จากข้อจำกัดเรื่องน้ำ ประกอบกับสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรในภาพรวมราคาผันผวน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยลดลง ทั้งนี้ อยากแจ้งเตือนถึงเกษตรกรโดยเฉพาะผู้ปลูกข้าวนาปรัง ให้ปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชใช้น้ำน้อย อย่างพืชตระกูลถั่ว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หรือพืชชนิดอื่นที่สร้างรายได้เสริมทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ตัวอย่าง ชาวนาจังหวัดชัยนาท พลิกวิกฤติภัยแล้งปลูกแคนตาลูปสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ
ด้าน ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KOFC) ได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลจากเกษตรกรตัวอย่างในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง 4 จังหวัด รวม 281 ราย พบว่าเกษตรกรร้อยละ 69 งดปลูกข้าวนาปรังทั้งหมด อีกร้อยละ 8 งดทำนาปรังบางส่วน และร้อยละ 23 ยังคงทำนาปรังในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่ารายได้เฉลี่ยจากการทำนาปรังลดลงจากฤดูการผลิตที่แล้วครัวเรือนละ 70,268 บาท หรือคิดเป็นรายได้จากการทำนาปรังของครัวเรือนเกษตรทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลองลดลงรวม 27,462 ล้านบาท และทำให้การบริโภคของครัวเรือนเกษตรกรลดลง 25,631 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ลดลงเป็นมูลค่าโดยรวม 58,539 ล้านบาท แต่ถ้าเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยลดลงเมื่อเทียบกับฤดูกาลที่แล้วเหลือครัวเรือนละ 60,848 บาท และส่งผลให้ GDP ลดลง 50,707 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เกษตรกรยังได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่ทั่วถึง ซึ่งรัฐควรจัดสรรความช่วยเหลือให้ครอบคลุมเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะเกษตรกรที่งดปลูกข้าวนาปรังทั้งหมดเพราะขาดรายได้อย่างสิ้นเชิง
แหล่งที่มาของข้อมูล : "ภัยแล้งฉุดรายได้ชาวนาวูบ เตือนรัฐให้ความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.naewna.com/local/157459
ด้าน ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KOFC) ได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลจากเกษตรกรตัวอย่างในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง 4 จังหวัด รวม 281 ราย พบว่าเกษตรกรร้อยละ 69 งดปลูกข้าวนาปรังทั้งหมด อีกร้อยละ 8 งดทำนาปรังบางส่วน และร้อยละ 23 ยังคงทำนาปรังในปริมาณเท่าเดิม ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่ารายได้เฉลี่ยจากการทำนาปรังลดลงจากฤดูการผลิตที่แล้วครัวเรือนละ 70,268 บาท หรือคิดเป็นรายได้จากการทำนาปรังของครัวเรือนเกษตรทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลองลดลงรวม 27,462 ล้านบาท และทำให้การบริโภคของครัวเรือนเกษตรกรลดลง 25,631 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ลดลงเป็นมูลค่าโดยรวม 58,539 ล้านบาท แต่ถ้าเกษตรกรได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยลดลงเมื่อเทียบกับฤดูกาลที่แล้วเหลือครัวเรือนละ 60,848 บาท และส่งผลให้ GDP ลดลง 50,707 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เกษตรกรยังได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่ทั่วถึง ซึ่งรัฐควรจัดสรรความช่วยเหลือให้ครอบคลุมเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะเกษตรกรที่งดปลูกข้าวนาปรังทั้งหมดเพราะขาดรายได้อย่างสิ้นเชิง
แหล่งที่มาของข้อมูล : "ภัยแล้งฉุดรายได้ชาวนาวูบ เตือนรัฐให้ความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.naewna.com/local/157459