นอกจากนี้ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ยังได้รายงานภาวะราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยปี 2558 เป็นกิโลกรัมละ 68.00 บาท และมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นในปี 2559 โดยราคาเฉลี่ยปี 2559 ตั้งแต่มกราคม-มิถุนายน กิโลกรัมละ 71.31 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.70 โดยเดือนพฤษภาคมปรับเพิ่มขึ้นสูงสุด กิโลกรัมละ 77.50 บาท หลังจากนั้นราคาชะลอตัวลง
สำหรับปริมาณการส่งออกในปี 2559 ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายนเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 พบว่า สุกรมีชีวิตมีการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก และสุกรพันธุ์ส่งออกเพิ่มขึ้นสองเท่า ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังสปป.ลาวและสุกรขุนส่งออกเพิ่มขึ้น 1 เท่า เนื่องจากผู้ประกอบการไทยเริ่มปรับไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตสุกร รายงานข้อมูลต้นทุนการผลิตสุกรขุนรายเดือน ปี 2559โดยต้นทุนการผลิตสุกรขุนไตรมาสที่ 1และ 2 ปี 2559 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.38 บาท กิโลกรัมละ 66.77 บาท ตามลำดับ และคาดการณ์ต้นทุนการผลิตไตรมาสที่ 3 เป็น 71.27 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากไตรมาสสองเนื่องจากต้นทุนค่าพันธุ์สัตว์ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3
นอกจากนี้ สถานการณ์เรื่องของการใช้สารต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น สารเร่งเนื้อแดง อาหารสัตว์ที่ไม่ได้คุณภาพ ยาปฏิชีวนะไม่ได้คุณภาพ ภาครัฐจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และมีบทลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญา ซึ่งที่ผ่านมามีการจับกุมผู้ที่ลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงในหลายพื้นที่ พร้อมกันนี้ ยังให้ความสำคัญในเรื่องการจับกุมโรงเชือดเถื่อน โดยเข้าไปดูแลและควบคุมอย่างเข้มงวด
สำหรับปริมาณการส่งออกในปี 2559 ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายนเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 พบว่า สุกรมีชีวิตมีการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก และสุกรพันธุ์ส่งออกเพิ่มขึ้นสองเท่า ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังสปป.ลาวและสุกรขุนส่งออกเพิ่มขึ้น 1 เท่า เนื่องจากผู้ประกอบการไทยเริ่มปรับไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามคณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตสุกร รายงานข้อมูลต้นทุนการผลิตสุกรขุนรายเดือน ปี 2559โดยต้นทุนการผลิตสุกรขุนไตรมาสที่ 1และ 2 ปี 2559 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.38 บาท กิโลกรัมละ 66.77 บาท ตามลำดับ และคาดการณ์ต้นทุนการผลิตไตรมาสที่ 3 เป็น 71.27 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากไตรมาสสองเนื่องจากต้นทุนค่าพันธุ์สัตว์ ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3
นอกจากนี้ สถานการณ์เรื่องของการใช้สารต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น สารเร่งเนื้อแดง อาหารสัตว์ที่ไม่ได้คุณภาพ ยาปฏิชีวนะไม่ได้คุณภาพ ภาครัฐจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และมีบทลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญา ซึ่งที่ผ่านมามีการจับกุมผู้ที่ลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดงในหลายพื้นที่ พร้อมกันนี้ ยังให้ความสำคัญในเรื่องการจับกุมโรงเชือดเถื่อน โดยเข้าไปดูแลและควบคุมอย่างเข้มงวด