นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ทุเรียนเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ประเทศอินโดนีเซียอนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้ ภายใต้กฎระเบียบการจำกัดปริมาณการนำเข้าของกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย ซึ่งปีที่ผ่านมา ไทยได้ส่งออกทุเรียนไปยังอินโดนีเซียรวมกว่า 6,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 260 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ปี 2559 นี้ กระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียแจ้งว่า การนำเข้าในช่วงแรกของปี (เดือนมกราคม-มิถุนายน) ไทยสามารถส่งออกทุเรียนไปอินโดนีเซียได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น คือ ในเดือนมิถุนายน เนื่องจากช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2559 เป็นช่วงที่ผลผลิตทุเรียนของอินโดนีเซียออกสู่ตลาดจำนวนมาก ทำให้ราคาทุเรียนในประเทศตกต่ำ หากมีการนำเข้าจากไทยอาจส่งผลกระทบต่อราคาทุเรียนของอินโดนีเซีย
จากกรณีดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้นายชุมเจตน์ กาญจนเกสร ผู้อำนวยการสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงจาการ์ตา ได้เร่งประสานงานกับกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย ให้พิจารณาการนำเข้าทุเรียนจากไทยช่วงที่ 2 ในครึ่งปีหลัง ทางฝ่ายอินโดนีเซียรับที่จะพิจารณาข้อเสนอของไทย ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสทางการค้าและสามารถผลักดันส่งออกทุเรียนไทยได้เพิ่มสูงขึ้น อันจะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนของไทยซึ่งจะมีช่องทางกระจายผลผลิตเพิ่มและมีรายได้มากขึ้นด้วย
"ขณะเดียวกันสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงจาการ์ตา ยังได้เจรจากับอินโดนีเซียเพื่อให้พิจารณาการนำเข้าทุเรียนจากไทยปี 2560 ในช่วงที่ 1 โดยขอเพิ่มระยะเวลาการนำเข้าจาก 1 เดือนเป็น 2 เดือน คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2560 เนื่องจากไทยจะมีผลผลิตทุเรียนคุณภาพดีออกสู่ตลาดมากในช่วงดังกล่าว ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของอินโดนีเซียอีกครั้ง" เลขาธิการ มกอช.กล่าว
นางสาวดุจเดือนกล่าวอีกว่า การส่งออกทุเรียนไทยไปยังอินโดนีเซียในช่วงแรกของปี 2559 นี้ ผู้ประกอบการมีเวลาค่อนข้างจำกัดเพียง 1 เดือนเท่านั้น จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการส่งออกทุเรียนให้ดี ตั้งแต่การคัดเลือกทุเรียนและตรวจวิเคราะห์สารตกค้างตามเงื่อนไขของประเทศคู่ค้า โดยมีห้องปฏิบัติการของไทย 9 แห่ง ที่กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียให้การรับรอง เพื่อให้สามารถส่งออกทุเรียนได้ทันตามเวลาตามเวลาที่กำหนด และผลักดันส่งออกทุเรียนไทยไปอินโดนีเซียให้ได้มากที่สุด โดยทุเรียนสามารถส่งไปยังทุกด่านของอินโดนีเซียได้
ปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า จะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดรวม ประมาณ 595,000 ตัน น้อยกว่าปี 2558 ที่มีผลผลิตกว่า 600,000 ตัน โดยผลผลิตจะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนเมษายน และคาดว่าจะออกมากในช่วงเดือนพฤษภาคม อีกทั้งยังคาดว่า การส่งออกทุเรียนปีนี้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง อาทิ ตลาดจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และเวียดนาม เป็นต้น โดยปีนี้ไทยได้มีการส่งออกทุเรียนสดไปต่างประเทศแล้วกว่า 8,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท
