นาย อิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวถึงการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ว่า กกร.ร่วมกับสมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย 8 สมาคม และ 1 บริษัทเอกชนออกมาประกาศเจตนารมณ์ในการเดินหน้าให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการ แก้ไขปัญหา IUU และการค้ามนุษย์อย่างถูกต้องและถูกกฎหมาย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งกระบวนการผลิต การหาวัตถุดิบ การใช้แรงงานเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยเป็นผู้นำในเอเชีย และเป็นครัวของโลกต่อไป
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยกล่าวว่า เอกชนทุกภาคส่วนเดินหน้าแก้ไขปัญหา IUU และปัญหาค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่องใน 8 เรื่อง ได้แก่ 1.สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ประกาศนโยบายและสนับสนุนสมาคมที่เป็นสมาชิกให้ดำเนินการทุกอย่างให้ถูก กฎหมาย นโยบาย และคำสั่งปฏิบัติของรัฐบาล 2.แต่ละสมาคมได้ประกาศจุดยืนและนโยบายให้สมาชิกดำเนินธุรกรรมให้ถูกต้อง ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และไม่ซื้อวัตถุดิบสัตว์น้ำจากเรือหรือแหล่งที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีการปนเปื้อน IUU หรือมีปัญหาด้านแรงงานและการค้ามนุษย์ หากพบมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องจะขับออกจากการเป็นสมาชิก ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกรรมในการส่งออกได้
3.ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และกระทรวงแรงงาน ในการจัดทำและให้ความรู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน 4.ร่วมกับองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศ (NGO) ในการให้ความรู้กับสมาชิก และแรงงานในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรม 5.ร่วมมืออย่างเต็มที่กับหน่วยงานภาครัฐในการออกมาตรการ และการจัดทำเอกสารควบคุมการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าทุกประเภท โดยภาคการเลี้ยงจะต้องมีหนังสือรับรองการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำ (MD) และภาคการจับจากธรรมชาติ ต้องมีหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (MCPD) รวมทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าประมงทุกประเภท จะต้องมีเอกสารกำกับที่สามารถตรวจสอบได้ 6.สนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา IUU ตามหลักการสากล UNCLOS 1982 และ FAO Code of Conduct for Responsible Fisheries
7.สนับสนุนพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย/นโยบายแห่งชาติด้านการจัดการ ประมงทะเล พ.ศ. 2558 และ 8.แต่ละสมาคมได้ดำเนินการสำรวจและแก้ไขจุดอ่อน รวมถึงปัญหาของสินค้าตลอดห่วงโซ่การผลิต
อย่างไรก็ดี คาดว่าสหภาพยุโรปจะเข้ามาประเมินไทยในช่วงปลายเดือนนี้ ในทิศทางที่ดี ซึ่งอาจจะขยายใบเหลืองต่อเวลาให้ไทยออกไปอีก 6 เดือน
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทยกล่าวว่า เอกชนทุกภาคส่วนเดินหน้าแก้ไขปัญหา IUU และปัญหาค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่องใน 8 เรื่อง ได้แก่ 1.สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ประกาศนโยบายและสนับสนุนสมาคมที่เป็นสมาชิกให้ดำเนินการทุกอย่างให้ถูก กฎหมาย นโยบาย และคำสั่งปฏิบัติของรัฐบาล 2.แต่ละสมาคมได้ประกาศจุดยืนและนโยบายให้สมาชิกดำเนินธุรกรรมให้ถูกต้อง ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และไม่ซื้อวัตถุดิบสัตว์น้ำจากเรือหรือแหล่งที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีการปนเปื้อน IUU หรือมีปัญหาด้านแรงงานและการค้ามนุษย์ หากพบมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องจะขับออกจากการเป็นสมาชิก ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกรรมในการส่งออกได้
3.ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และกระทรวงแรงงาน ในการจัดทำและให้ความรู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน 4.ร่วมกับองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศ (NGO) ในการให้ความรู้กับสมาชิก และแรงงานในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการทำกิจกรรม 5.ร่วมมืออย่างเต็มที่กับหน่วยงานภาครัฐในการออกมาตรการ และการจัดทำเอกสารควบคุมการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าทุกประเภท โดยภาคการเลี้ยงจะต้องมีหนังสือรับรองการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำ (MD) และภาคการจับจากธรรมชาติ ต้องมีหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (MCPD) รวมทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าประมงทุกประเภท จะต้องมีเอกสารกำกับที่สามารถตรวจสอบได้ 6.สนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา IUU ตามหลักการสากล UNCLOS 1982 และ FAO Code of Conduct for Responsible Fisheries
7.สนับสนุนพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย/นโยบายแห่งชาติด้านการจัดการ ประมงทะเล พ.ศ. 2558 และ 8.แต่ละสมาคมได้ดำเนินการสำรวจและแก้ไขจุดอ่อน รวมถึงปัญหาของสินค้าตลอดห่วงโซ่การผลิต
อย่างไรก็ดี คาดว่าสหภาพยุโรปจะเข้ามาประเมินไทยในช่วงปลายเดือนนี้ ในทิศทางที่ดี ซึ่งอาจจะขยายใบเหลืองต่อเวลาให้ไทยออกไปอีก 6 เดือน