การป้องกันกำจัด การใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 3 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 กข 29 กข 31 กข 41 และไม่ควรปลูกชนิดเดียวกันติดต่อกันเกิน 4 ฤดูกาล ควบคุมระดับน้ำ โดยระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง หรือมีน้ำเรี่ยผิวดิน 7-10 วัน แล้วปล่อยน้ำเข้าแปลงนาสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดได้ ใช้กับดักแสงไฟ หรือเครื่องดูดแมลงเพื่อลดประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยได้จำนวนมาก ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย เมื่อเริ่มพบการทำลายยังไม่ระบาดรุนแรง ใช้ก้อนเชื้อสดในอัตรา 1 กิโลกรัม (4 ถุง) ต่อน้ำ 25-50 ลิตร พ่นให้สัมผัสกับตัวแมลงและควรฉีดพ่นในเวลาเย็นหรือแสงแดดอ่อนๆ หากจำเป็นต้องใช้สารเคมี ให้ใช้ตามคำแนะนำของกรมการข้าว ห้ามใช้สารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ และสารอะบาเม็กตินในนาข้าว เนื่องจากมีพิษต่อศัตรูธรรมชาติ โดยเฉพาะมวนเขียวดูดไข่ ซึ่งจะทำหน้าที่คอยดูดกินไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
แหล่งที่มาของข้อมูล : "เกษตรจังหวัดนครปฐมเตือนชาวนา เตรียมรับมือ.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.banmuang.co.th/news/region/36186
แหล่งที่มาของข้อมูล : "เกษตรจังหวัดนครปฐมเตือนชาวนา เตรียมรับมือ.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.banmuang.co.th/news/region/36186