อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าตาม พระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พ.ศ. 2560 - 2563 ได้กำหนดเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยปลอดจากโรคพิษสุนัขบ้าภายในปี พ.ศ. 2563 ดั้งนั้น หากทั้ง 22 จังหวัดมีการรักษาสถานภาพปลอดโรคเอาไว้ได้ ควบคู่กันไปกับการเร่งรัดกำจัดโรคในจังหวัดอื่นๆให้ได้ภายในปีพ.ศ. 2562 ก็จะทำให้ประเทศไทยมีโอกาสปลอดโรคได้เหมือนอารยะประเทศอื่นๆ ต่อไป
ด้าน นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์มีนโยบายที่จะเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในทุกจุดเกิดโรค โดยการดำเนินการต่างๆ จะคำนึงถึงความปลอดภัยจากโรคของประชาชนเป็นที่ตั้ง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังทั้งพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เพื่อควบคุมโรคและหยุดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในทุกพื้นที่ที่เกิดโรค โดยใช้มาตรการ 2+1 นั่นคือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2561 จะมีการเร่งรัดควบคุมโรคในทุกพื้นที่ที่เกิดโรค (ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค) ด้วยการฉีดวัคซีน (Ring Vaccination) ในสุนัขและแมวให้ครอบคลุมทุกตัวทั้งมีและไม่มีเจ้าของ อีกทั้งสัตว์กลุ่มเสี่ยง สัตว์ที่สัมผัสโรค หรือสัตว์ที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์ป่วยที่ตรวจพบโรค (Index case) จะต้องได้รับการจับกักแยกออกจากคนและสัตว์อื่น เพื่อดำเนินการฉีดวัคซีนและเฝ้าระวังทางอาการต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนหรือตามหลักวิชาการ และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2561 จะมีการเร่งรัดประชาสัมพันธ์อย่างเข้มข้นเพื่อสร้างการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ แก่ประชาชน โดยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งกรมปศุสัตว์จะเริ่มต้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องเร่งรัดสำรวจและขึ้นทะเบียนสุนัขและแมว เร่งรัดการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับจำนวนสุนัขและแมวที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงความร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบาย มาตรการ และแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์ต่อไป รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด
ด้าน นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์มีนโยบายที่จะเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในทุกจุดเกิดโรค โดยการดำเนินการต่างๆ จะคำนึงถึงความปลอดภัยจากโรคของประชาชนเป็นที่ตั้ง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังทั้งพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เพื่อควบคุมโรคและหยุดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในทุกพื้นที่ที่เกิดโรค โดยใช้มาตรการ 2+1 นั่นคือ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2561 จะมีการเร่งรัดควบคุมโรคในทุกพื้นที่ที่เกิดโรค (ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค) ด้วยการฉีดวัคซีน (Ring Vaccination) ในสุนัขและแมวให้ครอบคลุมทุกตัวทั้งมีและไม่มีเจ้าของ อีกทั้งสัตว์กลุ่มเสี่ยง สัตว์ที่สัมผัสโรค หรือสัตว์ที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตว์ป่วยที่ตรวจพบโรค (Index case) จะต้องได้รับการจับกักแยกออกจากคนและสัตว์อื่น เพื่อดำเนินการฉีดวัคซีนและเฝ้าระวังทางอาการต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนหรือตามหลักวิชาการ และหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2561 จะมีการเร่งรัดประชาสัมพันธ์อย่างเข้มข้นเพื่อสร้างการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ แก่ประชาชน โดยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งกรมปศุสัตว์จะเริ่มต้นการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะต้องเร่งรัดสำรวจและขึ้นทะเบียนสุนัขและแมว เร่งรัดการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับจำนวนสุนัขและแมวที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมถึงความร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบาย มาตรการ และแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์ต่อไป รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด