แต่ล่าสุด กลับมีคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ลงวันที่ 15 มกราคม 2559 ให้ระงับการใช้ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี มีเนื้อหาระบุให้เกษตรกรต้องจับสัตว์น้ำให้แล้วเสร็จใน 120 วัน นับตั้งแต่ออกประกาศ ก่อให้เกิดข้อกังขามากมายกับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ
นายประกอบ ทรัพย์ยอดแก้ว นายกสมาคมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทย เผยว่า การออกคำสั่งเช่นนี้ ไม่ทราบว่าผู้ว่าราชการ จ.สุพรรณบุรี มีความรู้เรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากน้อยเพียงไร เพราะสัตว์น้ำหลักๆทั้งส่งออกและบริโภคในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกุ้งขาว กุ้งก้ามกราม ปลานิล รวมถึงปลาอื่นๆ ล้วนจำเป็นต้องอาศัยน้ำเค็มในกระบวนการเพาะเลี้ยงทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้าห้ามเช่นนี้จะเกิดผลกระทบมหาศาลต่อทั้งเกษตรกรเองและรายได้ของประเทศจากการส่งออก
"เท่าที่ทราบคำสั่งเดียวกันนี้ได้ถูกประกาศไปแล้วกว่า 30 จังหวัด แต่ดูเหมือนสุพรรณบุรีได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีการเลี้ยงหลากหลาย ทั้งกุ้งขาว กุ้งก้ามกราม ปลากะพง ปลานิล ฯลฯ เฉพาะกุ้งขาว มีผู้มาขึ้นทะเบียนกับกรมประมงแล้วเกือบ 1,000 ราย ไม่นับรวมผู้เกี่ยวข้องอีกหลายพันชีวิต ส่วนพื้นที่อื่นทางเหนือหรืออีสานก็ห่างทะเล และพื้นที่ส่วนหนึ่งก็มีความเค็มใต้ดินอยู่แล้ว จึงไม่เป็นปัญหานัก"
"เท่าที่ทราบคำสั่งเดียวกันนี้ได้ถูกประกาศไปแล้วกว่า 30 จังหวัด แต่ดูเหมือนสุพรรณบุรีได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะมีการเลี้ยงหลากหลาย ทั้งกุ้งขาว กุ้งก้ามกราม ปลากะพง ปลานิล ฯลฯ เฉพาะกุ้งขาว มีผู้มาขึ้นทะเบียนกับกรมประมงแล้วเกือบ 1,000 ราย ไม่นับรวมผู้เกี่ยวข้องอีกหลายพันชีวิต ส่วนพื้นที่อื่นทางเหนือหรืออีสานก็ห่างทะเล และพื้นที่ส่วนหนึ่งก็มีความเค็มใต้ดินอยู่แล้ว จึงไม่เป็นปัญหานัก"
นายประกอบ เผยด้วยว่า ผลการศึกษาที่ผ่านมา จากการวิจัยร่วมกันของหลายหน่วยงาน ยังไม่มีเอกสารวิชาการใดๆที่สามารถชี้ชัดได้ว่าเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด ทางสมาคมฯ จึงได้ทำหนังสือไปถึงนายกรัฐมนตรี และได้สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการร่วมแก้ปัญหาดังกล่าวให้ได้ในระยะเวลา 6 เดือน แต่คณะกรรมการฯยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ มีการขอขยายเวลามาเป็นระยะ ผลสรุปยังไม่ออกมา แต่ปรากฏว่าทางจังหวัดสุพรรณ-บุรีกลับมีประกาศมาถึงเกษตรกรได้อย่างไร
"หากมีประกาศห้ามครบทุกพื้นที่ ไม่เพียงจะสร้างผลเสียกับประเทศชาติมหาศาล เพราะมูลค่าส่งออกกุ้งขาวจากแถบภาคกลางมีนับพันล้านบาท ยังจะสร้างความเสียหายภาพรวมทั้งระบบ ในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกว่าแสนล้านบาท เรื่องไอยูยู แรงงานเถื่อน เราก็ส่งออกแทบจะไม่ได้อยู่แล้ว ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องมาซ้ำเติมเกษตรกรอีก".