เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

เตือนภัย! ด้วงหมัดผักในคะน้า

25 ตุลาคม 2566
692
ในสภาพอากาศที่มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรผู้ปลูก "คะน้า" ในทุกระยะการเติบโต เฝ้าระวังด้วงหมัดผักศัตรูตัวร้ายของคะน้า
เตือนภัย! ด้วงหมัดผักในคะน้า

ลักษณะของด้วงหมัดผักในคะน้า

ด้วงหมัดผักตัวเต็มวัยเป็นด้วงขนาดเล็กความยาวประมาณ ๒ - ๒.๕ มิลลิเมตร ปีกคู่หน้าสีดำ มีแถบเหลืองสองแถบพาดตามความยาวด้านล่าง ลำตัวสีดำขาคู่หลังขยายใหญ่และโตกว่าขาคู่อื่นๆ หนวดเป็นแบบเส้นด้าย ด้วงหมัดผักชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อถูกกระทบกระเทือนจะกระโดด และบินได้ไกล



ลักษณะของคะน้าเมื่อถูกทำลายโดยด้วงหมัดผัก

1. ตัวอ่อนด้วงหมัดผักกัดกิน หรือชอนไชเข้าไปกินอยู่บริเวณโคนต้น หรือรากของคะน้า ทำให้คะน้าเหี่ยวเฉา และไม่เจริญเติบโต

2. ถ้ารากถูกทำลายมาก ๆ อาจจะทำให้คะน้าตายได้ ตัวเต็มวัยของด้วงหมัดผักชอบกัดผิวด้านล่างของใบทำให้ใบเป็นรูพรุน และอาจกัดกินผิวลำต้น



วิธีป้องกันด้วงหมัดผักในคะน้า

1. ไถตากดินไว้เป็นเวลานาน เพื่อทำลายตัวอ่อน และดักแด้ที่อาศัยอยู่ในดิน

2. ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชที่ด้วงหมัดผักไม่ชอบจะเป็นการช่วยลดการระบาดได้

3. ใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตร

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์