นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากผลการประชุมคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร เมื่อวันก่อน ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องการส่งเสริมการผลิต จำนวนเงิน 2,067.70 ล้านบาท ให้กับสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนเมษายน 2558 เป็นต้นไป ประกอบด้วย 1. โครงการฟาร์มโคเนื้อสร้างอาชีพ วงเงิน 1,005.2 ล้านบาท 2. โครงการสร้างระบบการผลิตและการตลาดเกลือทะเลของสถาบันเกษตรกรด้วยวิธีการยกระดับราคาให้ยั่งยืน วงเงิน 52.50 ล้านบาท และ 3. โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด วงเงิน 1,010 ล้านบาท
โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนเมษายน 2558 เป็นต้นไป ประกอบด้วย 1. โครงการฟาร์มโคเนื้อสร้างอาชีพ วงเงิน 1,005.2 ล้านบาท 2. โครงการสร้างระบบการผลิตและการตลาดเกลือทะเลของสถาบันเกษตรกรด้วยวิธีการยกระดับราคาให้ยั่งยืน วงเงิน 52.50 ล้านบาท และ 3. โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด วงเงิน 1,010 ล้านบาท
สำหรับโครงการฟาร์มโคเนื้อสร้างอาชีพ มีกรอบระยะเวลาดำเนินงาน 7 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2558?2567 เป็นโครงการบูรณาการงานร่วมกันของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ โดยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงาน โดยใช้งบประมาณจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจำนวน 1,005.2 ล้านบาท ในการจัดหาปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร ได้แก่ แม่โคเนื้อพันธุ์ดี โรงเรือน และการจัดการอาหารสัตว์ ผ่านการกู้ยืมเงินของสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อที่เป็นสมาชิก ในวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำปลอดการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก และกำหนดระยะเวลาเริ่มคืนเงินในปีที่ 4
โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อให้แก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 4,000 ราย เพิ่มแม่โคเนื้อพันธุ์ดี 20,000 ตัว ขณะเดียวกัน เกษตรกรยังมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการนำมูลโคไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์และก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ในการผลิตภาคเกษตร ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาขาดแคลนโคเนื้อแม่พันธุ์ ที่ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรฯ ในการเพิ่มจำนวนโคเนื้อในประเทศไทยซึ่งลดลงอย่างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จาก 8.03 ล้านตัว ในปี 2549 เหลือเพียง 4.31 ล้านตัว ในปัจจุบัน
โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อให้แก่สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 4,000 ราย เพิ่มแม่โคเนื้อพันธุ์ดี 20,000 ตัว ขณะเดียวกัน เกษตรกรยังมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการนำมูลโคไปผลิตปุ๋ยอินทรีย์และก๊าซชีวภาพเพื่อใช้ในการผลิตภาคเกษตร ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาขาดแคลนโคเนื้อแม่พันธุ์ ที่ถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรฯ ในการเพิ่มจำนวนโคเนื้อในประเทศไทยซึ่งลดลงอย่างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จาก 8.03 ล้านตัว ในปี 2549 เหลือเพียง 4.31 ล้านตัว ในปัจจุบัน
เนื่องจากปริมาณความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ลดการนำเข้า และเป็นแหล่งวัตถุดิบผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพลังงานทดแทนให้แก่เกษตรกรด้วย
อีกโครงการคือ โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปี 2558-2563) วงเงิน 1,010 ล้านบาท เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรไปจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ปุ๋ย พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ฯลฯ ในรูปแบบการบริหารจัดการโดยกลุ่มมีจำนวน 2,000 กลุ่ม
ซึ่งการดำเนินการนี้จะส่งผลให้เกิดการรวมซื้อ-รวมขายของกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งในอนาคตจะทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือตนเองและสมาชิกได้อย่างยั่งยืนต่อไป.
แหล่งที่มาของข้อมูล : "ใช้สหกรณ์แก้วิกฤติโคเนื้อขาดแคลน.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dailynews.co.th/agriculture/318280
อีกโครงการคือ โครงการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการผลิตและการตลาด ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปี 2558-2563) วงเงิน 1,010 ล้านบาท เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรไปจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ปุ๋ย พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ฯลฯ ในรูปแบบการบริหารจัดการโดยกลุ่มมีจำนวน 2,000 กลุ่ม
ซึ่งการดำเนินการนี้จะส่งผลให้เกิดการรวมซื้อ-รวมขายของกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น ทำให้ลดต้นทุนการผลิต และมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งในอนาคตจะทำให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือตนเองและสมาชิกได้อย่างยั่งยืนต่อไป.
แหล่งที่มาของข้อมูล : "ใช้สหกรณ์แก้วิกฤติโคเนื้อขาดแคลน.". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.dailynews.co.th/agriculture/318280