อย่างไรก็ตาม จากเวทีสัมมนา "ทางออกของ EMS ในอุตสาหกรรมกุ้งไทย" วันที่ 21 เม.ย. 2558 น.สพ.จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนองานวิจัยของจุฬาฯซึ่งยืนยันว่าเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค EMS นั้นมาจากเชื้อไมโครสปอริเดียชื่อ เอ็นเทอโรไซโตซูน เฮปพาโทพีนีอาย ซึ่งเป็นเชื้อราประเภทหนึ่ง
เนื่องจากการเก็บตัวอย่างในกุ้งป่วยและตายด้วยอาการโรค EMS ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคกลางและตะวันออก ทุกระยะการเลี้ยงและขนาด พบเชื้อไมโครสปอริเดียในกุ้งบ่อป่วย 42.86% ขณะที่เชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ พาราเฮโมไลติคัส ซึ่งทีมนักวิจัยทั้งจากสหรัฐ ญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยมหิดลได้สรุปไว้ก่อนหน้านี้นั้น ทีมวิจัยจุฬาฯพบในกุ้งบ่อป่วยเพียง 22.6%
และเชื้อไมโครสปอริเดียดังกล่าวพบในกุ้งป่วยทุกระยะตั้งแต่ในรังไข่แม่พันธุ์กุ้ง ลูกกุ้ง กุ้งเลี้ยงในบ่อดิน ดังนั้นสันนิษฐานได้ว่าเชื้อนี้ติดต่อได้ 3 ทาง คือ 1)เชื้อที่เป็นสปอร์ติดต่อทางผิวหนังกุ้ง 2)กุ้งมีชีวิตกินซากกุ้งป่วยตายในบ่อหรือพาหะนำโรค และ 3)เชื้อจากไข่ในรังไข่แม่พันธุ์ติดต่อสู่ลูกกุ้งในแนวดิ่ง
น.สพ.จิรศักดิ์กล่าวว่า การจัดการของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในไทยถือว่าทำได้ถูกต้องแล้ว โดยการหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อกำจัดตะกอนในบ่อ เป็นการลดความเสี่ยงของเชื้อ ไม่ว่าสาเหตุแท้จริงจะเกิดจากเชื้อไมโครสปอริเดียหรือเชื้อแบคทีเรียวิบริโอฯก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญของนำโรค EMS ที่เกษตรกรไม่สามารถควบคุมได้คือ คุณภาพลูกกุ้ง ตามผลสรุปที่พบว่าเชื้อสามารถติดต่อได้ตั้งแต่ในรังไข่ของแม่พันธุ์ ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้ทีมจุฬาฯได้สุ่มเก็บตัวอย่างจากโรงเพาะเลี้ยง (Hatchery) เพียงแห่งเดียว จึงขอเสนอให้มีการสุ่มตรวจโรงเพาะเลี้ยงทุกแห่งในไทย โดยจุฬาฯพร้อมดำเนินการให้ รวมถึงสุ่มตรวจลูกกุ้งให้เกษตรกรก่อนลงกุ้งด้วย
"ถ้าตรวจทุกโรงเพาะเลี้ยงแล้วพบว่ามีพ่อแม่พันธุ์ติดเชื้อก็ต้องทำความสะอาดโรงเลี้ยงใหม่หมด และต้องนำพ่อแม่พันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาใหม่ เพราะขณะนี้เรามีการคัดพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ในไทยทั้งหมดยกเว้นที่กรมประมงเพิ่งนำเข้าจากต่างประเทศมาเมื่อเร็ว ๆ นี้" น.สพ.จิรศักดิ์กล่าว
นายเดชา บรรลือเดช ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งสามร้อยยอด กล่าวว่า ปัญหาสำคัญเรื่องการวิจัยขณะนี้คือทีมวิจัยสถาบันหลักของไทยไม่นำข้อมูลมาสรุปร่วมกัน ทำให้เกษตรกรต่างต้องเลือกทิศทางว่าจะเชื่อถือและทดลองแก้ปัญหาตามการวิจัยของทีมใด
"แต่ละสถาบันมองกันคนละแบบ ทำให้หาข้อสรุปไม่ได้เสียทีว่าข้อสรุปการแก้ไขจริง ๆ ควรจะเป็นอย่างไร โรคเกิดจากอะไร สถาบันหลักของเราทั้ง ม.มหิดล จุฬาฯ ม.เกษตรศาสตร์ น่าจะมานั่งสรุปผลร่วมกัน ซึ่งกรมประมงอาจจะเป็นเวทีประสานให้ได้" นายเดชากล่าว
นายเดชากล่าวว่า จากงานวิจัยของจุฬาฯ เกษตรกรเองเริ่มคล้อยตามว่าเชื้อแบคทีเรียวิบริโอฯอาจไม่ใช่สาเหตุของโรค EMS เพราะเกษตรกรได้พยายามต่อสู้โดยยึดหลักให้กุ้งปลอดเชื้อวิบริโอฯ แต่ก็ยังมีกุ้งป่วยตาย ทำให้หันมามองแนวทางใหม่ว่าเชื้อไมโครสปอริเดียอาจเป็นสาเหตุแท้จริง และหวังว่าถ้าสามารถสรุปผลได้ นักวิจัยอาจสามารถผลิตยาฆ่าเชื้อโรคนี้ได้โดยตรง
สำหรับการต่อสู้โรค EMS ของเกษตรกรตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ยึดหลักเดียวกันคือการตอบโจทย์การนำของเสียที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคออกจากบ่อเลี้ยงให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุด และประหยัด ซึ่งมีหลายโมเดลที่ได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จ เช่น ตราดโมเดล Biofloc การถ่ายเปลี่ยนน้ำหลายบ่อพัก เลี้ยงปลาร่วมกับกุ้ง แต่ยังไม่มีโมเดลใดที่สมบูรณ์และนำไปปรับใช้ได้ทุกพื้นที่ รวมถึงหลายวิธีต้องลงทุนสูง ทำให้เกษตรกรรายย่อยปฏิบัติตามไม่ได้
แหล่งที่มาของข้อมูล : "จุฬาฯยัน เชื้อรา เหตุ EMS กุ้ง ระบาดตั้งแต่แม่พันธุ์ จี้ตรวจทุกโรงเพาะ.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430900622
เนื่องจากการเก็บตัวอย่างในกุ้งป่วยและตายด้วยอาการโรค EMS ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคกลางและตะวันออก ทุกระยะการเลี้ยงและขนาด พบเชื้อไมโครสปอริเดียในกุ้งบ่อป่วย 42.86% ขณะที่เชื้อแบคทีเรีย วิบริโอ พาราเฮโมไลติคัส ซึ่งทีมนักวิจัยทั้งจากสหรัฐ ญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยมหิดลได้สรุปไว้ก่อนหน้านี้นั้น ทีมวิจัยจุฬาฯพบในกุ้งบ่อป่วยเพียง 22.6%
และเชื้อไมโครสปอริเดียดังกล่าวพบในกุ้งป่วยทุกระยะตั้งแต่ในรังไข่แม่พันธุ์กุ้ง ลูกกุ้ง กุ้งเลี้ยงในบ่อดิน ดังนั้นสันนิษฐานได้ว่าเชื้อนี้ติดต่อได้ 3 ทาง คือ 1)เชื้อที่เป็นสปอร์ติดต่อทางผิวหนังกุ้ง 2)กุ้งมีชีวิตกินซากกุ้งป่วยตายในบ่อหรือพาหะนำโรค และ 3)เชื้อจากไข่ในรังไข่แม่พันธุ์ติดต่อสู่ลูกกุ้งในแนวดิ่ง
น.สพ.จิรศักดิ์กล่าวว่า การจัดการของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในไทยถือว่าทำได้ถูกต้องแล้ว โดยการหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อกำจัดตะกอนในบ่อ เป็นการลดความเสี่ยงของเชื้อ ไม่ว่าสาเหตุแท้จริงจะเกิดจากเชื้อไมโครสปอริเดียหรือเชื้อแบคทีเรียวิบริโอฯก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญของนำโรค EMS ที่เกษตรกรไม่สามารถควบคุมได้คือ คุณภาพลูกกุ้ง ตามผลสรุปที่พบว่าเชื้อสามารถติดต่อได้ตั้งแต่ในรังไข่ของแม่พันธุ์ ซึ่งในงานวิจัยครั้งนี้ทีมจุฬาฯได้สุ่มเก็บตัวอย่างจากโรงเพาะเลี้ยง (Hatchery) เพียงแห่งเดียว จึงขอเสนอให้มีการสุ่มตรวจโรงเพาะเลี้ยงทุกแห่งในไทย โดยจุฬาฯพร้อมดำเนินการให้ รวมถึงสุ่มตรวจลูกกุ้งให้เกษตรกรก่อนลงกุ้งด้วย
"ถ้าตรวจทุกโรงเพาะเลี้ยงแล้วพบว่ามีพ่อแม่พันธุ์ติดเชื้อก็ต้องทำความสะอาดโรงเลี้ยงใหม่หมด และต้องนำพ่อแม่พันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาใหม่ เพราะขณะนี้เรามีการคัดพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ในไทยทั้งหมดยกเว้นที่กรมประมงเพิ่งนำเข้าจากต่างประเทศมาเมื่อเร็ว ๆ นี้" น.สพ.จิรศักดิ์กล่าว
นายเดชา บรรลือเดช ประธานสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งสามร้อยยอด กล่าวว่า ปัญหาสำคัญเรื่องการวิจัยขณะนี้คือทีมวิจัยสถาบันหลักของไทยไม่นำข้อมูลมาสรุปร่วมกัน ทำให้เกษตรกรต่างต้องเลือกทิศทางว่าจะเชื่อถือและทดลองแก้ปัญหาตามการวิจัยของทีมใด
"แต่ละสถาบันมองกันคนละแบบ ทำให้หาข้อสรุปไม่ได้เสียทีว่าข้อสรุปการแก้ไขจริง ๆ ควรจะเป็นอย่างไร โรคเกิดจากอะไร สถาบันหลักของเราทั้ง ม.มหิดล จุฬาฯ ม.เกษตรศาสตร์ น่าจะมานั่งสรุปผลร่วมกัน ซึ่งกรมประมงอาจจะเป็นเวทีประสานให้ได้" นายเดชากล่าว
นายเดชากล่าวว่า จากงานวิจัยของจุฬาฯ เกษตรกรเองเริ่มคล้อยตามว่าเชื้อแบคทีเรียวิบริโอฯอาจไม่ใช่สาเหตุของโรค EMS เพราะเกษตรกรได้พยายามต่อสู้โดยยึดหลักให้กุ้งปลอดเชื้อวิบริโอฯ แต่ก็ยังมีกุ้งป่วยตาย ทำให้หันมามองแนวทางใหม่ว่าเชื้อไมโครสปอริเดียอาจเป็นสาเหตุแท้จริง และหวังว่าถ้าสามารถสรุปผลได้ นักวิจัยอาจสามารถผลิตยาฆ่าเชื้อโรคนี้ได้โดยตรง
สำหรับการต่อสู้โรค EMS ของเกษตรกรตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ยึดหลักเดียวกันคือการตอบโจทย์การนำของเสียที่เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคออกจากบ่อเลี้ยงให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุด และประหยัด ซึ่งมีหลายโมเดลที่ได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จ เช่น ตราดโมเดล Biofloc การถ่ายเปลี่ยนน้ำหลายบ่อพัก เลี้ยงปลาร่วมกับกุ้ง แต่ยังไม่มีโมเดลใดที่สมบูรณ์และนำไปปรับใช้ได้ทุกพื้นที่ รวมถึงหลายวิธีต้องลงทุนสูง ทำให้เกษตรกรรายย่อยปฏิบัติตามไม่ได้
แหล่งที่มาของข้อมูล : "จุฬาฯยัน เชื้อรา เหตุ EMS กุ้ง ระบาดตั้งแต่แม่พันธุ์ จี้ตรวจทุกโรงเพาะ.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430900622