นายสมชายกล่าวต่อว่า กระบวนการรับรองมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ หรือออร์แกนิก กระทรวงเกษตรฯได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามหลักสากล โดยมาตรฐาน GAP รับผิดชอบโดยกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ส่วนมาตรฐาน Organic รับผิดชอบโดยกรมวิชาการเกษตร และ มกอช. ซึ่งทั้ง 2 มาตรฐานดังกล่าว จะตรวจสอบและประเมินอย่างละเอียดตามข้อกำหนดในแปลงเกษตรกรอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ตั้งแต่ปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ตลอดจนการตรวจสอบการใช้สารเคมีของเกษตรกร และการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ก่อนที่จะออกใบรับรองมาตรฐาน GAP และอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย Q ติดบนตัวสินค้า และมีการตรวจติดตาม โดยเจ้าหน้าที่จะติดตามตรวจประเมินแปลง GAP ทุกปี และเกษตรกรต้องยื่นขอรับการตรวจต่ออายุใบรับรองใหม่เมื่อใบรับรองเดิมใกล้หมดอายุ
"ขณะนี้ก็ได้ให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการด้านข้อมูล เบื้องต้นอาจจะต้องดำเนินการในกรณีของการหมิ่นประมาท ซึ่งไทยแพนได้มีการเผยแพร่ข้อมูลลักษณะนี้สู่สาธารณชนมาตลอด 3 ปี ปีที่แล้วก็ใช้ช่วงเวลาเดียวกันกับปีนี้ หากไม่ดำเนินการใดปีหน้าต้องมีอีก อย่างไรก็ดี เราขอบคุณทางไทยแพนที่ทำเรื่องนี้ขึ้นมา และภาคประชาสังคมช่วยกันเป็นหูเป็นตาในแง่ของบทบาทผู้บริโภค แต่วิธีการนำเสนอต่อสาธารณะน่าจะต้องมีการนำเสนอให้ถูกต้อง เพราะนอกจากจะทำให้ประชาชนเกิดความตกอกตกใจแล้ว ยังเกิดความเสียหายต่อหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล" นายสมชายกล่าว
"ขณะนี้ก็ได้ให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการด้านข้อมูล เบื้องต้นอาจจะต้องดำเนินการในกรณีของการหมิ่นประมาท ซึ่งไทยแพนได้มีการเผยแพร่ข้อมูลลักษณะนี้สู่สาธารณชนมาตลอด 3 ปี ปีที่แล้วก็ใช้ช่วงเวลาเดียวกันกับปีนี้ หากไม่ดำเนินการใดปีหน้าต้องมีอีก อย่างไรก็ดี เราขอบคุณทางไทยแพนที่ทำเรื่องนี้ขึ้นมา และภาคประชาสังคมช่วยกันเป็นหูเป็นตาในแง่ของบทบาทผู้บริโภค แต่วิธีการนำเสนอต่อสาธารณะน่าจะต้องมีการนำเสนอให้ถูกต้อง เพราะนอกจากจะทำให้ประชาชนเกิดความตกอกตกใจแล้ว ยังเกิดความเสียหายต่อหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล" นายสมชายกล่าว
ทั้งนี้ กระแสข่าวก่อนหน้านี้ นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หนึ่งในสมาชิกไทยแพนได้แถลงว่า ผลการตรวจทั้งหมดของไทยแพนได้นำเสนอต่อห้างค้าปลีกและสมาคมตลาดสดไทย รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มกอช. กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) โดยผลการตรวจชี้ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย มกอช. และกรมวิชาการเกษตรจะต้องยกเครื่องการให้ตรารับรอง Q และออร์แกนิคไทยแลนด์อย่างจริงจังโดยทันที เพราะถ้าสภาพปัญหาที่ยังพบสารตกค้างเช่นนี้ ประชาชนทั่วไปจะขาดความเชื่อถือในตรารับรองดังกล่าว รวมถึงต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย
ต่อมาด้าน มกอช.ได้ออกมาเตือนผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนกข่าว กรณีไทยแพนตรวจพบสารตกค้างปนเปื้อนพืชผลไม้ "Q" และสินค้าออร์แกนิก เพราะการสุ่มเก็บตัวอย่างแต่ละชนิดพืชจำนวนน้อย "ผิดหลักวิชาการ"ยืนยันว่ากระบวนการรับรอง GAP เกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นไปตามสากล
ล่าสุดนางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยาได้เปิดเผยว่า ทางไทยแพนยินดีพร้อมที่จะให้สาธารณชนร่วมกันตรวจสอบโดยใช้ข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย มาพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเพราะวัตถุประสงค์ของไทยแพนคือการนำเสนอข้อมูลในฐานะผู้บริโภค
ต่อมาด้าน มกอช.ได้ออกมาเตือนผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนกข่าว กรณีไทยแพนตรวจพบสารตกค้างปนเปื้อนพืชผลไม้ "Q" และสินค้าออร์แกนิก เพราะการสุ่มเก็บตัวอย่างแต่ละชนิดพืชจำนวนน้อย "ผิดหลักวิชาการ"ยืนยันว่ากระบวนการรับรอง GAP เกษตรอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นไปตามสากล
ล่าสุดนางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยาได้เปิดเผยว่า ทางไทยแพนยินดีพร้อมที่จะให้สาธารณชนร่วมกันตรวจสอบโดยใช้ข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย มาพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเพราะวัตถุประสงค์ของไทยแพนคือการนำเสนอข้อมูลในฐานะผู้บริโภค