"ขณะนี้สถานการณ์ตลาดและราคาทุเรียนภายในประเทศก็เป็นไปด้วยดีเช่นกัน โดยเฉพาะต้นฤดูทุเรียนจะมีราคาแพงมาก เนื่องจากอัตราการบริโภคทุเรียนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากผู้บริโภคภายในประเทศแล้ว การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งชาวจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่ไม่พลาดที่จะลิ้มลองรสชาติผลไม้ไทย และทุเรียนเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก สังเกตจากที่นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการตลาด อ.ต.ก. มักซื้อทุเรียนแกะเปลือกแล้วบริโภคทันที เป็นสินค้าที่ขายดีมาก" เลขาธิการ มกอช.กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปี 2559 นี้ กระทรวงเกษตรของอินโดนีเซียแจ้งว่า การนำเข้าในช่วงแรกของปี (เดือนมกราคม-มิถุนายน) ไทยสามารถส่งออกทุเรียนไปอินโดนีเซียได้เพียง 1 เดือนเท่านั้น คือ ในเดือนมิถุนายน เนื่องจากช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2559 เป็นช่วงที่ผลผลิตทุเรียนของอินโดนีเซียออกสู่ตลาดจำนวนมาก ทำให้ราคาทุเรียนในประเทศตกต่ำ หากมีการนำเข้าจากไทยอาจส่งผลกระทบต่อราคาทุเรียนของอินโดนีเซีย
จากกรณีดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้นายชุมเจตน์ กาญจนเกสร ผู้อำนวยการสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงจาการ์ตา ได้เร่งประสานงานกับกระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย ให้พิจารณาการนำเข้าทุเรียนจากไทยช่วงที่ 2 ในครึ่งปีหลัง ทางฝ่ายอินโดนีเซียรับที่จะพิจารณาข้อเสนอของไทย ซึ่งจะช่วยขยายโอกาสทางการค้าและสามารถผลักดันส่งออกทุเรียนไทยได้เพิ่มสูงขึ้น อันจะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนของไทยซึ่งจะมีช่องทางกระจายผลผลิตเพิ่มและมีรายได้มากขึ้นด้วย
"ขณะเดียวกันสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงจาการ์ตา ยังได้เจรจากับอินโดนีเซียเพื่อให้พิจารณาการนำเข้าทุเรียนจากไทยปี 2560 ในช่วงที่ 1 โดยขอเพิ่มระยะเวลาการนำเข้าจาก 1 เดือนเป็น 2 เดือน คือ ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2560 เนื่องจากไทยจะมีผลผลิตทุเรียนคุณภาพดีออกสู่ตลาดมากในช่วงดังกล่าว ซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของอินโดนีเซียอีกครั้ง" เลขาธิการ มกอช.กล่าว
นางสาวดุจเดือนกล่าวอีกว่า การส่งออกทุเรียนไทยไปยังอินโดนีเซียในช่วงแรกของปี 2559 นี้ ผู้ประกอบการมีเวลาค่อนข้างจำกัดเพียง 1 เดือนเท่านั้น จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการส่งออกทุเรียนให้ดี ตั้งแต่การคัดเลือกทุเรียนและตรวจวิเคราะห์สารตกค้างตามเงื่อนไขของประเทศคู่ค้า โดยมีห้องปฏิบัติการของไทย 9 แห่ง ที่กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียให้การรับรอง เพื่อให้สามารถส่งออกทุเรียนได้ทันตามเวลาตามเวลาที่กำหนด และผลักดันส่งออกทุเรียนไทยไปอินโดนีเซียให้ได้มากที่สุด โดยทุเรียนสามารถส่งไปยังทุกด่านของอินโดนีเซียได้
ปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า จะมีผลผลิตทุเรียนออกสู่ตลาดรวม ประมาณ 595,000 ตัน น้อยกว่าปี 2558 ที่มีผลผลิตกว่า 600,000 ตัน โดยผลผลิตจะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนเมษายน และคาดว่าจะออกมากในช่วงเดือนพฤษภาคม อีกทั้งยังคาดว่า การส่งออกทุเรียนปีนี้จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง อาทิ ตลาดจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และเวียดนาม เป็นต้น โดยปีนี้ไทยได้มีการส่งออกทุเรียนสดไปต่างประเทศแล้วกว่า 8,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท
"ขณะนี้สถานการณ์ตลาดและราคาทุเรียนภายในประเทศก็เป็นไปด้วยดีเช่นกัน โดยเฉพาะต้นฤดูทุเรียนจะมีราคาแพงมาก เนื่องจากอัตราการบริโภคทุเรียนเพิ่มสูงขึ้น นอกจากผู้บริโภคภายในประเทศแล้ว การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งชาวจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวจีนส่วนใหญ่ไม่พลาดที่จะลิ้มลองรสชาติผลไม้ไทย และทุเรียนเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก สังเกตจากที่นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการตลาด อ.ต.ก. มักซื้อทุเรียนแกะเปลือกแล้วบริโภคทันที เป็นสินค้าที่ขายดีมาก" เลขาธิการ มกอช.กล่าว