นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกของอุตสาหกรรมทูน่าไทยปีนี้ คาดว่าจะเติบโตทั้งปริมาณและมูลค่าอย่างต่ำ 10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งมียอดการส่งออกอยู่ที่ 8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ แต่ละปีไทยนำเข้าวัตถุดิบปลาทูน่ามาแปรรูปประมาณ 6 แสนตัน โดยปี 2558 นำเข้าถึง 6.8 แสนตัน ขณะที่ราคาปลาทูน่าในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,500 เหรียญสหรัฐ/ตัน ลดลงจากปีก่อนที่ราคาเคยวิ่งขึ้นไปถึง 2,400 เหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามภาคการผลิตเห็นว่าราคาที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 1,300-1,500 เหรียญสหรัฐ/ตัน
ด้าน น.ส.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า การที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมและนิทรรศการการค้าทูน่าโลก ครั้งที่ 14 (14th INFOFISH World Tuna Trade Conference and Exhibition : TUNA 2016 Bangkok) ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค. และเป็นเจ้าภาพจัดติดต่อกันมา 6 ครั้ง โดยปีนี้มีผู้ค้ากว่า 600 คน จาก 60 ประเทศทั่วโลกมาร่วมประชุม เป็นการยืนยันให้เห็นถึงความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประมงของไทย และยืนยันว่าอุตสาหกรรมทูน่าของไทยไม่มีปัญหาเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) เนื่องจากไทยนำเข้าทูน่าจากต่างประเทศกว่า 90% และจะซื้อจากประเทศและเรือที่ขึ้นทะเบียนกับสหภาพยุโรป (อียู) เท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาในการนำเข้าและส่งออกสินค้า
"รัฐบาลไทยได้แสดงความจริงจังในการแก้ไขปัญหาไอยูยูต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาความเป็นรัฐเจ้าท่า และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้" น.ส.จูอะดี กล่าว
ทั้งนี้ ผลของการเข้าร่วมในภาคีดังกล่าว ไทยได้เตรียมมาตรการระเบียบและประกาศกรมประมงออกมารองรับเพื่อการปฏิบัติในฐานะรัฐเจ้าท่า ในการกำหนดท่าเทียบเรือมาตรการตรวจสอบสินค้าคือปลาทูน่า ตั้งแต่ขึ้นจากเรือจนผลิต และการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เข้าเทียบท่าเรือของไทย เป็นต้น
ทั้งนี้ แต่ละปีไทยนำเข้าวัตถุดิบปลาทูน่ามาแปรรูปประมาณ 6 แสนตัน โดยปี 2558 นำเข้าถึง 6.8 แสนตัน ขณะที่ราคาปลาทูน่าในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,500 เหรียญสหรัฐ/ตัน ลดลงจากปีก่อนที่ราคาเคยวิ่งขึ้นไปถึง 2,400 เหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามภาคการผลิตเห็นว่าราคาที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 1,300-1,500 เหรียญสหรัฐ/ตัน
ด้าน น.ส.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า การที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมและนิทรรศการการค้าทูน่าโลก ครั้งที่ 14 (14th INFOFISH World Tuna Trade Conference and Exhibition : TUNA 2016 Bangkok) ระหว่างวันที่ 23-25 พ.ค. และเป็นเจ้าภาพจัดติดต่อกันมา 6 ครั้ง โดยปีนี้มีผู้ค้ากว่า 600 คน จาก 60 ประเทศทั่วโลกมาร่วมประชุม เป็นการยืนยันให้เห็นถึงความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประมงของไทย และยืนยันว่าอุตสาหกรรมทูน่าของไทยไม่มีปัญหาเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) เนื่องจากไทยนำเข้าทูน่าจากต่างประเทศกว่า 90% และจะซื้อจากประเทศและเรือที่ขึ้นทะเบียนกับสหภาพยุโรป (อียู) เท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาในการนำเข้าและส่งออกสินค้า
"รัฐบาลไทยได้แสดงความจริงจังในการแก้ไขปัญหาไอยูยูต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาความเป็นรัฐเจ้าท่า และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 มิ.ย.นี้" น.ส.จูอะดี กล่าว
ทั้งนี้ ผลของการเข้าร่วมในภาคีดังกล่าว ไทยได้เตรียมมาตรการระเบียบและประกาศกรมประมงออกมารองรับเพื่อการปฏิบัติในฐานะรัฐเจ้าท่า ในการกำหนดท่าเทียบเรือมาตรการตรวจสอบสินค้าคือปลาทูน่า ตั้งแต่ขึ้นจากเรือจนผลิต และการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เข้าเทียบท่าเรือของไทย เป็นต้น