและมีความอุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ไม่มีไม้ยืนต้นปะปน
2. การเตรียมพื้นที่
- ไถพลิกดิน 2 ครั้ง และไถพรวนอีก 2 ครั้ง เก็บเศษรากไม้ และวัชพืชออกจากแปลงหรือเผาทิ้ง
3. การวางผังแปลงกิ่งตา
- กำหนดพันธุ์ยางที่จะปลูก กำหนดปริมาณของพันธุ์ยางแต่ละสกุล จัดวางผังแปลง กิ่งตา ให้แยกพันธุ์ยางแต่ละสกุลเป็นแปลง ๆ ระหว่างแปลงย่อย ควรเว้นระยะห่างให้เห็นเด่นชัด ระยะระหว่างแปลงกว้างประมาณ 3-4 เมตร ในระยะแปลงย่อยมีหลักถาวรปักเป็นเครื่องหมายแสดงเขตแบ่งพันธุ์ยางได้ หรืออาจทำเป็นคูระบายน้ำไว้รอบแปลง เพื่อป้องกัน น้ำ ขังในแปลง
4. ระยะปลูก
- การปลูกสร้างแปลงกิ่งตา เพื่อการผลิตกิ่งตาเขียว ควรใช้ระยะปลูกดังนี้
2x1 เมตร = 800 ต้น/ไร่
1.5x1.5 เมตร = 711 ต้น/ไร่
5. วัสดุปลูก
- วางแนวปลูกแล้ว ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปลูกด้วยยางชำถุงขนาด 1-2 ฉัตร ปลูกด้วยต้นตอตา ยาง ปลูกด้วยต้นกล้า และติดตาด้วยพันธุ์ที่ต้องการใช้
6. การบำรุงรักษาแปลงกิ่งตายาง
การปลูกซ่อม :
- เมื่อต้นยางตาย ควรปลูกซ่อมทันทีให้ตรงตามพันธุ์ และถ้ามียางพันธุ์อื่น ๆ ปะปน ควรติดตาเปลี่ยน พันธุ์ให้ถูกต้อง
การปราบวัชพืช :
- ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อาจใช้แรงงานหรือสารเคมีก็ได้จะเริ่มกำจัดวัชพืชเมื่อยางอายุ 2, 4 และ 6 เดือน และกำจัดวัชพืชอีกครั้งหนึ่ง คือ ช่วง 1 เดือน ก่อนที่จะตัดกิ่งตายางไปติดตาขยายพันธุ์
การใส่ปุ๋ยกล้ายาง :
- สภาพดินร่วน ใช้ปุ๋ยเม็ด สูตร 11-6-4 หรือปุ๋ยผสมสูตร 8-14-3
- สภาพดินทราย ใช้ปุ๋ยเม็ด สูตร 10-5-9 หรือปุ๋ยผสมสูตร 8-13-7
- การใส่ปุ๋ยจะใส่หลังจากกำจัดวัชพืชไปแล้วทุกครั้ง ตารางเวลาการใส่ปุ๋ยแสดงในตารางที่ 1 ข้อควรระวังในช่วงระหว่าง 1 เดือน ที่จะ ตัดกิ่งตายาง ห้ามใช้สารเคมีปราบวัชพืชหรือใส่ปุ๋ยในแปลงกิ่งตา เพราะจะลอกแผ่นตาไม่ออก ทำให้เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จ ในการติดตาลดลง
การบรรจุ ขนส่ง และการเก็บรักษากิ่งตา :
- กิ่งตาเขียวที่นำไปใช ้ต้องตัดก้านใบให้หมด กิ่งตาชนิด 2-3 ฉัตรจะตัดตรงข้อ เป็นท่อนยาวประมาณ 1 ฟุต หาก ต้องเก็บไว้ข้ามวันต้องชุบปลายทั้งสองด้วยขี้ผึ้ง
- นำกิ่งตาบรรจุลัง บุด้วยวัสดุ ฟางข้าว กาบกล้วย สลับกันเป็นชั้น ๆ ให้แน่น
- เมื่อได้รับกิ่งตาจะต้องเก็บไว้ในที่ร่ม รดน้ำให้ชุ่มนำไปติดตาให้เร็วที่สุด ถ้าจำเป็นต้องเก็บไว้ข้ามวัน และกิ่งตาจุ่มขี้ผึ้งแล้ว ให้ตัดส่วนที่จุ่มขี้ผึ้งออกแล้ว ตั้งกิ่งตาไว้ในภาชนะใส่น้ำประมาณ 3 ชม.จึงยกขึ้นห่อด้วยกระสอบชุบน้ำ เมื่อถึงวันรุ่งขึ้น จะต้องนำไปติดตาทันที
ตารางที่ 1 : ตารางแสดงเวลาการใส่ปุ๋ยยางพารา

- ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรใช้เศษวัชพืชหรือฟางข้าวคลุมโคนต้นยาง เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน โดยคลุม โคนห่างจากต้นยาง ประมาณ 10 ซม.
