นางสาวนิสารัตน์ เพชรหนู สัตวแพทย์หญิงปฏิบัติการ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า โรค PRRS เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งจะสามารถติดต่อได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ทางการสัมผัส การเคลื่อนย้ายสัตว์ และอุปกรณ์ภายในฟาร์มที่ไม่เป็นระบบ หรือการเลี้ยงสุกรหนาแน่นเกินไป รวมถึงการติดเชื้อจากพ่อแม่พันธุ์ที่มีประวัติการติดเชื้อมาก่อนหน้านี้ อาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อ การจัดการฟาร์ม การสุขาภิบาล ระบบการหมุนเวียนอากาศ สุกรพันธุ์ พบว่ามีการคลอดก่อนกำหนด แท้งในระยะท้ายของการตั้งท้อง (มากกว่า 100 วัน) ลูกที่คลอดอ่อนแอและมีอัตราตายแรกคลอดสูง สุกรอนุบาล สุกรขุน มักมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ไอหรือจาม โตช้า และมักพบโรคแทรกซ้อน อื่นๆ ร่วมด้วยความรุนแรงของโรคจะลดลงเมื่อสุกรอายุมากขึ้น สุกรที่อายุมากกว่า 1 เดือน จะแสดงอาการไม่เด่นชัดถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน ซึ่งวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ เกษตรกรควรมีการจัดการฟาร์มที่ดี ทั้งในส่วนของความสะอาดของฟาร์ม วัสดุอุปกรณ์ และตัวสุกรเอง มีความเข้มงวดในเรื่องของการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะภายนอกโดยมีการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม ไม่ควรเลี้ยงสุกรหนาแน่นเกินไป เพราะจะทำให้สุกรเครียด เสี่ยงต่อการเกิดโรค พยายามให้ภายในฟาร์มมีการถ่ายเทอากาศที่สะดวก และเช็คประวัติของสุกรที่นำสุกรที่จะเข้ามาเลี้ยงควรมาจากแหล่งที่ปลอดเชื้อโรค PRRS
ซึ่งในพื้นที่อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประสบกับปัญหาสุกรติดเชื้อ โรคพีอาร์อาร์เอส(เพิร์ส หรือ PRRS) จำนวน 1 ฟาร์ม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเนินการ กักกันสุกร และห้ามเคลื่อนย้ายสุกรออกจากฟาร์ม และให้คำแนะนำก่อนผู้เลี้ยงสุกรจะเข้าฟาร์มให้พ้นยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง และทางปศุสัตว์ได้ให้วัคซีนรักษาตามอาการแล้ว
จึงขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเฝ้าระวังสุขภาพสุกรอย่างใกล้ชิด เพราะอาจสร้างความเสียหายในสุกรโดยเฉพาะพ่อและแม่พันธุ์ ที่สำคัญโรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษา เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสีย เกษตรกรจึงควรเอาใจใส่โดยนำมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพมาปรับใช้ในการเลี้ยงสุกร เช่น จัดระบบการเลี้ยงสุกรที่ดี โรงเรือนที่เหมาะสม เป็นต้น
เรียบเรียงโดย : สิทธิโชค กุลสุข. เจ้าหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.นครศรีธรรมราช
จึงขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเฝ้าระวังสุขภาพสุกรอย่างใกล้ชิด เพราะอาจสร้างความเสียหายในสุกรโดยเฉพาะพ่อและแม่พันธุ์ ที่สำคัญโรคนี้ยังไม่มีวิธีการรักษา เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสีย เกษตรกรจึงควรเอาใจใส่โดยนำมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพมาปรับใช้ในการเลี้ยงสุกร เช่น จัดระบบการเลี้ยงสุกรที่ดี โรงเรือนที่เหมาะสม เป็นต้น
เรียบเรียงโดย : สิทธิโชค กุลสุข. เจ้าหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.นครศรีธรรมราช