เรื่องเด็ดเกร็ดเกษตร

เตือนภัย! โรคราน้ำค้างในแตงโม

03 ตุลาคม 2566
798
ในสภาพอากาศที่มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เฝ้าระวังโรค "โรคราน้ำค้าง" โรคพืชสุดร้ายแรงของ "ลำไย" ให้เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมเฝ้าระวังกัน

สาเหตุของโรคราน้ำค้างในแตงโม

สาเหตุของโรคราน้ำค้างในแตงโมเกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis. ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศชื้น และระบาดหนักในพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต


อาการของโรคราน้ำค้างในแตงโม

1. ใบมีแผลฉ่ำน้ำ แผลจะขยายตามกรอบของเส้นใบย่อย ทำให้เห็นเป็นรูปเหลี่ยมเล็ก ๆ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

2. ช่วงเช้าที่สภาพอากาศมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยของเชื้อรา ลักษณะเป็นขุยสีขาวถึงเทาที่แผลบริเวณด้านใต้ใบแตงโม แผลจะขยายติดต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ

3. หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น แตงโมที่เป็นโรคราน้ำค้างจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก


วิธีป้องกันโรคราน้ำค้าง

1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และไม่ปลูกพืชระยะชิดกันเกินไป เพราะจะทำให้มีความชื้นสูง

2. ใช้เมล็ดพันธุ์แตงโมที่มีคุณภาพดีและปราศจากโรค

3. ก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส นาน 20 - 30 นาที

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์