นายสงวนศักดิ์ อัครวรินทร์ชัย นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากสถานการณ์เรือประมงหยุดจับปลาทั่วประเทศช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ราคาปลาป่นได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ กก.ละ 3 บาท อาทิ ปลาป่นเบอร์ 1 คุณภาพที่ 60 โปรตีนจาก กก.ละ 36.7 บาท ปรับเป็น กก.ละ 39 บาท ส่วนราคาส่งออกไปจีนก่อนหน้าการหยุดจับปลาจะอยู่ที่ กก.ละ 38-39 บาท แต่ขณะนี้ต้องชะลอการขายปลาป่นให้จีนเพราะโรงงานปลาป่นส่วนใหญ่จะไม่สต๊อกสินค้าไว้ ที่มีสต๊อกปลาป่นอยู่ในมือคือยี่ปั๊วปลาป่น
สถานการณ์ปลาป่นที่ผ่านมาในปีนี้ไม่ค่อยดี เนื่องจากเกิดภาวะภัยแล้งยาวนานต่อเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโญ เลี้ยงสัตว์น้ำลำบาก ทำให้โรงงานผลิตอาหารกุ้ง โรงงานผลิตอาหารปลาสั่งซื้อปลาป่นน้อยลง ขณะที่จีนพยายามกดราคารับซื้อปลาป่นจากไทย โดยปัจจัยเอื้อต่อจีน อีกประการก็คือ เปรูจับปลามาทำปลาป่นได้มากกว่าปกติ จีนเลยซื้อจากไทยน้อย แต่ราคาปลาป่นเปรูสูงกว่าไทยตกประมาณ กก.ละ 40-50 บาทแล้วแต่เกรด และการขนส่งใช้เวลานาน 2-3 เดือน การที่จีนจะซื้อจากไทยในระยะต่อไปจึงขึ้นอยู่กับสต๊อกปลาป่นในจีนจะเหลือมากน้อยเพียงใด ราคาที่ไทยจะขายให้จีนต่อไปก็ต้องจับตาดูว่าสถานการณ์ปลาในไทยจะขาดแคลนมากน้อยแค่ไหน เพราะเรือประมงพาณิชย์ต้องใช้เวลาจับปลานานประมาณ 15 วัน และโรงงานปลาป่นจะเป็นที่สุดท้ายที่จะได้ซื้อวัตถุดิบหรือปลาจากเรือประมง
ทางด้านนายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ไทยต้องปรับตัวทำประมงให้ถูกกฎหมายรับกับกฎระเบียบสากลมากยิ่งขึ้นนั้น ทางสมาคมต้องการให้หน่วยงานของรัฐบาลไทยขึ้นทะเบียนรับรองบริษัทโบรกเกอร์คนกลางทั้งสัญชาติไทยและต่างประเทศที่มาชักชวนเรือประมงไทยไปสัมปทานจับปลานอกน่านน้ำไทยเพราะบ่อยครั้งเป็นโบรกเกอร์เถื่อนไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลที่เรือไทยเข้าไปจับปลา เรือไทยจึงถูกหลอกและปลาที่จับได้จะกลายเป็นปลาไม่ถูกกฎหมาย
ส่วนกรณีประเทศอินโดนีเซียปิดน่านน้ำไม่ให้จับปลามานานกว่า8เดือน ทำให้นักลงทุนไทยเสียหายไปมาก ซึ่งปกติเรือสมาชิกสมาคมกว่า 300 ลำจะจับปลาจากอินโดนีเซียส่งมาไทยไม่ต่ำกว่าปีละ 3 แสนตัน และมีปลาจากเรือประมงที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมอีกปีละไม่ต่ำกว่า 3 แสนตัน ประมาณ 65% จะป้อนตลาดผู้บริโภคคนไทย ที่เหลือจะส่งเข้าโรงงานแปรรูปเพื่อส่งออกต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง
แหล่งที่มาของข้อมูล : "มรสุมรุมถล่ม ธุรกิจปลาป่น โรงงานอาหารสัตว์ชะลอซื้อ.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1436763313
สถานการณ์ปลาป่นที่ผ่านมาในปีนี้ไม่ค่อยดี เนื่องจากเกิดภาวะภัยแล้งยาวนานต่อเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโญ เลี้ยงสัตว์น้ำลำบาก ทำให้โรงงานผลิตอาหารกุ้ง โรงงานผลิตอาหารปลาสั่งซื้อปลาป่นน้อยลง ขณะที่จีนพยายามกดราคารับซื้อปลาป่นจากไทย โดยปัจจัยเอื้อต่อจีน อีกประการก็คือ เปรูจับปลามาทำปลาป่นได้มากกว่าปกติ จีนเลยซื้อจากไทยน้อย แต่ราคาปลาป่นเปรูสูงกว่าไทยตกประมาณ กก.ละ 40-50 บาทแล้วแต่เกรด และการขนส่งใช้เวลานาน 2-3 เดือน การที่จีนจะซื้อจากไทยในระยะต่อไปจึงขึ้นอยู่กับสต๊อกปลาป่นในจีนจะเหลือมากน้อยเพียงใด ราคาที่ไทยจะขายให้จีนต่อไปก็ต้องจับตาดูว่าสถานการณ์ปลาในไทยจะขาดแคลนมากน้อยแค่ไหน เพราะเรือประมงพาณิชย์ต้องใช้เวลาจับปลานานประมาณ 15 วัน และโรงงานปลาป่นจะเป็นที่สุดท้ายที่จะได้ซื้อวัตถุดิบหรือปลาจากเรือประมง
ทางด้านนายอภิสิทธิ์ เตชะนิธิสวัสดิ์ นายกสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทย เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ไทยต้องปรับตัวทำประมงให้ถูกกฎหมายรับกับกฎระเบียบสากลมากยิ่งขึ้นนั้น ทางสมาคมต้องการให้หน่วยงานของรัฐบาลไทยขึ้นทะเบียนรับรองบริษัทโบรกเกอร์คนกลางทั้งสัญชาติไทยและต่างประเทศที่มาชักชวนเรือประมงไทยไปสัมปทานจับปลานอกน่านน้ำไทยเพราะบ่อยครั้งเป็นโบรกเกอร์เถื่อนไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลที่เรือไทยเข้าไปจับปลา เรือไทยจึงถูกหลอกและปลาที่จับได้จะกลายเป็นปลาไม่ถูกกฎหมาย
ส่วนกรณีประเทศอินโดนีเซียปิดน่านน้ำไม่ให้จับปลามานานกว่า8เดือน ทำให้นักลงทุนไทยเสียหายไปมาก ซึ่งปกติเรือสมาชิกสมาคมกว่า 300 ลำจะจับปลาจากอินโดนีเซียส่งมาไทยไม่ต่ำกว่าปีละ 3 แสนตัน และมีปลาจากเรือประมงที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมอีกปีละไม่ต่ำกว่า 3 แสนตัน ประมาณ 65% จะป้อนตลาดผู้บริโภคคนไทย ที่เหลือจะส่งเข้าโรงงานแปรรูปเพื่อส่งออกต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง
แหล่งที่มาของข้อมูล : "มรสุมรุมถล่ม ธุรกิจปลาป่น โรงงานอาหารสัตว์ชะลอซื้อ.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1436763313