การตัดแต่งเลี้ยงกิ่งตายาง :
- เมื่อเลี้ยงต้นแม่พันธุ์ให้เจริญเติบโตมีเปลือกสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร หรือมีอายุประมาณ 1 ปี จะตัดกิ่งตา กระโดงไปใช้ได้ แต่ถ้าจะเลี้ยงเป็นกิ่งตาเขียวให้ตัดยอดฉัตรบนสุดทิ้ง ตัดเลี้ยงครั้งที่ 1 ปล่อยให้แตกกิ่งแขนงออกมา บริเวณฉัตร ยอดเลี้ยงไง้ 3-4 กิ่ง เมื่อฉัตรแก่แล้วก็ตัดไปใช้ได้พร้อมกันนี้ก็ทำการตัดเลี้ยงครั้งที่ 2 ต่อไป
- ในปีหนึ่ง ๆ จะตัดเลี้ยงกิ่งตาได้ 3 ครั้ง(ครั้งที่ 1, 2 และ 3) กิ่งตาเขียวที่ตัดไปใช้แต่ละครั้งควรมีอายุ 1 เดือนครึ่ง - 2 เดือน เมื่อหมดฤดูกาลติดตาแล้วจะตัดต้นกิ่งตาล้างแปลง (ตัดต่ำ) ให้เหลือกระโดง 1-2 กระโดง สูงจากพื้นดิน 75 ซม. เพื่อเลี้ยงกิ่ง กระโดงไว้ผลิตกิ่งตาเขียว ในปีที่ 2 เมื่อเลี้ยงกระโดงได้ 3-4 ฉัตร ก็ทำเหมือนกับเมื่อปีที่ 1 ทุกประการ
- ต้นกิ่งตายางในปีที่ 3 เลี้ยงกระโดงได้ 2-3 กระโดง
- ต้นกิ่งตายางในปีที่ 4 เลี้ยงกระโดงได้ 4 กระโดง
- ต้นกิ่งตายางที่สมบูรณ์ตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป จะเลี้ยงได้ 4 กระโดง ๆ ละ 4-5 กิ่ง จะได้กิ่งตาเขียวต้นละ 16-20 กิ่ง สามารถ เลี้ยงได้ 3 รอบ/ปี ปีหนึ่ง ๆ จะได้กิ่งตาเขียวประมาณ 48-60 กิ่ง/ต้น ต้นแม่พันธุ์กิ่งตายางที่มีอายุเกิน 15 ปี ควรโค่นปลูกใหม่
การนำกิ่งตาเขียวไปใช้ :
- ก่อนนำกิ่งตาเขียวไปใช้ต้องตัดก้านใบออกให้หมด กิ่งตา 2-3 ฉัตร จะตัดตรงข้อเป็นท่อนยาวประมาณ 1 ฟุต( 30 ซม.) โดยเฉลี่ยกิ่งตายาง 1 ท่อน มีตาที่นำไปใช้ขยายพันธุ์ประมาณ 2-3 ตา แต่ภายหลังการขนส่ง หากกิ่งตาได้รับความกระทบ กระเทือน ทำให้ตายางบอบช้ำ จะเหลือตายางที่นำไปติดตา โดยประมาณ 1.5 ตาต่อกิ่งพันธุ์ 1 ท่อน
- การนำกิ่งตาไปใช้ต้องให้เร็วที่สุดภายใน 3 วัน แต่ถ้าชุบขี้ผึ้งที่ปลายทั้ง 2 ข้างของกิ่งตา จะสามารถยืดเวลาการนำไป ใช้ได้นานถึง 5 วัน และต้องหมั่นรดน้ำให้เปียกชื้นอยู่เสมอ
การสร้างแปลงกล้ายาง : ถือหลักพิจารณาสภาพพื้นที่ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่สำหรับสร้างแปลงกล้า
- ควรเป็นที่ราบ สามารถระบายน้ำได้ดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำ การคมนาคมสะดวก ควรเป็น ดินร่วน ดินที่ไม่เหมาะสม คือดินทรายจัด และดินเหนียว เพราะการระบายน้ำไม่ดี
2. การเตรียมดิน
