"ทุกสมาคมพร้อมที่จะดูแลในการรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและสหกรณ์โคนมทั่วประเทศให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการอาหารเสริม(นม)โรงเรียนกับ อ.ส.ค. ต้องดูแลรับผิดชอบน้ำนมดิบตลอดระยะเวลาปิดภาคเรียนตามข้อตกลงที่ได้ลงนามเอ็มโอยู ให้ซื้อน้ำนมดิบตลอดระยะเวลา 365 วัน หากดูแลบริหารจัดการที่ดีน้ำนมดิบจะไม่ล้นตลาดอย่างแน่นอน และอีกแนวทางหนึ่งกำหนดให้แต่ละรายช่วยกันผลิตนมโรงเรียน ยู.เอช.ที. ตลอดช่วงระยะปิดเทอมหรือผลิตเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์" นายณรงค์ฤทธิ์กล่าว
นายณรงค์ฤทธิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีปริมาณน้ำนมดิบของเกษตรกรทั่วประเทศจำนวน 3423.16 ตันต่อวัน ในจำนวนดังกล่าวเป็นปริมาณน้ำนมดิบที่ทำข้อตกลง (เอ็มโอยู)เพื่อทำการผลิตนมโรงเรียนปีการศึกษา 2559/2560 ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม จำนวน 1,323 ตันต่อวัน ตลอดระยะเวลา 365 วัน รวมวันปิดภาคเรียน หากสามารถดำเนินการไปตามเป้าหมาย ปัญหานมล้นตลาดจะหมดไปอย่างแน่นอนส่วนแนวทางแก้ปัญหานมล้นตลาดในระยะยาวจะขอความร่วมมือให้สมาคม ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนมช่วยกันรณรงค์ให้คนไทยดื่มนมเพิ่มขึ้นผ่านเทศกาลที่สำคัญหรือการออกเคญเปญ เพื่อสร้างแรงจูงใจการดื่มนม หวังให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 2560-2569 ที่มีเป้าหมายเพิ่มการบริโภคนมร้อยละ 4 จากปัจจุบันคนไทยบริโภคอยู่ที่ประมาณ 14-15 ลิตร/คน/ปี ซึ่งในส่วนของ อ.ส.ค. ปัจจุบันครองสัดส่วนตลาดนมโรงเรียนอยู่ที่ 900 ล้านบาท/ปีและทุกสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกันยายนของทุกปีจะจัดกิจกรรมวันดื่มนมโรงเรียนโลกเพื่อกระตุ้นให้เด็กไทยเห็นความสำคัญของการดื่มนม