อย่างไรก็ตาม สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยาได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อหยุดการเผาในพื้นที่เกษตร โดยมุ่งสร้างความรู้ให้เกษตรกรเห็นประโยชน์ของตอซังข้าว และอินทรียวัตถุซึ่งเป็นตัว ฟอกดิน รวมทั้งฟื้นฟูดินให้มีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ มีดิน น้ำ อากาศ และอินทรียวัตถุในสัดส่วน 45 : 25 : 25 : 5 อีกทั้งยังมุ่งสร้างความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่นขับเคลื่อนขยายผลเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา พร้อมสร้างแผนงานชุมชนเพื่อสนับสนุนมาตรการหยุดการเผาในไร่นา เช่น การวางแผนการปิด-เปิดน้ำเพื่อการเกษตร การผลิตและใช้สารอินทรีย์เพื่อเร่งการย่อยสลายเศษวัสดุทางการเกษตร เป็นต้น
นายอุดมศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ยังจะมุ่งสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เป็น Smart Farmer เน้นให้ทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลที่มีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงและได้ใช้เครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม่ด้วยตนเอง คาดว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยยุติการเผาในพื้นที่เกษตรกรรมได้ อันจะนำไปสู่การคืนความอุดมสมบูรณ์และสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศน์การเกษตรของไทย ดังนั้นจึงขอเชิญชวนเกษตรกรทุกท่านอีกครั้ง มาร่วมกันรณรงค์ไม่เผาตอซังข้าวในทุกพื้นที่ ให้ใช้วิธีการไถกลบตอซังข้าวแทน เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน เป็นการลดต้นทุนปุ๋ย ยังสามารถเพิ่มผลผลิตในฤดูกาลเพาะปลูกต่อไปดีอีกด้วย
แหล่งที่มาของข้อมูล : อุดมศักดิ์ คำมูล.เกษตรจังหวัดพะเยา,สัมภาษณ์,11 มกราคม 2559.
เรียบเรียงโดย : พูนศักดิ์ ศรีสุทธา ศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย
แหล่งที่มาของข้อมูล : อุดมศักดิ์ คำมูล.เกษตรจังหวัดพะเยา,สัมภาษณ์,11 มกราคม 2559.
เรียบเรียงโดย : พูนศักดิ์ ศรีสุทธา ศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย