โดยจากข้อมูลสถานการณ์ในอ่างเก็บน้ำหลังสิ้นสุดฤดูฝน และเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้ง ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 จากข้อมูลของกรมชลประทาน พบว่า 10 เขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และ รักษาระบบนิเวศ แต่ไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเกษตรได้ มีจำนวน 5 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนลําตะคอง เขื่อนลําพระเพลิง เขื่อนมูลบน เขื่อนลําแชะ และ เขื่อนปราณบุรี ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และ พืชไรพืชผักเท่านั้น แต่ไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการปลูกข้าวนาปรังได้ จำนวน 5 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนลํานางรอง เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนแก่งกระจาน และ เขื่อนบางลาง ซึ่งข้อมูลข้างต้นทุกหน่วยงานในสังกัด จะใช้เป็นข้อมูลวางแผนการช่วยเหลือพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบล่วงหน้าและทันต่อสถานการณ์
พล.อ.ฉัตรชัยยังกล่าวเพิ่มเติมถึงสถานการณ์ในเขื่อนลำตะคองว่า คณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) ได้มีการประชุมเรื่องการจัดสรรน้ำ และการดําเนินการในช่วงฤดูแล้ง ปี 2559/60 มีมติให้ระบายน้ำจากเขื่อนลําตะคองในอัตราไม่เกิน 5 ลบ.ม./วินาที หรือ ไม่เกินวันละ 0.432 ล้าน ลบ.ม. เพื่อจัดสรรน้ำในการอุปโภค-บริโภค การประปา จำนวน 81 แห่ง ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำวันละ 0.213 ล้าน ลบ.ม. การรักษาระบบนิเวศ และ คุณภาพน้ำในลําตะคอง/ลําบริบูรณ์ ไม่สามารถสนับสนุนภาคเกษตรได้ โดย ณ วันที่ 30 มกราคม มีปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 87 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำในอัตรา 4 ลบ.ม./วินาที (0.345 ล้าน ลบ.ม./วัน)จะมีน้ำใช้ได้อีก 252 วัน หรือประมาณ 8 เดือนกว่า ดังนั้น จึงมั่นใจว่าจะมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคใช้อย่างเพียงพอจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ปริมาณน้ำใช้การเป็นไปตามแผน ขอให้ทุกส่วนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
พล.อ.ฉัตรชัยยังกล่าวเพิ่มเติมถึงสถานการณ์ในเขื่อนลำตะคองว่า คณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) ได้มีการประชุมเรื่องการจัดสรรน้ำ และการดําเนินการในช่วงฤดูแล้ง ปี 2559/60 มีมติให้ระบายน้ำจากเขื่อนลําตะคองในอัตราไม่เกิน 5 ลบ.ม./วินาที หรือ ไม่เกินวันละ 0.432 ล้าน ลบ.ม. เพื่อจัดสรรน้ำในการอุปโภค-บริโภค การประปา จำนวน 81 แห่ง ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำวันละ 0.213 ล้าน ลบ.ม. การรักษาระบบนิเวศ และ คุณภาพน้ำในลําตะคอง/ลําบริบูรณ์ ไม่สามารถสนับสนุนภาคเกษตรได้ โดย ณ วันที่ 30 มกราคม มีปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 87 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำในอัตรา 4 ลบ.ม./วินาที (0.345 ล้าน ลบ.ม./วัน)จะมีน้ำใช้ได้อีก 252 วัน หรือประมาณ 8 เดือนกว่า ดังนั้น จึงมั่นใจว่าจะมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคใช้อย่างเพียงพอจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ปริมาณน้ำใช้การเป็นไปตามแผน ขอให้ทุกส่วนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด