![]() |
โดยในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม ของทุกปี ถือเป็นฤกษ์ดีของชาวบ้านหนองบัว ต.ปลาปาก อ.ปลาปากจ.นครพนม หมู่บ้านแห่งเดียวของนครพนม ที่มีอาชีพเรียกกันว่า สุดเสี่ยง เลี้ยงต่อหัวเสือขายทำกันมานานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ปู่ย่า ตายาย สืบทอดกันมาจนถึงรุ่นลูกหลาน จะเริ่มออกล่าหารังต่อตามป่าที่มีอยู่ในธรรมชาติ ด้วยการไปเดินหาแม่ต่อในป่า หรือนำเหยื่อประเภทเนื้อ ไปล่อแม่ต่อที่มาหาอาหาร ก่อนนำทางไปหารัง แล้วใช้วิธีแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน นำรังต่อกับมาเลี้ยงไว้ตามรั้วบ้าน และปล่อยทิ้งไว้ให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติโดยไม่ต้องให้อาหาร ประมาณ 4 เดือน
จนกระทั่งรังต่อโตพอที่จะนำออกไปขาย ชาวบ้านจะใช้วิธีลมควันเอารังต่อมาเก็บลูกต่อขาย เป็นที่นิยมของลูกค้าที่ชอบรับประทาน รวมถึงพ่อค้า แม่ค้าตามตลาดทั่วไปมาติดต่อซื้อในราคารังละประมาณ 500 - 1,000 บาท เพราะลูกต่อ ถือเป็นอาหารที่หากินยาก คนอีสานนิยมรับประทาน และจะขายได้ตลอดไปถึงช่วงงานบุญประเพณีออกพรรษา เนื่องจากประเพณีชาวอีสาน ในช่วงงานบุญออกพรรษา จะมีการนำตัวต่อไปทำอาหาร เพื่อนำไปทำบุญถวายพระ เชื่อว่าจะได้เป็นบุญกุศล ทำให้ตัวต่อขายดีจนไม่พอส่งตลาดทุกปี ทำให้ทุกปีชาวบ้านในพื้นที่ ต.ปลาปาก องปลาปาก จ.นครพนมจะมีรายได้จากการขายต่อหัวเสือปีละหลาย 10,000 บาท นายสง่า แสงแก้ว นายก อบต.ปลาปาก จ.นครพนม กล่าวว่า สำหรับอาชีพหารังต่อ ถือเป็นวิธีภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำกันมาแต่อดีต ซึ่งต่อจะเริ่มทำรังช่วงหน้าฝน หรือฤดูกาลทำนาพอดี จากนั้นชาวบ้านจะใช้วิธีภูมิปัญญาชาวบ้าน ออกไปล่าหารังต่อที่อยู่ตามธรรมชาติ พอเห็นรังต่อก็จะใช้ความชำนาญในการย้ายรังต่อกับไปเลี้ยงที่สวนใกล้บ้าน ปล่อยให้โตตามธรรมชาติ ไม่ต้องให้อาหาร ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ให้รังต่อโตเต็มที่ก็ลมควัน เอาลูกต่อมาทำอาหารได้แล้ว สำหรับลูกต่อถือว่าเป็นอาหารที่ชาวอีสานชอบรับประทาน เพราะหายาก 1 ปี มีครั้งเดียว ส่วนใหญ่จะตรงกับช่วงออกพรรษาพอดี ทำให้มีราคาแพง โดยซื้อขายกันรังละ 500 -1,000 บาท เมื่อถงึหน้าฝนมาชาวบ้านจะออกไปล่ารังต่อ เพื่อนำมาเลี้ยงเก็บไว้ขายช่วงออกพรรษา ถึงแม้จะเป็นอาชีพเสี่ยง แต่ก็สามารถสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง แต่ปีนี้ชาวบ้านกับประสบปัญหา เพราะเจอปัญหาภัยแล้ง ทำให้หารังต่อได้ น้อยกว่าทุกปี เพราะรังต่อจะเป็นตัวชี้วัดของความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ หากปีไหนรังต่อเยอะ ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาล แหล่งที่มาของข้อมูล : "นครพนมแล้งหนัก กระทบผู้เลี้ยงต่อหัวเสือ ชี้รังน้อยลงจากภัยแล้ง.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1434539435 |


