ทั้งนี้ การติดไมโครชิพ จะติดตั้งที่โคนหางด้านขวาของกระบือเพศเมียทุกตัว ทำให้สามารถยืนยันได้ว่ากระบือตัวนั้นมีแหล่งที่มาอย่างไร ใครเป็นเจ้าของ มีการตรวจรักษา ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามระยะเวลาหรือไม่ และเมื่อมีการลักขโมยหรือขนส่งกระบือผ่านจุดตรวจหรือด่านกักสัตว์ หากตรวจสอบแล้วไม่มีเอกสารควบคุม ก็จะทราบในทันทีว่าไม่ใช่เจ้าของ โดยการดำเนินการฝังไมโครชิพกระบือจะทำไปพร้อมกับทดสอบโรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis) และวัณโรค (Tuberculosis) ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมป้องกันโรคระบาดของกรมปศุสัตว์ โดยตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการติดไมโครชิพในกระบือไปแล้ว 253,676 ตัว และจะขยายขยายการดำเนินการต่อไปพร้อมกับจะดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงกระบือเพิ่มขึ้นควบคู่กันไป เพื่อป้องกันกระบือสูญพันธุ์
- หน้าหลัก
- เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร
- ข่าวเกษตร


ปศุสัตว์ฝังไมโครชิพ กระบือทั่วปท. หนุนเกษตรเลี้ยงเพิ่มสกัดสูญพันธุ์
29 สิงหาคม 2559
2,777
นายสัตวแพทย์อยุทธ์ หรินทรานนท์เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์กระบือและผู้เลี้ยงกระบือในประเทศไทย มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากวิถีชีวิตของเกษตรกรที่ทำนามีการใช้รถไถนาแทนการใช้แรงงานกระบือ ขณะที่เกษตรที่เลี้ยงกระบืออยู่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตกระบือคุณภาพ ทั้งการจัดการเลี้ยงดูและการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ที่เหมาะสม ส่งผลให้กระบือด้อยคุณภาพ อาจส่งผลให้ในอนาคตกระบือสูญพันธุ์ได้ โดยปัจจุบันมีกระบือเหลืออยู่ประมาณ 800,000 ตัว กรมปศุสัตว์จึงมีนโยบายเร่งด่วนในการแก้ปัญหาด้วยการจัดทำโครงการพัฒนาและผลิตกระบือ เพื่อเป็นแนวทางการอนุรักษ์ โดยจะดำเนินการติดไมโครชิพให้กับกระบือทั่วประเทศ เป้าหมายกระบือเพศเมียทั่วประเทศและกระบือในโครงการของกรมปศุสัตว์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2559
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
"ปศุสัตว์ฝังไมโครชิพ กระบือทั่วปท. หนุนเกษตรเลี้ยงเพิ่มสกัดสูญพันธุ์". (29-08-2559). แนวหน้า.:
สืบค้นเมื่อ 29-08-2559. เข้าถึงได้จาก : http://www.naewna.com/local/232587



ส่งอีเมล์ให้เพื่อน
ส่งให้เพื่อนหลายคนใส่เครื่องหมาย , ขั้นระหว่างชื่ออีเมล์ (ส่ง 1 ครั้งได้ไม่เกิน 50 อีเมล์)