ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่การเกษตรสำหรับเพาะปลูกข้าวหอมมะลิในดินภูเขาไฟประมาณ 5,000 ไร่ ทำให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิในพื้นที่ดังกล่าว มีคุณภาพแตกต่างไปจากข้าวหอมมะลิที่เพาะปลูกในพื้นที่อื่น จังหวัดบุรีรัมย์จึงจำเป็นต้องเร่งผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในพื้นที่ดินภูเขาไฟและยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวหอมมะลิของเกษตรกร
สำหรับการประชุมร่วมกัน เป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจในสิทธิประโยชน์ของการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ให้กับชุมชนอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้าได้เป็นอย่างดี เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว และผู้ที่สนใจเลือกใช้สินค้าที่ได้มาตรฐาน GI รวมทั้งแนะนำการเตรียมความพร้อมสำหรับข้อมูลทุกด้านของสินค้าในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียน เพื่อป้องกันปัญหาและความล่าช้าในการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยเน้นย้ำให้เกิดการรวมกลุ่มในพื้นที่ สร้างศักยภาพสินค้าของชุมชน
ขณะเดียวกัน ในที่ประชุมได้มีมติเสนอชื่อสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ "ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์" เป็นข้อที่บ่งชี้ถึงความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ดินภูเขาไฟ ซึ่งแตกต่างจากการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่อื่น โดยจะรวบรวมข้อมูลและยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้และจะได้จัดทำคู่มือให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มในคราวเดียวกัน
ขณะเดียวกัน ในที่ประชุมได้มีมติเสนอชื่อสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ "ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์" เป็นข้อที่บ่งชี้ถึงความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ดินภูเขาไฟ ซึ่งแตกต่างจากการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่อื่น โดยจะรวบรวมข้อมูลและยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้และจะได้จัดทำคู่มือให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มในคราวเดียวกัน
นายวิทยา จันทร์ฉลอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า การจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นการกำหนดแหล่งที่มาของสินค้าที่มีการเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิศาสตร์ ที่กำเนิดของสินค้า ซึ่งหากสามารถได้รับการรับรองให้ใช้ตราสัญลักษณ์ GI ก็จะเป็นการยกระดับมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ ของจังหวัดบุรีรัมย์ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สร้างกลไกทางการตลาดเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของเกษตรที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งอนาคตจะต้องมีการทำข้อตกลงกับโรงสีและผู้ประกอบการค้าข้าว ในการกำหนดอัตราซื้อผลผลิตข้าวของเกษตรกรในพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันต่อไป