![]() |
กำนันตำบลลีเล็ดกล่าวว่า คณะกรรมการทั้งหมดของหมู่บ้าน แยกเป็นหลายชุดและมีหน้าที่แตกต่างกันไป เช่น มีคณะกรรมการชุมชนประมงต้นแบบ คณะกรรมการหมู่บ้านทุกส่วน คณะกรรมการดูแลป่ายชายเลน สภาเด็กและเยาวชน สภาที่ปรึกษาการจัดการทรัพยากรฯลฯ ผลจากความร่วมมือร่วมใจดังกล่าว ส่งผลให้ปัจจุบันมีพื้นที่ป่ายชายเลน หรือป่าอนุรักษ์เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 8000 ไร่ จากเดิมในปี 2534 มีป่าชายเลนเหลืออยู่เพียง 3400 ไร่ และ2548 มี 5085 ไร่ เป็นผืนป่าที่เกิดขึ้นใหม่ โดยเฉพาะในช่วงปี 2549-2550 รวมทั้งยังมีทรัพยากรทางน้ำเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งกุ้ง หอย ปูและปลา และยังเป็นแหล่งเกิดหอยแครงอีกด้วย เกษตรกรบางคนมีรายได้จากการเลี้ยงและขายหอยแครงในปีหนึ่งถึง 11 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีการตั้งกลุ่มชุมชนลีเล็ดนำเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์ ปี 2547 โดยหวังให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือ เป็นกุลโลบาย ในการอนุรักษ์ทรัพยากร แต่ปรากฎว่าสามารถจัดการการท่องเที่ยวได้ดีจนได้รับรางวัลระดับประเทศหลายรางวัล เช่น มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย อีกรางวัลที่ยิ่งใหญ่คือ รางวัลกินรีทองคำ ประเภทการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รางวัลที่ 1 ระดับประเทศ ปี 2551 และปี 2553 ได้รับรางวัลการจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ ในระดับประเทศ มีมูลนิธิอุทกพัฒน์เข้ามาดูแลหมู่บ้านด้วย อีกทั้งยังมีนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเที่ยวที่ป่าชายเลนแห่งนี้เพิ่มมากขึ้นทุกปีๆ "ปัจจุบันบ้านลีเล็ดสามารถทำให้คนที่นี่เข้ามามีส่วนร่วมตัวชี้วัดการมีส่วนร่วมคือกลุ่มต่างๆ ในชุมชนที่จะช่วยกันทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มาตลอด อีกอย่างเรื่องทรัพยากร เรามีป่าเพิ่มขึ้นเรียกว่าป่ารุกทะเลโดยเฉพาะเมื่อปี 2549-2550 ที่นี่มีชื่อเสียงมากเรื่องของป่ารุกทะเล เนื่องจากป่าเกิดรุกไปในทะเลทุกปี ทำให้มีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจับสัตว์น้ำ?นายประเสริฐกล่าวและว่า สิ่งที่ชาวลีเล็ดภูมิใจมากคือคนของหมู่บ้าน จากที่เคยทำลาย เคยตักไม้ทำลายป่า เคยใช้อุปกรณ์ประมงผิดกฎหมาย ได้กลับตัวกลับใจแล้วมาร่วมกับเป็นอาสาสมัคร อนุรักษ์สัตว์น้ำ และเป็นสมาชิกของกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชน นี่คือรางวัลที่ยิ่งใหญ่ และป่าชายเลนของลีเล็ดถือเป็นมหาวิทยาลัยธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่" แหล่งที่มาของข้อมูล : "ชาวบ้านลีเล็ดอนุรักษ์ป่าชายเลน ฟันรายได้เลี้ยงหอยแครง11ล้าน.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1437008349 |


