นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจติดตามความคืบหน้า การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการกองเรือประมง และการแก้ไขปัญหา การทำประมงผิดกฎหมาย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมเจ้าท่า (จท.) ว่า ได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่าจัดทำแผนการจัดการกองเรือประมงอย่างยั่งยืน และการบริหารจัดการพื้นที่ในทะเล โดย นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการ กำหนดแผนระยะสั้นและระยะยาว ให้เป็นรูปธรรม ก้าวสู่ กรมเจ้าท่า 4.0
ทั้งนี้แนวคิดในการจัดการกองเรือ จะต้องมีระบบการจดทะเบียนเรือ การจดทะเบียนอู่ต่อเรือ และจดทะเบียนท่าเรือ ที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ทันสมัย เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้ง่าย และจะเป็น ฐานข้อมูลหลัก ที่สามารถให้กระทรวงแรงงานฯ, กรมประมง เชื่อมโยงเข้ามาเพื่อตรวจสอบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ ซึ่งจะเป็นมาตรฐาน และสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) และเกี่ยวโยงกับมาตรการป้องกัน IUU Fishing ซึ่งแผนระยะสั้นจะเห็นผลภายใน 2 ปี โดยกรมเจ้าท่าได้มีประกาศในการงดจดทะเบียนเรือประมงพาณิชย์ใหม่ในช่วง 2 ปี เพื่อให้กรมเจ้าท่าจัดการฐานข้อมูลกองเรือที่มีอยู่เดิมก่อน ปัจจุบันมีเรือประมงพาณิชย์ที่ขึ้นทะเบียนไว้ 11,000 ลำ เรือสนับสนุน (เรือขนถ่าย, เรือห้องเย็น) 1,000 ลำ โดยการกำหนดอัตลักษณ์ขึ้นทะเบียนเรือให้ทันสมัย เช่น ปรับเปลี่ยนการกำหนดเลขทะเบียนเรือจากการตอกสลักไว้ที่เก๋งเรือ เป็นการทำป้ายทะเบียนเรือ เหมือนป้ายทะเบียนรถยนต์ จะเป็นมาตรฐานที่ปลอมแปลงได้ยาก, กำหนดสีของเรือเฉพาะของแต่ละเขตเพื่อให้สังเกตได้เข้าใจง่าย
ส่วนอู่ต่อเรือปัจจุบันมี 244 อู่ ทั่วประเทศ จะมีการขึ้นทะเบียนทุกแห่งเพื่อนำเข้าระบบมีความสำคัญเพราะ อู่ต่อเรือเป็นจุดกำเนิดของเรือ ทำให้รู้รายละเอียดเลขทะเบียนเรือ และจะเชื่อมไปถึงท่าเรือ ที่จะมีรหัส เมื่อมีเรือเทียบท่าข้อมูลทั้งหมดจะเชื่อมโยงกันหมด กรณีมีการนำเรือไปจับปลาหรือทำผิดกฎหมายจะสามารถตรวจสอบได้
อย่างไรก็ตาม กรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างจัดทำระบบ VTMS เฟส 2 และ 3 ให้ครอบคลุมอ่าวไทยตอนบนทั้งหมด และพัฒนาระบบให้จับเรือขนาดเล็กได้ ช่วยเรื่องการปฏิบัติการทางทะเล ตรวจจับผู้กระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยเรือประมงได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.
ทั้งนี้แนวคิดในการจัดการกองเรือ จะต้องมีระบบการจดทะเบียนเรือ การจดทะเบียนอู่ต่อเรือ และจดทะเบียนท่าเรือ ที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ทันสมัย เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับได้ง่าย และจะเป็น ฐานข้อมูลหลัก ที่สามารถให้กระทรวงแรงงานฯ, กรมประมง เชื่อมโยงเข้ามาเพื่อตรวจสอบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ ซึ่งจะเป็นมาตรฐาน และสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO) และเกี่ยวโยงกับมาตรการป้องกัน IUU Fishing ซึ่งแผนระยะสั้นจะเห็นผลภายใน 2 ปี โดยกรมเจ้าท่าได้มีประกาศในการงดจดทะเบียนเรือประมงพาณิชย์ใหม่ในช่วง 2 ปี เพื่อให้กรมเจ้าท่าจัดการฐานข้อมูลกองเรือที่มีอยู่เดิมก่อน ปัจจุบันมีเรือประมงพาณิชย์ที่ขึ้นทะเบียนไว้ 11,000 ลำ เรือสนับสนุน (เรือขนถ่าย, เรือห้องเย็น) 1,000 ลำ โดยการกำหนดอัตลักษณ์ขึ้นทะเบียนเรือให้ทันสมัย เช่น ปรับเปลี่ยนการกำหนดเลขทะเบียนเรือจากการตอกสลักไว้ที่เก๋งเรือ เป็นการทำป้ายทะเบียนเรือ เหมือนป้ายทะเบียนรถยนต์ จะเป็นมาตรฐานที่ปลอมแปลงได้ยาก, กำหนดสีของเรือเฉพาะของแต่ละเขตเพื่อให้สังเกตได้เข้าใจง่าย
ส่วนอู่ต่อเรือปัจจุบันมี 244 อู่ ทั่วประเทศ จะมีการขึ้นทะเบียนทุกแห่งเพื่อนำเข้าระบบมีความสำคัญเพราะ อู่ต่อเรือเป็นจุดกำเนิดของเรือ ทำให้รู้รายละเอียดเลขทะเบียนเรือ และจะเชื่อมไปถึงท่าเรือ ที่จะมีรหัส เมื่อมีเรือเทียบท่าข้อมูลทั้งหมดจะเชื่อมโยงกันหมด กรณีมีการนำเรือไปจับปลาหรือทำผิดกฎหมายจะสามารถตรวจสอบได้
อย่างไรก็ตาม กรมเจ้าท่าอยู่ระหว่างจัดทำระบบ VTMS เฟส 2 และ 3 ให้ครอบคลุมอ่าวไทยตอนบนทั้งหมด และพัฒนาระบบให้จับเรือขนาดเล็กได้ ช่วยเรื่องการปฏิบัติการทางทะเล ตรวจจับผู้กระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยเรือประมงได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.