ทั้งนี้ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงาน มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี การผลิต 2560/2561 ด้านการตลาด ในการดึงอุปทานข้าวเปลือกออกจากตลาด 12.5 ล้านตัน ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอขายข้าวเปลือก และการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวค่าปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกร /โครงการสินเชื่อ เพื่อรวบรวมข้าว และสร้างมูลค่าเพิ่ม /โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ที่สามารถดึงอุปทานออกจากตลาดได้ 6.1 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 49.7 ของเป้าหมาย ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกทุกชนิดปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่มีราคาถึงตันละ 17,000 บาท
นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบผลเชื่อมโยงตลาดข้าว กข 43 ซึ่งมุ่งสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการหันมาปลูกข้าว กข 43 เพราะเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ มีดัชนีน้ำตาลในระดับปานกลางถึงต่ำ เหมาะกับการบริโภคเพื่อสุขภาพ ซึ่งในปีนี้มีปริมาณความต้องการข้าว 1,121 ตันที่ทางหน่วยงานราชการได้ประสานกับผู้ประกอบในการรับซื้อไปจำหน่ายแล้ว จึงทำให้เห็นได้ว่ามีความต้องการปริมาณข้าว กข. 43 ในปีหน้า อย่างแน่นอน
ซึ่งเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้ทางกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะกำหนดมาตรฐาน และสัญญลักษณ์ยืนยันมาตรฐานสินค้าให้ ทั้งนี้จะมีพิธีลงนามบนทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือ MOU ในวันที่ 11 พค.นี้ โดยนายกรัฐมนตรีจะร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ในการบริโภคข้าว กข 43 ผ่านหลากหลายช่องทาง
อธิบดีกรมการค้าภายใน ยังกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ราคาข้าวในตลาดโลก ยังมีความต้องการและคำสั่งซื้อต่อเนื่อง ขณะที่ข้าวนาปรังได้ออกสู่ตลาดทั้งหมดแล้ว โดยการส่งมอบข้าวแบบจีทูจี ให้กับจีนในงวดที่ 5 จำนวน 1 แสนตันจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. ขณะที่ทางฟิลิปินส์ จะเปิดประมูลข้าวแบบจีทูจี ปริมาณ 2.5 แสนตัน ในวันที่ 4 พ.ค.นี้ ซึ่งถือเป็นโอกาสการเข้าร่วมประมูลของไทย
"ทั้งหมดถือเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อราคาข้าวที่ปีนี้ราคาข้าวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา ที่พบว่า ก่อนดำเนินโครงการ 16 ต.ค. 60 ถึง 23 เมษายน 2561 ราคาข้าวมีการปรับตัวสูงขึ้น"
แบ่งเป็น ข้าวหอมมะลิจาก 11,550 -14,500 บาทต่อตัน ปัจจุบันปรับเป็น 15,300-17,400 บาทต่อตัน ข้าวเหนียวเมล็ดยาว จาก 7,200-12,000 บาทต่อตัน ปัจจุบันปรับเป็น 9,500-10,300 บาทต่อตัน ข้าวจ้าว 5% จาก 7,300-7,800 บาทต่อตัน ปัจจุบันปรับเป็น 7,800-8,400 บาทต่อตัน ข้าวปทุมธานี จาก 8,500-9,000 บาทต่อตัน ปัจจุบันปรับเป็น 11,000-12,100 บาทต่อตัน
โดยปีนี้มีปริมาณข้าวในประเทศไทย มีประมาณ 30 ล้านตันต่อปีใกล้เคียงปีที่ผ่านมา แต่ราคาข้าวขยับขึ้น เป็นเพราะมาตรการของรัฐบาล ในการดูดซับปริมาณผลผลิตที่ออกมาพร้อมกันในฤดูกาลผลิต ทำให้เกิดความสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน แต่ในขณะที่ข้าวในโครงการดูดซับปริมาณนั้นสามารถเก็บรักษาไว้ แล้วทยอยออกมาจำหน่ายในช่วงเวลาที่มีความเหมาะสม ซึ่งนโยบายในลักษณะนี้ สามารถแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆได้ เพราะประสบกับปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เว้นแต่ผลไม้ไม่สามารถที่จะเก็บรักษาไว้ได้เหมือนข้าว
