นางสาวกรสิริ ศรีนิล กลุ่มงานอารักขาข้าว ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย เปิดเผยผ่านทางศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกันจ.เชียงราย ว่าหลังจากลงพื้นที่สำรวจแปลงนาของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดพบการระบาดของโรคไหม้ข้าวระยะแตกกอในข้าวพันธุ์กข6,กข15 และขาวดอกมะลิ105ในพื้นที่อ.พานโดยเฉพาะที่ต.สันติสุข,ต.เวียงห้าว,ต.หัวง้ม,และต.ทานตะวัน บางแปลงพบโรคกระจายเต็มพื้นที่ มีอาการใบข้าวเป็นแผลจุดสีน้ำตาล ลักษณะรูปตาสีน้ำตาล มีจุดสีเทาตรงกลางเกิดขึ้นหลายแผลติดกันทำให้เกิดใบไหม้ นอกจากนี้แล้วข้าวพันธุ์กข.10และสันป่าตอง1ในระยะกล้ายังพบการระบาดของเพลี้ยไฟอีกด้วย โดยพบเพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวที่ยังอ่อน มักอาศัยอยู่ตามซอกใบ ทำให้ปลายใบข้าวแห้ง ขอบใบม้วนเข้าหากัน เมื่อคลี่ดูจะพบเพลี้ยไฟดูดกินอยู่ภายใน หรือตรวจสอบโดยใช้มือจุ่มน้ำให้เปียกแล้วลูบไปตามต้นข้าว จะพบเพลี้ยไฟติดมาเป็นจำนวนมาก หากปล่อยทิ้งไว้จะมีการระบาดอย่างรุนแรง กล้าข้าวจะแห้งตายทั้งแปลง
ทั้งนี้ในพื้นที่อ.พาน พบการระบาดทั้งโรคไหม้ข้าวระยะแตกกอและเพลี้ยไฟระยะกล้ามากกว่า100ไร่แล้ว ทางศูนย์วิจัยข้าวเชียงรายได้เร่งควบคุมการระบาดอย่างเร่งด่วน โดยโรคไหม้ที่พบได้แนะนำเกษตรกรพ่นด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ในอัตราเชื้อสด 1 กก.ต่อน้ำ 50-100 ลิตร ผสมสารจับใบ ฉีดพ่นต้นข้าวในแปลงที่พบอาการของโรคไหม้ หรือฉีดพ่นให้ทั่วแปลงปลูกข้าว 2-3 ครั้ง ในตอนเย็น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ส่วนพื้นที่ระบาดรุนแรงได้แนะนำควบคุมการระบาดด้วยสารเคมีแล้ว
ส่วนการป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ สามารถทำได้โดยหากพบว่ามีเพลี้ยไฟเข้าทำลายให้ปล่อยน้ำท่วมยอดข้าว 1 - 2วันแล้วระบายน้ำออก ควรบำรุงต้นกล้าให้แข็งแรง ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยไฟอย่างรุนแรง หรือพบปลายใบม้วน 20% ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง และควรกำจัดวัชพืชรอบคันนาบริเวณแปลงกล้า ล่าสุดทั้งโรคไหม้และเพลี้ยไฟทางศูนย์วิจัยข้าวสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้แล้ว แต่ยังคงแนะนำให้เกษตรกรเฝ้าระวังแปลงนาอย่างใกล้ชิด
แหล่งที่มาของข้อมูล : กรสิริ ศรีนิล. สัมภาษณ์, 17 สิงหาคม 2558.
เรียบเรียงโดย : ประพันธ์ จีระวัง ศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย
ทั้งนี้ในพื้นที่อ.พาน พบการระบาดทั้งโรคไหม้ข้าวระยะแตกกอและเพลี้ยไฟระยะกล้ามากกว่า100ไร่แล้ว ทางศูนย์วิจัยข้าวเชียงรายได้เร่งควบคุมการระบาดอย่างเร่งด่วน โดยโรคไหม้ที่พบได้แนะนำเกษตรกรพ่นด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ในอัตราเชื้อสด 1 กก.ต่อน้ำ 50-100 ลิตร ผสมสารจับใบ ฉีดพ่นต้นข้าวในแปลงที่พบอาการของโรคไหม้ หรือฉีดพ่นให้ทั่วแปลงปลูกข้าว 2-3 ครั้ง ในตอนเย็น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ส่วนพื้นที่ระบาดรุนแรงได้แนะนำควบคุมการระบาดด้วยสารเคมีแล้ว
ส่วนการป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ สามารถทำได้โดยหากพบว่ามีเพลี้ยไฟเข้าทำลายให้ปล่อยน้ำท่วมยอดข้าว 1 - 2วันแล้วระบายน้ำออก ควรบำรุงต้นกล้าให้แข็งแรง ถ้ามีการระบาดของเพลี้ยไฟอย่างรุนแรง หรือพบปลายใบม้วน 20% ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง และควรกำจัดวัชพืชรอบคันนาบริเวณแปลงกล้า ล่าสุดทั้งโรคไหม้และเพลี้ยไฟทางศูนย์วิจัยข้าวสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้แล้ว แต่ยังคงแนะนำให้เกษตรกรเฝ้าระวังแปลงนาอย่างใกล้ชิด
แหล่งที่มาของข้อมูล : กรสิริ ศรีนิล. สัมภาษณ์, 17 สิงหาคม 2558.
เรียบเรียงโดย : ประพันธ์ จีระวัง ศูนย์ประสานงานร่วมด้วยช่วยกัน จ.เชียงราย