ส่วนสหกรณ์อีก 2 แห่ง ที่ไม่ผ่านการคัดเลือก อธิบดีกรมปศุสัตว์ บอกถึงสาเหตุว่า ยังติดปัญหาเรื่องพื้นที่การปลูกหญ้าไม่พร้อม ต้องกลับไปปรับปรุงให้ได้ตามเกณฑ์ที่กรมกำหนดไว้คือ ต้องมีพื้นที่ปลูกหญ้ามากกว่า 500 ไร่ เพื่อรองรับโคนมได้ 1,000 ตัว พร้อมแสดงหลักฐานแหล่งอาหารอื่นอาทิ ข้าวโพดด้วย เพราะสูตรอาหาร TMR ต้องใช้อาหารหยาบค่อนข้างมาก
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการของสหกรณ์โคนมฯ รูปแบบใหม่ น.สพ.อยุทธ์ บอกว่า จะทำให้เกษตรกรมีอาหารโคนมคุณภาพพอเพียงต่อการเลี้ยง เกิดการสร้างธุรกิจการเลี้ยงโคนมทดแทนเพื่อให้มีโคนมสาวท้องคุณภาพ เกษตรกรจะได้มีความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงโคนม มีการจัดการฟาร์มโคนมรูปแบบใหม่ ที่สามารถลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน และยังมีระบบจัดการรับส่งน้ำนมดิบที่ดีขึ้น การปรับเปลี่ยนทั้งหมดจะช่วยทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการผลิตน้ำนมสูงขึ้น
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการของสหกรณ์โคนมฯ รูปแบบใหม่ น.สพ.อยุทธ์ บอกว่า จะทำให้เกษตรกรมีอาหารโคนมคุณภาพพอเพียงต่อการเลี้ยง เกิดการสร้างธุรกิจการเลี้ยงโคนมทดแทนเพื่อให้มีโคนมสาวท้องคุณภาพ เกษตรกรจะได้มีความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงโคนม มีการจัดการฟาร์มโคนมรูปแบบใหม่ ที่สามารถลดปัญหาขาดแคลนแรงงาน และยังมีระบบจัดการรับส่งน้ำนมดิบที่ดีขึ้น การปรับเปลี่ยนทั้งหมดจะช่วยทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการผลิตน้ำนมสูงขึ้น
โดยสหกรณ์ที่ได้อนุมัติเข้าร่วมโครงการ จะได้รับการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสหกรณ์ละ 300 ล้านบาท เพื่อนำไปปรับโครงการต่างๆ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้กรมยังได้ติดต่อประสานกับคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) หาวงเงินอนุมัติอีก 1,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือสหกรณ์ขนาดเล็กอีกจำนวน 15-20 แห่ง มีกำลังการผลิตน้ำนมดิบ 20 ตันต่อวัน เพื่อให้สหกรณ์นำเงินไปใช้พัฒนาผลผลิต ความสะอาด องค์ประกอบน้ำนมให้มีคุณภาพสูงขึ้น ป้องกันผลกระทบระบบน้ำนมโคหลังเปิดตลาดเออีซี.
แหล่งที่มาของข้อมูล : "ปฏิรูปอาหารโคคืบหน้า ปศุสัตว์คัดได้ 2 สหกรณ์.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thairath.co.th/content/506737