นายวีระ ร่มโพธิ์ภักดิ์ ปศุสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์มีนโยบายเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในทุกพื้นที่ ที่พบโรคในประเทศไทย ภายใต้รูปแบบการดำเนินงานเชิงบูรณาการนายสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานกรมปศุสัตว์ ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี พบเชื้อในสัตว์จำนวน 20 ตัวอย่าง โดยสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ได้จัดทำโครงการบูรณาการเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่เสี่ยง 10จังหวัด ซึ่งมีจังหวัดอุบลราชธานีรวมอยู่ด้วย โดยเน้นกิจกรรมหลัก คือ การผ่าตัดทำหมันในสุนัขและแมว ในสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของหรือสัตว์กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่จุดเกิดโรค มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สำรวจและขึ้นทะเบียนสุนัขและแมว เป้าหมาย 800 ตัว ในพื้นที่เสี่ยงที่พบเชื้อ โดยเริ่มดำเนินการระหว่าง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม เพื่อควบคุมจำนวนสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ลดปัญหาการเพิ่มจำนวนสุนัข และแมวในที่สาธารณะ และส่งเสริมประชาชนให้เลี้ยงสุนัขและแมวอย่างรับผิดชอบ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งจะลดความเสี่ยงของประชาชนจากการสัมผัสเชื้อจากสัตว์เลี้ยงทำให้ไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้อีกต่อไป
ปศุสัตว์จังหวัดอุบลฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคพิษสุนัขบ้าเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ทั้งสุนัข แมว กระรอก โค กระบือ และสมารถเกิดได้ทุกฤดูกาลไม่เฉพาะหน้าร้อนเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่จะพบมากในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน จะทำให้สัตว์เกิดอาการเครียด มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากสัตว์เลี้ยงที่เชื่องจะดุร้าย กระวนกระวาย หรือบางตัวจะเกิดอาการซึม ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ ทั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการสุ่มตรวจหัวสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 166 ตัวอย่าง ผลเป็นบวก หรือพบการติดเชื้อ จำนวน 20 ตัวอย่าง แบ่งเป็นสุนัข 15 ตัวอย่าง แมว 1 ตัว และโค 4 ตัวอย่าง ซึ่งกรณีที่พบเชื้อในโคนั้น จากการสอบถามของเจ้าหน้าที่พบว่า โคถูกสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด ทำให้โคเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
สำหรับอาการของโรคพิษสุนัขบ้าในโค ช่วงแรกจะมีอาการ ซึม ไม่กินหญ้า น้ำลายไหล หรือบางรายเิกดอาการดุกว่าปกติ หางตก กล้ามเนื้อท้องแข็งตึง เบ้าตาจมลึก หูกระดกไปด้านหลัง เดินไม่ตรงทาง เปะปะ พยายามจะออกจากคอกที่ขังโดยวิ่งชนคอกเป็นระยะๆ และอาจแสดงอาการแปลกๆ เช่น เอาหัวซุกพื้นคอก แล้วยกส่วนท้ายสูงขึ้น แสดงอาการกระหายน้ำจัด และพยายามดูดน้ำกินแต่ส่วนใหญ่น้ำจะไหลออกทางมุมปาก ต่อมาจะเกิดเป็นอัมพาตล้มลงนอน ส่งเสียงร้องเป็นระยะๆ น้ำลายไหลมาก ลูกตาเหลือกขึ้นด้านบน ม่านตาขยาย ลิ้นห้อยออกนอกปาก คอเหยียด และตายในที่สุด
สำหรับอาการของโรคพิษสุนัขบ้าในโค ช่วงแรกจะมีอาการ ซึม ไม่กินหญ้า น้ำลายไหล หรือบางรายเิกดอาการดุกว่าปกติ หางตก กล้ามเนื้อท้องแข็งตึง เบ้าตาจมลึก หูกระดกไปด้านหลัง เดินไม่ตรงทาง เปะปะ พยายามจะออกจากคอกที่ขังโดยวิ่งชนคอกเป็นระยะๆ และอาจแสดงอาการแปลกๆ เช่น เอาหัวซุกพื้นคอก แล้วยกส่วนท้ายสูงขึ้น แสดงอาการกระหายน้ำจัด และพยายามดูดน้ำกินแต่ส่วนใหญ่น้ำจะไหลออกทางมุมปาก ต่อมาจะเกิดเป็นอัมพาตล้มลงนอน ส่งเสียงร้องเป็นระยะๆ น้ำลายไหลมาก ลูกตาเหลือกขึ้นด้านบน ม่านตาขยาย ลิ้นห้อยออกนอกปาก คอเหยียด และตายในที่สุด
ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ ให้ระมัดระวังอย่าให้โค-กระบือถูกสุนัขกัด หากโค-กระบือถูกสุนัขกัดให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า เบื้องต้นให้คัดแยกจากฝูง เฝ้าสังเกตอาการ ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้นแสดงว่าโค-กระบือ ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ให้แจ้งอาสาปศุสัตว์ประจำหมู่บ้าน สำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ออกไปป้องกันและรณรงค์ฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขในรัศมีโดยรอบพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ซึ่ง โค-กระบือ ที่ติดเชื้อพิษสุนัขบ้า ยังไม่มีวัคซีนป้องกันหากโรค ได้รับเชื้อแล้วจะตายทุกราย พร้อมกันนี้ขอแจ้งเตือนเกษตรกร ห้ามชำแหละโค -กระบือ ที่ติดเชื้อนำมารับประทานโดยเด็ดขาด ต้องฝังกลบ เท่านั้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 045-255005 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดดอุบลราชธานี
เรียบเรียงโดย : ณรงค์ ทิพจรูญ เจ้าหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.อุบลราชธานี.