"ขณะเดียวกันไทยยังได้เสนอแนวทางการปฏิบัติของ สปป.ลาว ให้สอดคล้องกับมาตรฐานดังกล่าวโดยให้เร่งเผยแพร่ข้อมูลและจัดอบรม เกี่ยวกับการควบคุมและตรวจสอบปริมาณอะฟลาทอกซินแก่ผู้ผลิตและผู้ส่งออก ทั้งยังให้ตรวจสอบรับรองขึ้นทะเบียนผู้ผลิตและผู้ส่งออกโดย CA หรือหน่วยรับรอง หรือ CB (Certification Body) ที่ได้รับการยอมรับจาก มกอช. นอกจากนั้น ยังควรมีห้องปฏิบัติการตรวจสอบปริมาณอะฟลาทอกซินของภาครัฐ หรือเอกชนที่เป็นที่ยอมรับจากฝ่ายไทย และใช้วิธีการวิเคราะห์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยผู้ส่งออกต้องแสดงผลวิเคราะห์ประกอบการส่งออกสินค้าทุกชิปเม้นท์" นายศักดิ์ชัย กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ สปป.ลาว เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานบังคับถั่วลิสง แบ่งเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะแรกจะดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการควบคุมการผลิตและส่งออกถั่วลิสงแก่เจ้าหน้าที่ของ สปป.ลาว โดยจะอบรมเกี่ยวกับข้อกำหนดในมาตรฐาน แนวทางการควบคุมการผลิตและส่งออก กระบวนการปฏิบัติ และจัดการหลังการเก็บเกี่ยว รวมถึงการผลิตตามแนวทางจีเอ็มพี (GMP) และเทคนิคการตรวจวิเคราะห์อะฟลาทอกซินโดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) ส่วนระยะที่ 2 การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและรับรองผู้ผลิตและผู้ส่งออก และระยะที่ 3 เป็นการฝึกอบรมให้คำแนะนำการตรวจวิเคราะห์ปริมาณอะฟลาทอกซินในห้องปฏิบัติการ และการออกใบรับรองผลวิเคราะห์อะฟลาทอกซิน ------------------------ ^ ^ ------------------------ ที่มา : "เกษตร".แนวหน้า.(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก : http://www.naewna.com/local/163424 |



