นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธฺการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ภาคการเกษตร ครึ่งปีแรกของปี 2558 (ม.ค.-มิ.ย. 2558 )จีดีพีภาคการเกษตจร มีมูลค่า ณ ปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 741,744 ล้านบาท ลดลง 4.2% จากช่วงเดียวกันของปี 2557 ที่มีมู,ค่า 765,031 ล้านบาท และจากปัญหาภัยแล้งที่จะยังมีอิทธิพลยาวไปจนถึงช่วงกลางปี 2559 คาดการณ์ว่าแนวโน้มตลอดปีนี้ ทำให้จีดีพี ภาคการเกษตร ตลอดปี 2558 จะมีมูลค่าประมาณ 1.38 ล้านล้านบาท หรือติดลบ ในกรอบ 3.3-4.3 % จากปี 2557 ที่มีมูลค่า จีดีพี ทั้งปี 1.41 ล้านล้านบาท หรือติดลบมากสุดในรอบ 36 ปี นับตั้งแต่มีการจัดตั้ง สศก. เพื่อจัดเก็บข้อมูลการเกษตรประเทศไทย โดยมีภัยแล้ง เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้จีดีพีภาคเกษตรติดลบอย่างมาก "สิ่งที่ สศก. เป็นห่วงมากที่สุด เมื่อภาคเกษตรหดตัวมาก คือ ความเป็นอยู่ ของเกษตรกร ประการแรกคือ หนี้สิน โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่จะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และตามมาด้วยปัญหาเกษตรกรสูญเสียที่ดิน ขายเพื่อถือเงินก้อนไว้ก่อน ถ้าวันนี้รักษาเกษตรกรไว้ไม่ได้ ก็จะมีปัญหาสูญเสียที่ดินจำนวนมาก ปัญหาใหญ่ระดับชาติก็จะตามมา เพราะมีนายทุนต่างชาติรอกว้านซื้อที่ดิน เพื่อเข้ามาทำเกษตรในประเทศไทยอยู่แล้ว รวมทั้งในธุรกิจผลไม้ จะมีชาวต่างชาติเข้ามายึดธุรกิจ เกษตรไทยอีกจำนวนมากขึ้นไปอีก" ทั้งนี้รัฐบาลได้วางแนวทางรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่กระทบเกษตรกรอย่างหนักเอาไว้แล้ว ตอนนี้รัฐบาลมีมาตรการพักชำระหนี้ให้เกาตรกร และนายปีตีพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว. เกษตรและสหกรณ์ สั่งการนโยบายชัดเจนว่ทุกหน่วยงานต้องแร่งลงพื้นที่ในเกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยหรือทำปศุสัตว์ รวมทั้งให้มาตรการจ้างงานเพื่อให้พอมีรายได้ประคับประคองชีวิต เพื่อไม่ต้องย้ายออกจากพื้นที่เข้ามาในเมือง ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา จากเดิมที่เคยคิดว่าจะทำราคาพืชผลให้ได้เพิ่มขึ้น 20-30 % จากต้นทุน ตอนนี้ต้องเปลี่ยนวิธีคิดแล้ว นายเลอศักดิ์ กล่าวว่า รายละเอียดจีดีพีภาคการเกษตร ครึ่งปีแรกของปี 2558 ที่หดตัวลง 4.2% นั้นมีแรงฉุดจากสาขาพืชที่หดตัว 7.3 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภัยแล้ง ที่ทำให้รัฐบาล ต้องประกาศงดการปลูกข้าวนาปรัง 2557/58 และ การขอเลื่อนและยุติการปลูกข้าวนาปรัง 2558 ในพื้นที่ชลประทาน 22 จัวหวัดของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในขณะที่ด้านราคาข้าวขยับขึ้น แต่มีปัจจัยกดดันจากาต๊อกข้าในมือรัฐที่ยังสูง นอกจากนี้ ภัยแล้ง ยังทำให้ผลผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสินค้าผลไม้ลดลง ทั้งทุเรียน มังคุด และ เงาะลดลง นอกจากนี้ภัยแล้ง ยังทำให้สาขาบริการภาคการเกษตรลดลงถึง 6.6 % เนื่องจากพพื้นที่ปลูกข้าวนาปี ทัวประเทศลดลง จาก 27 ล้านไร่ เหลือประมาณ 23 ล้านไร่ หรือ ลดลงประมาณ 17% ขณะที่สาขาปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ 2.1% การส่งออกยังค่อนข้างดี โดยเฉพาะสินค้าไก่ เนื่องจากประเทศผู้ซื้อมั่นใจคูณภาพระบบการเลี้ยงของไทย แต่ยังตัองติดตามผลกระทบภัยแล้งว่าจะทำให้เผลผลิตลดลงเพียงใด เนื่องจากมีรายงานว่าเกษตรกรเริ่มขาดน้ำเลี้ยงไก่ ส่วนสาขาประมง ขยายตัวได้ 2.2 % เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้น จากโรคตายด่วย ที่เริ่มคลี่คลาย ประกอบกับการทำประมงทะเลที่ลดลงจากการควบคุมการทำประมงของภาครัฐ ส่วนสาขาป่าไม้ขยายตัวได้ 3.5 % จากการโค่นไม้ยางและยูคาลิปตัสมากขึ้น สำหรับผลกระทบภัยแล้วที่คาดว่าจะมีต่อการผลิตข้าวปีนี้คาดว่าพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ ทั้งนาปีและนาปัง จะมีไม่เกิน 54 ล้านไร่ ลดลงจากปกติที่มีการปลูกเต็มพื้นที่ประมาณ 60-70 ล้านไร่ ทั้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำอื่นๆ แต่คาดว่าผลผลิตข้าวนาปี ในปีนีจะลดลงเหลือประมาณ 27 ล้านตันข้าวเปลือก ขณะที่การปลูกข้าวนาปรัง 2558/59 ยังประเมินไม่ได้ว่าจะเหลือน้ำต้นทุนให้ปลูกมากน้อยเพีนงใด แต่เชื่อว่าคงปลูกไม่ได้มาก ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย และทำอาชีพอื่นทดแทน ผู้สื่อข่าวถามเพิ่มเติมว่า ผลผลิตข้าวที่ลดลงจะกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยหรือไม่ นายเลอศักดิ์ กล่าวว่าอยากให้มองวิกฤติภัยแล้งครั้งนี้เป็นโอกาสว่าจะช่วยปรับสมดุลข้าวในประเทศ จากเดิมที่คิดกันว่าจะใช้เวลาลดสต๊อกข้าว รัฐจากโครงการรับจำนำ ให้ตลาดข้าวสมดุลต้องใช้เวลาถึงปี 2563 เมื่อผลผลิตข้าวลดลงจากภัยแล้ง สมดุลข้าวน่าจะปรับตัวดีขึ้นเร็วกว่าที่คาด. --------------------------- ^ ^ --------------------------- ที่มา : "ข่าวเศรษฐกิจทั่วไทย".หน้า 8 .ไทยรัฐ. ฉบับวันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม 2558 |



