เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่กรมประมง นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวในพิธีเปิดงาน "จระเข้ไทยก้าวไกลสู่จระเข้โลก" โดยมี นายลักษณ์ วจนานวัช รมช.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานว่า ประเทศไทยเลี้ยงจระเข้มากถึง 1,355,000 ตัว สร้างมูลค่าทาง การตลาดสูงถึง 3.8 พันล้านบาท ในอนาคตสามารถผลักดันให้อุตสาหกรรมจระเข้ไทยอาทิกระเป๋า รองเท้า เข็มขัด และเลือดซึ่งเป็นยาบำรุงก้าวสู่ตลาดโลกได้ โดยกรมประมงมุ่งหวังที่จะผลักดันให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องตลอดสายการผลิต ให้เติบโตและมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่กำลังเติบโตสู่ตลาดการค้าระหว่างประเทศ ช่วยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทุกภาคส่วน จะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันให้อุตสาหกรรมจระเข้ของไทยให้มีศักยภาพและความเข้มแข็งพร้อมที่จะแข่งขันในตลาดโลก
"จากข้อมูลการสำรวจของกรมประมง เมื่อปี 59 พบมีการเพาะเลี้ยงจระเข้กันเป็นจำนวนมากทั้งเลี้ยงเพื่อการค้า จัดแสดง หรือเป็นสัตว์เลี้ยง โดยแบ่งเป็นจระเข้น้ำจืดประมาณ 1,199,000 ตัว จระเข้น้ำเค็มประมาณ 156,000 ตัว รวมแล้วประมาณ 1,355,000 ตัว จากฟาร์มผู้เพาะเลี้ยงกว่า 1,200 ราย ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 3.8 พันล้านบาทต่อปี และยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง" นายอดิศร กล่าว
นายอดิศร กล่าวว่า จระเข้เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลาย ซึ่งส่วนมากจะเป็นจระเข้น้ำจืด เนื่องจากเพาะพันธุ์ได้ง่ายเลี้ยงง่ายในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศความต้านทานโรคสูง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมีมูลค่าต่อตัวสูง เนื่องจากทุกส่วนของร่างกายสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยเนื้อใช้สำหรับการบริโภค เลือดใช้สกัดทำยารักษาโรค ส่วนหนัง เขี้ยว เล็บ สามารถสร้างมูลค่าโดยผลิตเป็นเครื่องหนัง เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ และเครื่องในยังสามารถนำกลับไปผสมกับอาหารเพื่อเลี้ยงจระเข้ได้อีก จึงไม่มีเศษสิ่งเหลือทิ้งไปกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จระเข้จำหน่ายได้ทั้งแบบมีชีวิตเพื่อนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ หรือ ชำแหละขายเป็นอาหาร
นายอดิศร กล่าวอีกว่า การเพาะเลี้ยงจระเข้ทุกชนิดถูกกำหนดให้เป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 โดยจระเข้ถูกจัดให้เป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งกฎหมายมุ่งเน้นการ ควบคุมและการคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าทั้งในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ โดยมีบทบัญญัติ ในการควบคุมการล่า การครอบครองการเพาะพันธุ์ การค้า การเคลื่อนย้าย กิจการสวนสัตว์สาธารณะรวมถึงการนำเข้า ส่งออก และนำผ่าน โดยได้กำหนดชนิดของจระเข้ตามพระราชบัญญัตินี้ได้แก่ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis) จระเข้น้ำเค็มหรืออ้ายเคี่ยม (Crocodylusporosus) ตะโขง หรือจระเข้ปากกระทุงเหว (Tomistomaschlegelii) จึงต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ประกอบการในการป้องกันการหลุดรอดของจระเข้ออกสู่พื้นที่สาธารณะ.
"จากข้อมูลการสำรวจของกรมประมง เมื่อปี 59 พบมีการเพาะเลี้ยงจระเข้กันเป็นจำนวนมากทั้งเลี้ยงเพื่อการค้า จัดแสดง หรือเป็นสัตว์เลี้ยง โดยแบ่งเป็นจระเข้น้ำจืดประมาณ 1,199,000 ตัว จระเข้น้ำเค็มประมาณ 156,000 ตัว รวมแล้วประมาณ 1,355,000 ตัว จากฟาร์มผู้เพาะเลี้ยงกว่า 1,200 ราย ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 3.8 พันล้านบาทต่อปี และยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง" นายอดิศร กล่าว
นายอดิศร กล่าวว่า จระเข้เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลาย ซึ่งส่วนมากจะเป็นจระเข้น้ำจืด เนื่องจากเพาะพันธุ์ได้ง่ายเลี้ยงง่ายในแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศความต้านทานโรคสูง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมีมูลค่าต่อตัวสูง เนื่องจากทุกส่วนของร่างกายสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยเนื้อใช้สำหรับการบริโภค เลือดใช้สกัดทำยารักษาโรค ส่วนหนัง เขี้ยว เล็บ สามารถสร้างมูลค่าโดยผลิตเป็นเครื่องหนัง เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ และเครื่องในยังสามารถนำกลับไปผสมกับอาหารเพื่อเลี้ยงจระเข้ได้อีก จึงไม่มีเศษสิ่งเหลือทิ้งไปกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จระเข้จำหน่ายได้ทั้งแบบมีชีวิตเพื่อนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ หรือ ชำแหละขายเป็นอาหาร
นายอดิศร กล่าวอีกว่า การเพาะเลี้ยงจระเข้ทุกชนิดถูกกำหนดให้เป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 โดยจระเข้ถูกจัดให้เป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ซึ่งกฎหมายมุ่งเน้นการ ควบคุมและการคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าทั้งในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ โดยมีบทบัญญัติ ในการควบคุมการล่า การครอบครองการเพาะพันธุ์ การค้า การเคลื่อนย้าย กิจการสวนสัตว์สาธารณะรวมถึงการนำเข้า ส่งออก และนำผ่าน โดยได้กำหนดชนิดของจระเข้ตามพระราชบัญญัตินี้ได้แก่ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis) จระเข้น้ำเค็มหรืออ้ายเคี่ยม (Crocodylusporosus) ตะโขง หรือจระเข้ปากกระทุงเหว (Tomistomaschlegelii) จึงต้องสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ประกอบการในการป้องกันการหลุดรอดของจระเข้ออกสู่พื้นที่สาธารณะ.