ด้านนายวุฒจักร สำราญกลาง กำนันตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ชาวบ้านโนนน้อย หมู่ที่ 12 ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ซึ่งเป็นข้าวนาปี และทุกๆปี ระหว่างเดือน ตุลาคม - ธันวาคม จะเป็นช่วงเว้นว่างจากการทำนา หลายคนเข้าไปขายแรงงานต่างถิ่น ถึงเวลาเก็บเกี่ยวจึงค่อยกลับมาเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่มีชาวบ้านบางกลุ่ม ประมาณ 12-15 ครัวเรือน หันมาแปรรูปข้าวเม่า เพื่อสร้างรายได้เสริมในช่วงดังกล่าว ซึ่งการทำข้าวเม่า หรือการแปรรูปข้าวเม่า ปีหนึ่งจะทำได้เพียงครั้งเดียว คือในช่วงที่ข้าวตั้งท้อง ออกรวง ก่อนถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวจนได้ขึ้นชื่อ หากจะทานข้าวเม่าแท้ ต้องที่บ้านโนนน้อย
ด้านคุณปณัฐดา ปรัชญาวงษ์ อายุ 35 ปี ผู้มีความชำนาญในการทำข้าวเม่า บ้านโนนน้อย หมู่12 ต.ด่านคล้า อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา ได้เปิดเผยถึงกรรมวิธีขั้นตอนการทำข้าวเม่า หรือการแปรรูปข้าวเม่า ดังนี้
1.เลือกข้าวเหนียวที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป เลือกเมล็ดที่มีสีเขียวเหลืองอ่อนพอดี หรือข้าวเหนียวที่มีอายุประมาณ 90 วัน
1.เลือกข้าวเหนียวที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป เลือกเมล็ดที่มีสีเขียวเหลืองอ่อนพอดี หรือข้าวเหนียวที่มีอายุประมาณ 90 วัน
2.จากนั้นนำข้าวไปนวด เพื่อคัดเมล็ดข้าวที่แก่ และข้าวที่เป็นน้ำนมออกจากกัน ฝัดเอาสิ่งเจือปนออก เพื่อเตรียมนำข้าวไปคั่ว
3.ขั้นตอนการคั่วข้าวเม่า คั่วด้วยไฟปานกลาง ครั้งละประมาณครึ่ง-1กิโลกรัม ใช้เวลาคั่วประมาณ 2-3 นาที หรือสังเกตว่าเมล็ดข้าวเริ่มแตก แต่ไม่ต้องให้ข้าวแข็งจนเกินไป เพราะเวลาตำจะทำให้ข้าวหัก
4.หลังจากคั่วเสร็จก็นำข้าวมาผึ่งให้เย็น จากนั้นนำข้าวเม่ามาตำโดยจะตำอยู่ 4 รอบ โดย
รอบที่1 ตำเพื่อปลอกเปลือกข้าวออก จากนั้นก็นำไปสีหรือฝัดเพื่อแยกกากข้าวออกแล้วนำมากลับมาตำใหม่
รอบที่2 ตำเพื่อให้กากข้าวที่เหลือติดอยู่กับเมล็ดข้าวออกหมด
รอบที่3 ตำเพื่อให้ข้าวเม่านิ่ม แล้วคัดเอากากข้าวที่เหลือออกให้หมด
รอบที่4ตำเพื่อให้เมล็ดข้าวให้แบน และอ่อนนุ่มดูน่ารับประทานแล้วนำกับไปสีอีกครั้งเพื่อให้กากข้าวที่
เหลือออกให้หมด
รอบที่1 ตำเพื่อปลอกเปลือกข้าวออก จากนั้นก็นำไปสีหรือฝัดเพื่อแยกกากข้าวออกแล้วนำมากลับมาตำใหม่
รอบที่2 ตำเพื่อให้กากข้าวที่เหลือติดอยู่กับเมล็ดข้าวออกหมด
รอบที่3 ตำเพื่อให้ข้าวเม่านิ่ม แล้วคัดเอากากข้าวที่เหลือออกให้หมด
รอบที่4ตำเพื่อให้เมล็ดข้าวให้แบน และอ่อนนุ่มดูน่ารับประทานแล้วนำกับไปสีอีกครั้งเพื่อให้กากข้าวที่
เหลือออกให้หมด
5.เมื่อได้ข้าวเม่าที่ตำเสร็จแล้วพร้อมที่จะรับประทาน หรือนำไปแปรรูปทำได้หลายเมนู และที่เหลือก็นำไปจำหน่าย
การจำหน่ายส่วนใหญ่แต่ละครอบครัวจะจำหน่ายกันเอง บ้างก็มีพ่อค้าแม่ค้ามารับถึงบ้าน หากจำหน่ายเอง ก็จะได้ กิโลกรัมละ 300-400 บาท แต่ถ้าพ่อค้าแม่ค้ามารับ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 250-350 บาท/กิโลกรัม
การรับประทาน นำข้าวเม่า ไปคลุกกับมะพร้าวอ่อน เกลือ และน้ำตาล ปรุงรสชาติตามใจชอบ
แหล่งที่มาของข้อมูล : วุฒจักร สำราญกลาง.สัมภาษณ์.1 พฤศิกายน 2558.
เรียบเรียงโดย : เสาวลักษณ์ ภูมิโคกรักษ์.เจ้าหน้าที่ศูนย์ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.นครราชสีมา
การจำหน่ายส่วนใหญ่แต่ละครอบครัวจะจำหน่ายกันเอง บ้างก็มีพ่อค้าแม่ค้ามารับถึงบ้าน หากจำหน่ายเอง ก็จะได้ กิโลกรัมละ 300-400 บาท แต่ถ้าพ่อค้าแม่ค้ามารับ ก็จะอยู่ที่ประมาณ 250-350 บาท/กิโลกรัม
การรับประทาน นำข้าวเม่า ไปคลุกกับมะพร้าวอ่อน เกลือ และน้ำตาล ปรุงรสชาติตามใจชอบ
แหล่งที่มาของข้อมูล : วุฒจักร สำราญกลาง.สัมภาษณ์.1 พฤศิกายน 2558.
เรียบเรียงโดย : เสาวลักษณ์ ภูมิโคกรักษ์.เจ้าหน้าที่ศูนย์ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.นครราชสีมา