แมลงวันผลไม้เป็นศัตรูที่สำคัญของผลไม้และพืชผักหลายชนิด เป็นปัญหาใหญ่ของการส่งออก ก่อให้เกิดกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นหมันในการควบคุมแมลงวันผลไม้ เพื่อแก้ปัญหาความเสียหายของผลผลิตจากการทำลายของแมลงวันผลไม้อย่างยั่งยืน
นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมส่งเสริมการเกษตรจะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อ 1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานทั้งสองในการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาแมลงวันผลไม้ ชนิด Bactrocera dorsalis Hendel แถบหลังสีขาวที่แยกเพศได้ด้วยพันธุกรรมในระยะดักแด้ (development of the genetic-sexing strains of white - thoraxed Bactrocera dorsalis Hendel) โดยใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ สำหรับใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและการควบคุมประชากรแมลงวันผลไม้ด้วยเทคนิคการใช้แมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันด้วยรังสี ๒) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนาในสาขาที่เกี่ยวข้อง ๓) สนับสนุนให้นักวิจัยและนักวิชาการมีเครื่องมือและอุปกรณ์วิจัยที่เป็นมาตรฐานสากลในการดำเนินการวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ๔) พัฒนาและผลิตบุคลากร สนับสนุน ส่งเสริมความรู้ด้านการควบคุมประชากรแมลงวันผลไม้ด้วยเทคนิคการใช้แมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันด้วยรังสี และ ๕) ส่งเสริมการนำไปใช้ประโยชน์ในประเทศไทย ทั้งนี้ ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการนี้ มีกำหนดระยะเวลา ๓ ปี
นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมส่งเสริมการเกษตรจะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อ 1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานทั้งสองในการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาแมลงวันผลไม้ ชนิด Bactrocera dorsalis Hendel แถบหลังสีขาวที่แยกเพศได้ด้วยพันธุกรรมในระยะดักแด้ (development of the genetic-sexing strains of white - thoraxed Bactrocera dorsalis Hendel) โดยใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ สำหรับใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและการควบคุมประชากรแมลงวันผลไม้ด้วยเทคนิคการใช้แมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันด้วยรังสี ๒) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนาในสาขาที่เกี่ยวข้อง ๓) สนับสนุนให้นักวิจัยและนักวิชาการมีเครื่องมือและอุปกรณ์วิจัยที่เป็นมาตรฐานสากลในการดำเนินการวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ๔) พัฒนาและผลิตบุคลากร สนับสนุน ส่งเสริมความรู้ด้านการควบคุมประชากรแมลงวันผลไม้ด้วยเทคนิคการใช้แมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันด้วยรังสี และ ๕) ส่งเสริมการนำไปใช้ประโยชน์ในประเทศไทย ทั้งนี้ ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการนี้ มีกำหนดระยะเวลา ๓ ปี
ทั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานจะดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ในประเทศไทย ควบคู่ไปกับการปรับปรุงสายพันธุ์ โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีแมลงเป็นหมันในการควบคุมแมลงวันผลไม้ให้ทัดเทียมมาตรฐานสากลอย่างยั่งยืน และขยายผลไปสู่ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอื่น ๆ พร้อมแลกเปลี่ยนสายพันธุ์แมลงวันผลไม้สายพันธุ์แถบหลังสีขาว และดักแด้สีขาวสายพันธุ์บริสุทธิ์ รุ่นลูกรุ่นที่ 2 เพื่อให้กรมส่งเสริมการเกษตรนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ควบคุมประชากรแมลงวันผลไม้ ในพื้นที่การเกษตร ด้วยเทคนิคการใช้แมลงวันผลไม้ที่เป็นหมันด้วยรังสี ให้แก่เกษตรกรโดยไม่แสวงหาผลกำไร และจะทำการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตร และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ในวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ ? ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๔/๒ อาคาร ๑ ชั้น ๔ กรมส่งเสริมการเกษตร
นายโอฬาร กล่าวเพิ่มเติมว่า การใช้แมลงวันที่เป็นหมันควบคุมแมลงวันผลไม้ด้วยกันเอง ด้วยเทคนิคแมลงที่ เป็นหมันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดปริมาณแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติได้ เพราะแมลงวันผลไม้ตัวผู้ที่เป็นหมัน เมื่อไปผสมพันธุ์กับแมลงวันผลไม้ตัวเมียในธรรมชาติ จะทำให้ตัวเมียวางไข่ที่ไม่สามารถฟักออกมาเป็นหนอนได้ ทำให้ผลผลิตไม่เน่าเสีย การขยายพันธุ์ของแมลงก็ลดลงไปเรื่อยๆ จนหมดไปในที่สุด นอกจากนั้นยังช่วยลดปริมาณการใช้สารเคมีในการควบคุมกำจัดแมลงวันผลไม้ ถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการควบคุม กำจัดแมลงวันผลไม้อย่างยั่งยืน และเกษตรกรผู้ผลิตจะปลอดภัยจากการใช้สารเคมีมากขึ้น สิ่งแวดล้อมก็จะสะอาดมากขึ้น ทั้งยังช่วยลดต้นทุนค่าสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช ผู้บริโภคได้บริโภคผลไม้พืชผักที่ปลอดภัยจากสารเคมี และเกษตรกรสามารถส่งออกผลผลิตได้มากขึ้น