- ไถพลิกดิน 2 ครั้ง หลังจากนั้นไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง เพื่อให้พื้นที่เรียบสม่ำเสมอ ในขณะเดียว กัน ควรเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงปลูกให้หมด ในการไถพรวนครั้งสุดท้าย ควรหว่านปุ๋ยรอกฟอสเฟต 100 กก./ไร่
3. ชนิดและสิ่งปลูก
- ปลูกด้วยเมล็ดสด ใช้เมล็ดยางที่เก็บมาจากสวน นำไปปลูกในแปลงโดยเรียงเมล็ด การปลูกโดยวิธีนี้ใช้เมล็ดไร่ ละประมาณ 250-300 กก. เมื่อเมล็ดงอกจะต้อง ถอนแยก คัดต้นเลวออกให้เหลือเฉพาะที่ แข็งแรง ไว้สำหรับติดตา
- ปลูกด้วยเมล็ดงอก ปลูกโดยการนำเมล็ดมาเพาะเสียก่อน แล้วนำเมล็ดที่เริ่มงอก แต่ยังไม่แตกหน่อ หรือออก รากไปปลูกในแปลง
- ปลูกต้นกล้า 2 ใบ ใช้ต้นกล้าที่แตกใบแล้ว ซึ่งได้จากการเพาะหรือถอนจากสวนยางไปปลูก
การคำนวณเมล็ดที่ใช้เพาะกล้ายาง :
- เมล็ดยางใหม่ 1 ปี๊บ หนักประมาณ 9-10 กก. มีประมาณ 1,800-2,000 เมล็ด เมล็ดยาง 1 กก. มีประมาณ 200-240 เมล็ด เมล็ดยาง 1 กระสอบป่าน หนักประมาณ 55-60 กก. ปกติเมล็ดยางใหม่จะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกประมาณ 80-90% ถ้า เก็บเมล็ดยางไว้นานเกิน 10 วัน เปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงเหลือเพียงประมาณ 40-50%
การเตรียมแปลงเพาะเมล็ดยาง:
1. ขุดพลิกดินให้ลึกประมาณ 20 ซม. แล้วพรวนดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ
2. เก็บเศษรากไม้ที่ปนอยู่ในแปลงออกให้หมด
3. ยกแปลงขนาดกว้าง 1 เมตร สูงประมาณ 15-20 ซม. ส่วนความยาวของแปลงขึ้นอยู่กับจำนวนเมล็ดที่ใช้เพาะ
4. ใช้แกลบหรือขี้เลื่อยเก่า ๆ กลบบนแปลงเพาะแล้วเกลี่ยให้เรียบสม่ำเสมอ
แปลงเพาะอาจจะทำในระหว่างแถวยางใหญ่ก็ได้ ซึ่งไม่ต้องทำร่มกันแดดให้อีกแต่ถ้าทำในที่โล่งแจ้งจะต้องทำเพิงคลุม ให้ร่ม โดยใช้ใบมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ๆ
การจัดเรียงเมล็ดบนแปลงเพาะ ;
1. เกลี่ยเมล็ดยางให้เรียงกันเพียงขั้นเดียว และสม่ำเสมอกันตลอดทั้งแปลง
2. คว่ำด้านแบนของเมล็ดยางลงและกดเบา ๆ
3. ใช้แกลบหรือขี้เลื่อยกลบทับอีกครั้งเพียงเบา ๆ
4. รดน้ำบนแปลงเพาะเบา ๆ เช้า-เย็น ทุกวัน (หากฝนตกไม่จำเป็นต้องรดน้ำอีก)
5. หลังจากเพาะเมล็ดได้ 5 วัน หมั่นตรวจดูเมล็ดงอกในแปลงเพาะทุกวัน
6. นำเมล็ดที่งอกแล้วไปปลูกในแปลงชำทุก ๆ วัน และควรทำด้วยความระมัดระวัง
