นายมนตรี สุมณฑา นักวิชาการประมงชำนาญการ สถานีประมงทะเลจังหวัดระนอง กล่าวว่า หมึกสายวงน้ำเงินเป็นสัตว์ที่มีพิษแรงมาก สามารถฆ่าคนได้อย่างง่ายดาย ประกอบด้วยสารพิษ 2 ชนิด คือ Maculotoxin ลักษณะคล้ายกับ Tetrodotoxin ที่พบในปลาปักเป้า มีพิษต่อระบบประสาท และ Hepalotoxin เป็นสารพิษชนิดร้ายแรงไม่มียาแก้พิษ ต้องช่วยในลักษณะเดียวกับปลาปักเป้า นั่นคือช่วยหายใจและรักษาตามอาการ หากพ้น 24 ชั่วโมงได้อาการจะดีขึ้นตามลำดับ
"เมื่อถูกปลาหมึกสายวงน้ำเงินกัด ขั้นแรก จะมีอาการคลื่นไส้ ตาพร่าเลือน ขั้นต่อมาจะทำให้มองไม่เห็นและประสาทสัมผัสก็จะไม่ทำงาน ไม่สามารถจะพูดหรือกลืนน้ำลายได้ และขั้นสุดท้ายประมาณ 10 นาทีต่อมา จะเป็นอัมพาตและหยุดหายใจได้ เนื่องจากสมองขาดออกซิเจน ดังนั้น ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจในระหว่างที่ระบบประสาทยังสามารถทำงานได้ปกติ"
นายมีศักดิ์กล่าวต่อว่า สำหรับโอกาสที่คนทั่วไปจะโดนหมึกชนิดนี้กัดนั้นน้อยมาก เนื่องจากหมึกชนิดนี้ยังไม่มีการพบว่าเข้ามาแถบหาดทรายชายฝั่งน้ำตื้น อีกทั้งไม่มีนิสัยไล่กัดนักดำน้ำ และที่สำคัญ กรมประมง ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าหมึกสายชนิดนี้
ตามบัญชีแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2547 โดยมีประกาศครอบคลุมถึงหอยงวงช้างและปลาหมึกทุกชนิดใน Class Cephalophoda ดังนั้นจึงยากเราจะมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับเจ้าหมึกชนิดนี้ นอกเสียจากว่าอาจตกได้กลางทะเลและไปจับตัวหมึกจนโดนกัด โดยปกติหมึกสายวงน้ำเงินหรือหมึก
สายอื่นๆ จะไม่สามารถจับได้โดยการตกเหมือนหมึกกล้วย แต่อาจจะจับได้โดยการใช้เครื่องมืออวนลาก หรือลอบหมึกสาย ซึ่งชาวประมงกลุ่มนี้ต้องระมัดระวังหมึกชนิดดังกล่าวเป็นพิเศษ สำหรับในประเทศไทยนั้นยังไม่มีข้อมูลผู้ถูกหมึกสายชนิดนี้กัด
สุดท้ายนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภครวมถึงพ่อค้า แม่ค้า จึงขอเตือนให้ทุกท่านเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้อหมึกมารับประทาน โดยให้สังเกตลักษณะภายนอกของหมึกก่อนที่จะเลือกซื้ออย่างละเอียด หากพบเห็นหมึกชนิดนี้ ขอให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสและห้ามนำมารับประทานโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งรีบแจ้งสำนักงานประมงจังหวัดใกล้บ้านเพื่อให้เข้าไปตรวจสอบโดยเร็ว หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมประมง โทร. 0-2562-0600
"เมื่อถูกปลาหมึกสายวงน้ำเงินกัด ขั้นแรก จะมีอาการคลื่นไส้ ตาพร่าเลือน ขั้นต่อมาจะทำให้มองไม่เห็นและประสาทสัมผัสก็จะไม่ทำงาน ไม่สามารถจะพูดหรือกลืนน้ำลายได้ และขั้นสุดท้ายประมาณ 10 นาทีต่อมา จะเป็นอัมพาตและหยุดหายใจได้ เนื่องจากสมองขาดออกซิเจน ดังนั้น ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจในระหว่างที่ระบบประสาทยังสามารถทำงานได้ปกติ"
นายมีศักดิ์กล่าวต่อว่า สำหรับโอกาสที่คนทั่วไปจะโดนหมึกชนิดนี้กัดนั้นน้อยมาก เนื่องจากหมึกชนิดนี้ยังไม่มีการพบว่าเข้ามาแถบหาดทรายชายฝั่งน้ำตื้น อีกทั้งไม่มีนิสัยไล่กัดนักดำน้ำ และที่สำคัญ กรมประมง ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าหมึกสายชนิดนี้
ตามบัญชีแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2547 โดยมีประกาศครอบคลุมถึงหอยงวงช้างและปลาหมึกทุกชนิดใน Class Cephalophoda ดังนั้นจึงยากเราจะมีโอกาสได้ไปสัมผัสกับเจ้าหมึกชนิดนี้ นอกเสียจากว่าอาจตกได้กลางทะเลและไปจับตัวหมึกจนโดนกัด โดยปกติหมึกสายวงน้ำเงินหรือหมึก
สายอื่นๆ จะไม่สามารถจับได้โดยการตกเหมือนหมึกกล้วย แต่อาจจะจับได้โดยการใช้เครื่องมืออวนลาก หรือลอบหมึกสาย ซึ่งชาวประมงกลุ่มนี้ต้องระมัดระวังหมึกชนิดดังกล่าวเป็นพิเศษ สำหรับในประเทศไทยนั้นยังไม่มีข้อมูลผู้ถูกหมึกสายชนิดนี้กัด
สุดท้ายนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภครวมถึงพ่อค้า แม่ค้า จึงขอเตือนให้ทุกท่านเพิ่มความระมัดระวังในการเลือกซื้อหมึกมารับประทาน โดยให้สังเกตลักษณะภายนอกของหมึกก่อนที่จะเลือกซื้ออย่างละเอียด หากพบเห็นหมึกชนิดนี้ ขอให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสและห้ามนำมารับประทานโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งรีบแจ้งสำนักงานประมงจังหวัดใกล้บ้านเพื่อให้เข้าไปตรวจสอบโดยเร็ว หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมประมง โทร. 0-2562-0600