ทั้งนี้ กฎกระทรวงดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 ม.ค.2560 ที่ได้เห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงเรื่องนี้ เนื่องจากมองว่า ระบบการค้าข้าวปัจจุบัน ประกอบด้วย กระบวนการผลิต การแปรรูป และการจำหน่าย โดยมีเกษตรกรเป็นหน่วยผลิตต้นน้ำ ผลิตในรูปของข้าวเปลือกแล้วขายให้โรงสี พ่อค้าข้าวเปลือก ตัวแทน/นายหน้า (หยง) และสถาบันเกษตรกรหรือสถาบันของรัฐบาล
ซึ่งข้าวเปลือกที่เกษตรกรขาย โรงสีจะทำการแปรรูปเป็นข้าวสารเพื่อส่งออกเองโดยตรง ขายให้หยง โดยหยงจะขายต่อให้กับผู้ส่งออก และขายให้ผู้ค้าส่ง โดยผู้ค้าส่งจะบรรจุเป็นข้าวถุงขายให้ผู้ค้าปลีก ระบบการค้าข้าวมีผู้ประกอบการทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในหลายขั้นตอน แต่ข้อกฎหมายกำหนดให้เฉพาะนิติบุคคลผู้ซื้อข้าวที่เป็นผู้ส่งออกมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายให้กับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เป็นผู้ขายเท่านั้น ส่งผลให้ข้อมูลการบริหารจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากผู้ประกอบการค้าข้าวไม่ครบถ้วน
ดังนั้น ครม.จึงเห็นควรปรับลดการจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีสินค้าเกษตรประเภทข้าว เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพและระบบของการค้าข้าวในปัจจุบันที่มีกระบวนการและมีผู้เกี่ยวข้องหลายขั้นตอน และเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้ที่มีการปรับลดอัตราลง
ที่มา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/048/6.PDF
ซึ่งข้าวเปลือกที่เกษตรกรขาย โรงสีจะทำการแปรรูปเป็นข้าวสารเพื่อส่งออกเองโดยตรง ขายให้หยง โดยหยงจะขายต่อให้กับผู้ส่งออก และขายให้ผู้ค้าส่ง โดยผู้ค้าส่งจะบรรจุเป็นข้าวถุงขายให้ผู้ค้าปลีก ระบบการค้าข้าวมีผู้ประกอบการทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในหลายขั้นตอน แต่ข้อกฎหมายกำหนดให้เฉพาะนิติบุคคลผู้ซื้อข้าวที่เป็นผู้ส่งออกมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้ที่จ่ายให้กับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เป็นผู้ขายเท่านั้น ส่งผลให้ข้อมูลการบริหารจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากผู้ประกอบการค้าข้าวไม่ครบถ้วน
ดังนั้น ครม.จึงเห็นควรปรับลดการจัดเก็บภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีสินค้าเกษตรประเภทข้าว เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพและระบบของการค้าข้าวในปัจจุบันที่มีกระบวนการและมีผู้เกี่ยวข้องหลายขั้นตอน และเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้ที่มีการปรับลดอัตราลง
ที่มา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/048/6.PDF