7. คัดเมล็ดที่ไม่งอกภายใน 14 วันนับจากวันเพาะทิ้ง เพราะเมล็ดที่งอกหลังจากนี้จะเป็นกล้ายางที่ไม่สมบูรณ์ การทิ้ง เมล็ดยางที่งอกแล้วไว้ในแปลงนาน ๆ จะทำให้รากยาว การขนย้ายไปปลูกจะทำให้รากหักเสียหายง่าย
การปลูกในแปลงกล้ายางโดยใช้เมล็ดงอก:
- หลังจากเตรียมดินในแปลงเรียบร้อยแล้ว การปลูกด้วยเมล็ดงอกใช้ระยะปลูก 15x70 ซม.หรือ 20x70 ซม. จะปลูก ได้ประมาณ 15,000 ต้น และ 12,000 ต้น ตามลำดับ
การบำรุงรักษาแปลงกล้ายาง:
- แปลงกล้ายางควรได้รับการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้กล้ายางที่เจริญเติบโตแข็งแรงและสมบูรณ์เต็มที่ ในการ บำรุงรักษาควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
ก. การกำจัดวัชพืช - การกำจัดวัชพืชในแปลงกล้ายางนิยมใช้สารเคมี เพราะจะประหยัดค่าใช้จ่าย ได้ดีกว่าใช ้แรงงาน
ครั้งที่ 1 - กำจัดวัชพืชก่อนงอก ทำการพ่นสารเคมีก่อนหรือหลังการปลูก โดยใช้ไดยูรอน อัตรา 250 กรัม(สารออกฤทธิ์) ผสมน้ำ 80 ลิตรต่อไร่ ใช้หัวฉีดสีแดงเบอร์ 0.078
ครั้งที่ 2 - หลังจากปลูกได้ 6-8 สัปดาห์ ถากวัชพืชให้หมด แล้วพ่นด้วย ไดยูรอน อัตรา 120 กรัม(สารออกฤทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ใช้หัวฉีดสีเหลือง เบอร์ 0.040
ครั้งที่ 3 - เมื่อต้นกล้ายางอายุ 4 เดือน ให้ถากวัชพืชออก แล้วพ่นตามด้วย ไดยูรอน ในอัตราเดิม
ครั้งที่ 4 - ระยะติดตา ใช้ พาราควอท อัตรา 60 กรัม(สารออกฤทธิ์)ต่อไร่ ผสมน้ำ 50-80 ลิตร ใช้หัวฉีดสีเหลือง เบอร์ 0.040
ข. การใส่ปุ๋ย - ต้นกล้ายางที่ตั้งตัวได้แล้ว ควรใส่ปุ๋ยเป็นระยะ ๆ ต้นกล้ายางจะแข็งแรง และเจริญเติบโตเร็ว
1. เตรียมดินใช้ปุ๋ยรอกฟอสเฟต 100 กก.
2. ปุ๋ยที่ใช้สำหรับกล้ายาง
- สำหรับดินทราย ใช้ปุ๋ยผสมสูตร 8-13-7 หรือปุ๋ยเม็ดสูตร 10-5-9
- สำหรับดินร่วน ใช้ปุ๋ยผสมสูตร 8-14-3 หรือปุ๋ยเม็ดสูตร 11-6-4
3. ใส่ปุ๋ยทุกระยะ 1-2-3 เดือนหลังปลูกและใส่อีกครั้งก่อนติดตา 1 เดือน
4. ใช้ปุ๋ยในอัตราครั้งละประมาณ 60 กก.ต่อไร่ ทั้งหมดจะใช้ปุ๋ยประมาณ 240 กก.ต่อไร่
วิธีใส่ปุ๋ย:
1. กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง
2. การใส่ปุ๋ย 2 ครั้งแรก หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างประมาณ 8 ซม. โดยหว่านให้ห่างจากแถวยางข้างใดข้างหนึ่งประมาณ 3.5 ซม.
