พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมปศุสัตว์ ได้เข้มงวดในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์เข้ามาราชอาณาจักร โดยให้ความสำคัญเรื่องอาหารปลอดภัยตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้ประชาชนเลือกซื้อสินค้าและอาหารที่มีคุณภาพและความปลอดภัย ซึ่งได้มีการบูรณาการการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง และกรมศุลกากร โดยในส่วนของกรมศุลกากรยังได้มีข้อตกลงความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ ในเรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีที่มีการจับกุมดำเนินคดีลักลอบนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งหากกรมศุลกากรมีการจับกุมสินค้าปศุสัตว์ได้ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่และมอบสินค้าของกลางให้แก่กรมปศุสัตว์เพื่อดำเนินการต่อไป
พล.อ.ฉัตรชัยกล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ โดยกองสารวัตรและกักกัน ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษปราบปรามผู้กระทำผิด มีผลการจับกุมและดำเนินคดีลักลอบนำเข้าสินค้าอย่างผิดกฎหมาย ตามกฎหมายโรคระบาดสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 จนถึงปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้น 131,461 กิโลกรัม มูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท แบ่งออกเป็น เนื้อโคกระบือแช่แข็ง จำนวน 72,614 กิโลกรัม เครื่องในโคกระบือแช่แข็ง จำนวน 4,547 กิโลกรัม และขาไก่และชิ้นส่วนไก่แช่แข็ง จำนวน 54,300กิโลกรัม ซึ่งเนื้อสัตว์เถื่อนเหล่านี้ มีความเสี่ยงที่จะนำโรคระบาดและอาจมีสารตกค้างปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค รวมทั้งอาจมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อปศุสัตว์ภายในประเทศ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ได้จัดให้มีพิธีทำลายสินค้าปศุสัตว์ของกลางดังกล่าวทั้งหมด ที่ด่านกักกันสัตว์นครสวรรค์ อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ซึ่งถือเป็นการทำลายของกลางครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย
ขณะที่การดำเนินการปราบปรามการลักลอบที่ผ่านมาในช่วง 2 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงปัจจุบัน ได้จับกุมดำเนินคดีทั้งสิ้น 199 คดี จำนวนของกลาง 2,063,675 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 217 ล้านบาท ซึ่งผู้กระทำผิดจะถูกดำเนินคดีอาญา มีโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท และโทษจำคุก 2 ปี ซึ่งที่ผ่านมาศาลได้มีคำสั่งพิพากษาให้ยึดรถยนต์ของกลางของผู้กระทำผิดด้วย
สำหรับแผนปฏิบัติการในระยะต่อไปนั้น กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์มี 4 แผนงานและมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์จากต่างประเทศ ได้แก่ 1) การสุ่มตรวจสอบห้องเย็น โดยจัดชุดเฉพาะกิจเข้าตรวจสอบห้องเย็นที่คาดว่าจะมีการลักลอบนำซากสัตว์เข้ามาเก็บไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต 2) การลาดตระเวนหาข่าวบริเวณแนวชายแดน หรือช่องทางที่คาดว่าจะมีการลักลอบ ตลอดจนตั้งจุดตรวจสกัดกั้นการลักลอบเคลื่อนย้ายเนื้อและเครื่องในโค-กระบือแช่แข็งจากต่างประเทศ 3) การขอความร่วมมือไปยังศุลกากร ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ร่วมกันทำงานอย่างบูรณาการ และ 4) การจัดชุดทำงานเฉพาะกิจร่วมกับกรมประมงและกรมวิชาการเกษตร เพื่อเข้าตรวจสอบสินค้าเกษตร ณ ร้านค้าปลีกและค้าส่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้มีการส่งเสริมและขับเคลื่อนโครงการโคเนื้อสร้างอาชีพและการปรับโครงสร้างการผลิตโคเนื้อภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าในปี 2564 จะสามารถเพิ่มจำนวนโค-กระบือภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อลดปัญหาการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์อย่างผิดกฎหมายต่อไป
พล.อ.ฉัตรชัยกล่าวต่อว่า ในช่วงที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ โดยกองสารวัตรและกักกัน ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษปราบปรามผู้กระทำผิด มีผลการจับกุมและดำเนินคดีลักลอบนำเข้าสินค้าอย่างผิดกฎหมาย ตามกฎหมายโรคระบาดสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 จนถึงปัจจุบัน จำนวนทั้งสิ้น 131,461 กิโลกรัม มูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท แบ่งออกเป็น เนื้อโคกระบือแช่แข็ง จำนวน 72,614 กิโลกรัม เครื่องในโคกระบือแช่แข็ง จำนวน 4,547 กิโลกรัม และขาไก่และชิ้นส่วนไก่แช่แข็ง จำนวน 54,300กิโลกรัม ซึ่งเนื้อสัตว์เถื่อนเหล่านี้ มีความเสี่ยงที่จะนำโรคระบาดและอาจมีสารตกค้างปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค รวมทั้งอาจมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อปศุสัตว์ภายในประเทศ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ได้จัดให้มีพิธีทำลายสินค้าปศุสัตว์ของกลางดังกล่าวทั้งหมด ที่ด่านกักกันสัตว์นครสวรรค์ อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ซึ่งถือเป็นการทำลายของกลางครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศไทย
ขณะที่การดำเนินการปราบปรามการลักลอบที่ผ่านมาในช่วง 2 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงปัจจุบัน ได้จับกุมดำเนินคดีทั้งสิ้น 199 คดี จำนวนของกลาง 2,063,675 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 217 ล้านบาท ซึ่งผู้กระทำผิดจะถูกดำเนินคดีอาญา มีโทษปรับสูงสุด 200,000 บาท และโทษจำคุก 2 ปี ซึ่งที่ผ่านมาศาลได้มีคำสั่งพิพากษาให้ยึดรถยนต์ของกลางของผู้กระทำผิดด้วย
สำหรับแผนปฏิบัติการในระยะต่อไปนั้น กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมปศุสัตว์มี 4 แผนงานและมาตรการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์จากต่างประเทศ ได้แก่ 1) การสุ่มตรวจสอบห้องเย็น โดยจัดชุดเฉพาะกิจเข้าตรวจสอบห้องเย็นที่คาดว่าจะมีการลักลอบนำซากสัตว์เข้ามาเก็บไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต 2) การลาดตระเวนหาข่าวบริเวณแนวชายแดน หรือช่องทางที่คาดว่าจะมีการลักลอบ ตลอดจนตั้งจุดตรวจสกัดกั้นการลักลอบเคลื่อนย้ายเนื้อและเครื่องในโค-กระบือแช่แข็งจากต่างประเทศ 3) การขอความร่วมมือไปยังศุลกากร ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง ร่วมกันทำงานอย่างบูรณาการ และ 4) การจัดชุดทำงานเฉพาะกิจร่วมกับกรมประมงและกรมวิชาการเกษตร เพื่อเข้าตรวจสอบสินค้าเกษตร ณ ร้านค้าปลีกและค้าส่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้มีการส่งเสริมและขับเคลื่อนโครงการโคเนื้อสร้างอาชีพและการปรับโครงสร้างการผลิตโคเนื้อภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าในปี 2564 จะสามารถเพิ่มจำนวนโค-กระบือภายในประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อลดปัญหาการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์อย่างผิดกฎหมายต่อไป