สำหรับการระบายข้าวในสต็อก ที่ประชุมรับทราบแผนการระบายข้าว ในกลุ่มที่ 2 และ 3 ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และไม่ใช้บริโภค ปริมาณ 2 ล้านตัน ซึ่งสามารถระบายได้ตามเป้า คือ ภายในสิ้นปี 2561 นี้
นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบผลเชื่อมโยงตลาดข้าว กข 43 ซึ่งมุ่งสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการหันมาปลูกข้าว กข 43 เพราะเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ มีดัชนีน้ำตาลในระดับปานกลางถึงต่ำ เหมาะกับการบริโภคเพื่อสุขภาพ ซึ่งในปีนี้มีปริมาณความต้องการข้าว 1,121 ตันที่ทางหน่วยงานราชการได้ประสานกับผู้ประกอบในการรับซื้อไปจำหน่ายแล้ว จึงทำให้เห็นได้ว่ามีความต้องการปริมาณข้าว กข. 43 ในปีหน้า อย่างแน่นอน
ซึ่งเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้ทางกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะกำหนดมาตรฐาน และสัญญลักษณ์ยืนยันมาตรฐานสินค้าให้ ทั้งนี้จะมีพิธีลงนามบนทึกข้อตกลงความร่วมมือหรือ MOU ในวันที่ 11 พค.นี้ โดยนายกรัฐมนตรีจะร่วมเป็นสักขีพยาน พร้อมประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ในการบริโภคข้าว กข 43 ผ่านหลากหลายช่องทาง
อธิบดีกรมการค้าภายใน ยังกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ราคาข้าวในตลาดโลก ยังมีความต้องการและคำสั่งซื้อต่อเนื่อง ขณะที่ข้าวนาปรังได้ออกสู่ตลาดทั้งหมดแล้ว โดยการส่งมอบข้าวแบบจีทูจี ให้กับจีนในงวดที่ 5 จำนวน 1 แสนตันจะแล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค. ขณะที่ทางฟิลิปินส์ จะเปิดประมูลข้าวแบบจีทูจี ปริมาณ 2.5 แสนตัน ในวันที่ 4 พ.ค.นี้ ซึ่งถือเป็นโอกาสการเข้าร่วมประมูลของไทย
"ทั้งหมดถือเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อราคาข้าวที่ปีนี้ราคาข้าวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา ที่พบว่า ก่อนดำเนินโครงการ 16 ต.ค. 60 ถึง 23 เมษายน 2561 ราคาข้าวมีการปรับตัวสูงขึ้น"
แบ่งเป็น ข้าวหอมมะลิจาก 11,550 -14,500 บาทต่อตัน ปัจจุบันปรับเป็น 15,300-17,400 บาทต่อตัน ข้าวเหนียวเมล็ดยาว จาก 7,200-12,000 บาทต่อตัน ปัจจุบันปรับเป็น 9,500-10,300 บาทต่อตัน ข้าวจ้าว 5% จาก 7,300-7,800 บาทต่อตัน ปัจจุบันปรับเป็น 7,800-8,400 บาทต่อตัน ข้าวปทุมธานี จาก 8,500-9,000 บาทต่อตัน ปัจจุบันปรับเป็น 11,000-12,100 บาทต่อตัน
โดยปีนี้มีปริมาณข้าวในประเทศไทย มีประมาณ 30 ล้านตันต่อปีใกล้เคียงปีที่ผ่านมา แต่ราคาข้าวขยับขึ้น เป็นเพราะมาตรการของรัฐบาล ในการดูดซับปริมาณผลผลิตที่ออกมาพร้อมกันในฤดูกาลผลิต ทำให้เกิดความสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน แต่ในขณะที่ข้าวในโครงการดูดซับปริมาณนั้นสามารถเก็บรักษาไว้ แล้วทยอยออกมาจำหน่ายในช่วงเวลาที่มีความเหมาะสม ซึ่งนโยบายในลักษณะนี้ สามารถแก้ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆได้ เพราะประสบกับปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เว้นแต่ผลไม้ไม่สามารถที่จะเก็บรักษาไว้ได้เหมือนข้าว
สำหรับการระบายข้าวในสต็อก ที่ประชุมรับทราบแผนการระบายข้าว ในกลุ่มที่ 2 และ 3 ที่ใช้ในอุตสาหกรรม และไม่ใช้บริโภค ปริมาณ 2 ล้านตัน ซึ่งสามารถระบายได้ตามเป้า คือ ภายในสิ้นปี 2561 นี้