3. การใส่ปุ๋ยครั้งต่อไปควรหว่านปุ๋ยให้ทั่วแปลง และควรระมัดระวังอย่าให้ปุ๋ยถูกใบอ่อนของกล้ายาง
ค. การคลุมดิน - ควรคลุมดินเมื่อต้นยางอายุได้ 2 เดือน เป็นต้นไป เพื่อควบคุมวัชพืชและควบคุมความชื้นในดิน ให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้ายาง วัสดุที่ใช้ควรเป็นเศษวัชพืช หรือวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ควรใช้วัสดุคลุมดินในระหว่างแถวกล้ายางในท้องที่แห้งแล้ง สามารถติดตาต้นกล้าได้ก่อนการไม่คลุมดิน ประมาณ 2 เดือน
ง. การคัดต้นเลวทิ้ง - ควรกระทำเมื่อต้นกล้ายางได้ประมาณ 2-3 เดือน หลังจากปลูกโดยเลือกถอนต้นยางที่แคระแกร็นหรือต้นยางที่คดงอทิ้ง เหลือไว้ในแปลงสำหรับติดตาเฉพาะต้นกล้ายางที่แข็งแรง ต้นกล้ายาง เมื่ออายุ 6-8 เดือน หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับ 10 ซม. จากพื้นดินได้ไม่ต่ำกว่า 1 ซม. สามารถติดตาได้
หลักเกณฑ์การขอจดทะเบียนแปลงเพาะขยายพันธุ์ยาง:
- แปลงขยายพันธุ์ยางที่จะขอจดทะเบียนเพื่อจำหน่ายนั้น จะต้องเตรียมแปลงให ้เข้าหลักเกณฑ์ในการสร้างแปลงกิ่งตา และการสร้างแปลงกล้ายาง นอกเหนือจากนั้นแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องดำเนินการดังนี้
1. ผู้ประสงค์จะขอจดทะเบียนแปลงเพาะขยายพันธุ์ยาง ต้องกรอกแบบฟอร์มใบยื่นคำขอ แบบ กย.80 ต่อหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ศูนย์วิจัยยาง สำนักงานสงเคราะห์การทำสวนยางทุกจังหวัด ศูนย์บริการวิชาการฯ (สถานีทดลองยางทุกแห่ง)
- สำนักงานเกษตรจังหวัด และเกษตรอำเภอ
(ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี หากพ้นกำหนดนี้จะไม่รับพิจารณา)
2. ผู้ที่ประสงค์จะสร้างแปลงเพาะขยายพันธุ์ยางเพื่อจำหน่าย จะต้องยื่นความจำนงพร้อมรายละเอียดดังนี้
2.1.)ความมุ่งหมายในการสร้างแปลงเพาะขยายพันธุ์ยาง
- เพื่อผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีจำหน่าย
- เพื่อผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดีและต้นตอตายางพันธุ์ดีจำหน่าย
2.2.) แผนที่ที่สร้างแปลง พร้อมทั้งตำบลที่ตั้งของแปลงเพาะขยายพันธุ์ยาง
3. การตรวจสอบพันธุ์ยาง
3.1.) ศูนย์วิจัยยางจะส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบพันธุ์ยาง และการปฏิบัติบำรุงรักษาแปลงเพาะพันธุ์ยางที่จด ทะเบียน แล้วปีละ 2 ครั้ง
ครั้งแรก - จะตรวจสอบก่อนถึงฤดูกาลที่จะใช้กิ่งตายางประมาณ 1-2 เดือน
ครั้งที่สอง - หลังจากหมดฤดูกาลที่ใช้กิ่งตายางแล้วประมาณ 3 เดือน
3.2.) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพันธุ์ยางของศูนย์วิจัยยาง มีอำนาจสั่งหรือทำลาย ขุดถอนพันธุ์ยาง ที่แปลงปลอมปน อยู่ใน แปลงขยายพันธุ์ได้