สำหรับหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือ "จุลินทรีย์ ปม.1" ถูกค้นคว้าวิจัยขึ้นโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาครร่วมกับสถาบัน วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยเมื่อปี 2551 โดยคัดเลือกจุลินทรีย์ในกลุ่ม Bacillus 3 ชนิด ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายสารอินทรีย์ เหมาะสำหรับใช้บำบัดสารอินทรีย์ที่ตกค้างสะสมในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยแจกจ่ายให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งสูตรผงและสูตรน้ำให้แก่เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้รับการตอบรับจากเกษตรกรเป็นอย่างดี และมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่ากำลังการผลิตของกรมประมง
ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมง จึงจัดทำโครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร กิจกรรมขยายฐานการผลิตจุลินทรีย์ ภายใต้โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ของกระทรวงเกษตรฯ โดยใช้งบประมาณ 9,800,000 บาท จัดตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ให้แก่กลุ่มเกษตรกร ชมรม สมาคม สหกรณ์ และสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการดำเนินการ รวม 20 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 19 จังหวัด ได้แก่ ตรัง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ปัตตานี สตูล พัทลุง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง ตราด ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ โดยจะเปิดตัวโครงการฯ อย่างเป็นทางการในวันที่ 28 พฤษภาคม
ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมง จึงจัดทำโครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร กิจกรรมขยายฐานการผลิตจุลินทรีย์ ภายใต้โครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" ของกระทรวงเกษตรฯ โดยใช้งบประมาณ 9,800,000 บาท จัดตั้งศูนย์ผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปม.1 ให้แก่กลุ่มเกษตรกร ชมรม สมาคม สหกรณ์ และสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการดำเนินการ รวม 20 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 19 จังหวัด ได้แก่ ตรัง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ปัตตานี สตูล พัทลุง ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง ตราด ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ โดยจะเปิดตัวโครงการฯ อย่างเป็นทางการในวันที่ 28 พฤษภาคม